Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หมากเก็บ, เก็บ, หมาก , then กบ, เก็บ, หมาก, หมากเก็บ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หมากเก็บ, 530 found, display 401-450
  1. เล็บเหยี่ยว : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Zizyphus oenoplia Miller ในวงศ์ Rhamnaceae ต้นมีหนามโค้ง ผลเล็ก กินได้, หมากหนาม ก็เรียก.
  2. เล็ม : ก. เย็บริมชายผ้า เช่น เล็มผ้า; ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บ แต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า.
  3. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  4. แล่ง ๒ : น. รังกระสุน, ที่เก็บลูกกระสุนดินดำหรือลูกศร.
  5. แล้วก็แล้วไป : ว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์ สิ้นสุดหรือยุติลงแล้วก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก.
  6. และเล็ม : ก. กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กและเล็มขนม แกะและเล็มหญ้า เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น และเล็มยอดตำลึง และเล็มยอดกระถิน; เล็ม ก็ว่า.
  7. ไล่ผม : ก. ตัดหรือเก็บเล็มผมให้เข้ารูปทรง.
  8. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  9. ไว้ใจ : ก. มอบความเชื่อความมั่นใจให้, วางใจ, เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน ไว้ใจให้ดูแลบ้าน, ไว้วางใจ ก็ว่า.
  10. ศรี ๒ : [สี] น. พลู. (ม.); (ราชา) หมากพลู เรียกว่า พระศรี.
  11. ศุลก : [สุนละกะ] ว. เนื่องด้วยการเก็บอากรจากสินค้าขาเข้าและขาออก. (ส. ศุลฺก; ป. สุงฺก).
  12. ศุลกากร : [สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้า และสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
  13. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  14. สถานประกอบการ : (กฎ) น. สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบ กิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือ เก็บสินค้าเป็นประจำด้วย.
  15. สนม ๑ : [สะหฺนม] น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี เรียกว่า พระสนม. (ข. สฺนํ).
  16. สนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจาก หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณ มี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.
  17. สมบัติบ้า : น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
  18. สมพัตสร : [พัดสอน] น. อากรสวนใหญ่เก็บจากผลของไม้ยืนต้นเป็นรายปี. (ส. สํวตฺสร ว่า ปี).
  19. สมรัก : ก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่าน ก็ดี สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ. (สามดวง).
  20. สรรพสามิต : [สับพะ, สันพะ] น. อากรที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และ ผลิตขึ้นภายในประเทศ เรียกว่า อากรสรรพสามิต.
  21. สรรพากร : [สันพากอน] น. อากรที่เก็บจากสิ่งที่เป็นเองหรือมีบ่อเกิด เป็นรายได้.
  22. สลาเหิน : น. หมากที่ถือกันว่าเมื่อเสกแล้วเป็นตัวแมลงภู่ ทําให้ผู้กิน แล้วลุ่มหลงรัก.
  23. ส่วนลด : น. ส่วนที่หักจากจํานวนเงินที่เก็บมาได้ หรือจากจํานวนที่ซื้อ หรือที่ใช้ตามส่วนที่กําหนดไว้.
  24. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  25. สะพานชัก : น. สะพานที่สร้างให้ยกเก็บได้เมื่อไม่ต้องการใช้.
  26. สัตตาหกาลิก : น. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัช ทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).
  27. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  28. หน้าแก่ : ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
  29. หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
  30. หน้าอ่อน : ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้ว แต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน.
  31. หมัก : ก. แช่ไว้, เก็บทิ้งไว้; ปล่อยให้พักฟื้นเพื่อให้หายบอบชํ้า (ใช้แก่ปลากัด) เช่น เอาปลากัดไปหมักไว้, ทอด ก็ว่า.
  32. หมักหมม : ก. ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เขาชอบหมักหมมงานไว้ เสมอ. ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที.
  33. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  34. หมากสง : น. หมากที่แก่จัด.
  35. หมากฮอส : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากเดินบนกระดานสี่เหลี่ยม จัตุรัสแบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันเหมือนกระดานหมากรุก แต่ระบายสี ๒ สีสลับกันทุกตา เดินหมากตามตาทแยง.
  36. หมู ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลําตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
  37. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  38. หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
  39. หยับ, หยับ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
  40. หยาบ, หยาบ ๆ : ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
  41. หวงห้าม : ก. กันไว้โดยเฉพาะ เช่น ผลไม้ในสวนนี้เจ้าของไม่หวงห้าม จะเก็บไปกินก็ได้. ว. ที่กันไว้โดยเฉพาะ เช่น เขตหวงห้าม เข้าได้เฉพาะ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง.
  42. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  43. ห้องเครื่อง : (ราชา; ปาก) น. ครัว, เรียกเต็มว่าห้องเครื่องวิเสท, ห้องสำหรับ เก็บเครื่องราชูปโภค, เรียกเต็มว่า ห้องเครื่องราชูปโภค; ห้องเครื่องยนต์เรือ เป็นต้น.
  44. ห้องสมุด, หอสมุด : น. ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษา หนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิล์ม เป็นต้น เพื่อใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้.
  45. หอจดหมายเหตุ : น. สถานที่เก็บและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ.
  46. หอไตร : น. หอสําหรับเก็บพระไตรปิฎก.
  47. หอม ๓ : ก. เก็บ, รวบรวม, ในความว่า เก็บหอมรอมริบ.
  48. หอมแดง : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Eleutherine bulbosa (Miller) Urban ในวงศ์ Iridaceae ใบแบนคล้ายใบหมากแรกเกิด ดอกสีขาวนวล หัวสีแดงเข้ม รสขมเผ็ดซ่า ใช้ทํายาได้.
  49. หอมยับ : (โบ) ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้ หอมยับทรัพย์หนใดฯ. (ม. คำหลวง หิมพานต์).
  50. หัวเบี้ย : น. ผู้ที่เก็บและจ่ายเงินในวงถั่วโปเป็นต้น; (โบ) จํานวนเงินขนอน ตลาดที่เรียกเก็บเอาไว้ในทีแรก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-530

(0.0897 sec)