Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 2401-2450
  1. พลาหก : [พะลา] น. เมฆ, ฝน. (ป., ส. วลาหก).
  2. พลิพัท : [พะลิ] น. โคผู้. (ป. พลิวทฺท).
  3. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  4. พลี ๓ : [พะลี] ว. มีกําลัง. (ป.).
  5. พสก, พสก : [พะสก, พะสกกะ] น. ชาวเมือง, พลเมือง. (ป. วส + ค; ส. วศ + ค ว่า ผู้อยู่ในอํานาจ).
  6. พสนะ : [พะสะนะ, พดสะนะ] น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส. วสน).
  7. พสุ : [พะ] น. ชื่อเรียกเทวดาจําพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี. ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
  8. พสุธา : น. ''ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์'' คือ แผ่นดิน. (ป., ส. วสุธา).
  9. พสุธาดล : น. พื้นแผ่นดิน. (ป., ส. วสุธาตล).
  10. พสุนธรา : [พะสุนทะ] น. แผ่นดิน. (ป. วสุนฺธรา; ส. วสุํธรา).
  11. พหล : [พะหน] ว. มาก, ใหญ่, หนา, ทึบ. น. กองทัพใหญ่. (ป., ส.).
  12. พหุ : ว. มาก, เขียนเป็น พหู ก็มี. (ป., ส.).
  13. พหุพจน์, พหูพจน์ : น. คําที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง. (ป., ส. พหุวจน).
  14. พหุล : [พะหุน] ว. หนา, มาก. (ป., ส.).
  15. พหูสูต : น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียน มามาก. (ป. พหุสฺสุต).
  16. พักตา : น. ผู้พูด, ผู้กล่าว. (ส. วกฺตฺฤ; ป. วตฺตา).
  17. พัช : [พัด] น. วัช, คอก. (ป. วช).
  18. พัชนี : [พัดชะ] น. พัด. (ป. วีชนี).
  19. พัชระ : น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  20. พัญจก : [พันจก] น. ผู้ล่อลวง. (ป., ส. วญฺจก).
  21. พัญจน์ : [พัน] น. การล่อลวง. (ป. วญฺจน).
  22. พัฒกี : [พัดทะ] น. วัฒกี, ช่างไม้. (ป. วฑฺฒกี).
  23. พัฒน, พัฒนะ : [พัดทะนะ] น. ความเจริญ. (ป. วฑฺฒน; ส. วรฺธน).
  24. พัดดึงส์ : น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท. ว. สามสิบสอง. (ป. พตฺตึส).
  25. พัตติงสะ : ว. สามสิบสอง. (ป.).
  26. พัตร : น. พัสตร์, ผ้า. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
  27. พัทธ, พัทธ์ : [พัดทะ, พัด] ก. ผูก, ติด, เนื่อง. (ป.).
  28. พัทร : [พัดทฺระ] น. ต้นพุทรา. (ป., ส. พทร).
  29. พันธน, พันธนะ : [พันทะนะ] น. การผูก, การมัด, การจําขัง; เครื่องผูก, เครื่องมัด, เครื่องจํา. (ป., ส.).
  30. พันธนาคาร : น. เรือนจํา. (ป.).
  31. พันธ, พันธ์, พันธะ : [พันทะ] ก. ผูก, มัด, ตรึง. (ป., ส.). น. ข้อผูกมัด, ข้อผูกพัน.
  32. พันธุ, พันธุ์ : น. พวกพ้อง, เชื้อสาย, วงศ์วาน; เทือกเถา, เหล่ากอ; เชื้อ เช่น ข้าว เก็บไว้ทำพันธุ์ พันธุ์ข้าว. (ป., ส.).
  33. พัลลภ : [พันลบ] น. คนสนิท, คนโปรด. (ป., ส. วลฺลภ).
  34. พัสดุ : [พัดสะ] น. สิ่งของต่าง ๆ, เครื่องใช้ไม้สอย, ที่ดิน, บ้านเรือน. (ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
  35. พัสตร์ : น. ผ้า, เขียนเป็น พัตร ก็มี. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
  36. พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
  37. พาชี : น. ม้า. (ป.; ส. วาชี).
  38. พาณ, พาณ : [พาน, พานนะ] น. ลูกธนู, ลูกปืน. (ป.; ส. วาณ).
  39. พาณิช : น. พ่อค้า. (ส., ป. วาณิช).
  40. พาณิชย, พาณิชย์ : [พานิดชะยะ, พานิด] น. การค้าขาย; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการพาณิชย์และกิจการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการ พาณิชย์รวมตลอดทั้งการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุม และส่งเสริมเกี่ยวกับกิจการค้าและการประกันภัย. (ส. วาณิชฺย; ป. วาณิชฺช).
  41. พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
  42. พาต : น. ลม. (ป., ส. วาต).
  43. พาท : น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป., ส. วาท).
  44. พาธ, พาธา : น. ความเบียดเบียน, ความทุกข์. (ป., ส.).
  45. พานร : [พานอน] น. ลิง. (ป., ส. วานร).
  46. พาม : ว. ซ้าย, ข้างซ้าย, เช่น ดยรดาษหน้าหลังหลาม ทงงทักษิณพามพิพิธ. (ม. คำหลวง). (ป., ส. วาม).
  47. พายุ : น. ลมแรง. (ป., ส. วายุ ว่า ลม).
  48. พารณ, พารณะ : [พารน, พาระนะ] น. ช้าง. (ป., ส. วารณ).
  49. พาล ๑ : น. ขน. (ป., ส.).
  50. พาล ๒, พาลา : (กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาล พาลพาไปหาผิด. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | [2401-2450] | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1644 sec)