Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 3201-3250
  1. ยุว, ยุวา, ยุวาน : น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (ป.; ส. ยุวนฺ, ยุวานก).
  2. ยุวราช, ยุวราชา : น. พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือทรงรับแต่งตั้งอยู่ ในตําแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป. (ป., ส.).
  3. ยูถะ : น. ฝูง, หมู่. (ป., ส.).
  4. เยภุยนัย : น. วิธีที่คนส่วนมากใช้. (ป. เยภุยฺยนย).
  5. เยภุย, เยภุยยะ : [เยพุยยะ] ว. มาก, ชุกชุม. (ป.).
  6. เยภุยสิกา : น. ความเห็นข้างมาก. (ป. เยภุยฺยสิกา).
  7. เยาวน : [วะนะ] น. ความหนุ่ม, ความสาว, ความเป็นหนุ่มเป็นสาว. (ส. ยุวนฺ; ป. ยุว ว่า หนุ่ม, สาว).
  8. โยกตร์ : [โยก] น. เชือก, สายทาม. (ส. โยกฺตฺร; ป. โยตฺต).
  9. โยค, โยคะ : [โยคะ] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบําเพ็ญ สมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).
  10. โยคาพจร, โยคาวจร : [โยคาพะจอน, วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
  11. โยคิน : (กลอน) น. โยคี. (ส. โยคินฺ; ป. โยคี).
  12. โยคี : น. นักบวชผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ฤษีพวกหนึ่ง. (ป.; ส. โยคินฺ ว่า ผู้ปฏิบัติ ตามลัทธิโยคะ).
  13. โยชน์ : [โยด] น. ชื่อมาตราวัด ๔๐๐ เส้น เป็น ๑ โยชน์; การผูก. (ป., ส.).
  14. โยชนา : [โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).
  15. โยต : น. เชือก, สายทาม. (ป. โยตฺต; ส. โยกฺตฺร).
  16. โยธ, โยธา ๑ : [ทะ] น. พลรบ, ทหาร. (ป., ส.).
  17. โยน ๓, โยนก : น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; ชื่อเรียกชาว ไทยทางล้านนา, ยวน หรือ เยาวนะ ก็เรียก. (ป.).
  18. โยนิโส : ว. โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้; ตั้งแต่ต้น; โดยตลอด. (ป.).
  19. โยนิโสมนสิการ : [มะนะสิกาน] น. การพิจารณาโดยแยบคาย. ก. เข้าใจ ตั้งแต่ต้น, เข้าใจโดยตลอด. (ป.).
  20. โยนี : น. อวัยวะสืบพันธุ์ของหญิง. (ป., ส. โยนิ ว่า มดลูก; ที่เกิด, ต้นกําเนิด; ปัญญา).
  21. โยพนมัท : [โยบพะนะมัด] น. ความมัวเมาในความเป็นคนหนุ่มสาว, ความพลาดพลั้งเพราะความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพนมท).
  22. โยพนะ : [โยบพะนะ] น. ความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพน).
  23. รงกุ์ : น. ชื่อสัตว์ในพวกเนื้อชนิดหนึ่ง. (ป., ส. รงฺกุ ว่า กวางชนิดหนึ่ง).
  24. รงค–, รงค์ : [รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกําหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรํา, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).
  25. รจนา : [รดจะ–] ก. ตกแต่ง, ประพันธ์. (ป., ส.). ว. งาม.
  26. รจิต : [ระจิด] ก. ตกแต่ง, ประดับ, เรียบเรียง. ว. งดงาม. (ป., ส.).
  27. รชกะ : [ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
  28. รชตะ : [ระชะตะ] น. เงิน. (ป.).
  29. รชนิ, รชนี : [ระชะ–] น. เวลาคํ่า, กลางคืน. (ป., ส.).
  30. รชะ : [ระชะ] น. ธุลี, ละออง; ความกําหนัด. (ป., ส.).
  31. รณ, รณ– : [รน, รนนะ–] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).
  32. รตนะ : [ระตะ–] น. รัตน์. (ป.; ส. รตฺน).
  33. รตะ : [ระตะ] น. ความสุข, ความสนุก. ก. ยินดี, ชอบใจ, สนุก. (ป., ส. รต ว่า ผู้ยินดี).
  34. รติ : น. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกําหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).
  35. รถปุงคพ, รถปุงควะ : [ระถะ–] น. หัวหน้านักรบ. (ป., ส.).
  36. รถ, รถ– : [รด, ระถะ–] น. ยานที่มีล้อสําหรับเคลื่อนไป เช่น รถม้า รถยนต์ รถไฟ; (กฎ) ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกําลัง เครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอด ถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ. (ป.).
  37. รถานึก : น. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป., ส. รถานีก).
  38. รเถสภะ : น. กษัตริย์ผู้องอาจบนรถรบ, จอมพลรถรบ. (ป.).
  39. รท, รทนะ : [รด, ระทะนะ] น. ฟัน, งา, เช่น ทวิรท = สัตว์ ๒ งา คือ ช้าง. (ป., ส.).
  40. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  41. รพิ, รพี : น. พระอาทิตย์. (ป., ส. รวิ).
  42. รมณี : [รมมะนี] น. นาง, ผู้หญิง. (ป., ส.).
  43. รมณีย–, รมณีย์ : [รมมะนียะ–, รมมะนี] ว. น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม. (ป., ส.).
  44. รยะ : ว. เร็ว, พลัน, ไว, ด่วน. (ป., ส.).
  45. รวะ : น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
  46. รวิ ๑, รวี : น. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รําไพ ก็ได้. (ป., ส.).
  47. รวิวาร : น. วันอาทิตย์. (ป., ส.).
  48. รส : น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).
  49. รสก : [ระสก] น. คนครัว, พ่อครัว. (ป.).
  50. รสนา : [ระสะ–] น. ลิ้น. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | [3201-3250] | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1536 sec)