Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 3551-3600
  1. วรัญญู : [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.).
  2. วรากะ : (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.).
  3. วราห์, วราหะ : น. หมู. (ป., ส.).
  4. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม).
  5. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  6. วรูถะ : [วะระ, วอระ] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).
  7. วฤก : [วฺรึก] (แบบ) น. หมาป่า. (ส. วฺฤก; ป. วก).
  8. วฤษภ : [วฺรึสบ] (แบบ) น. พฤษภ. (ส. วฺฤษภ; ป. วสภ).
  9. วฤษละ : [วฺรึสะละ] (แบบ) น. คนชั่ว. (ส. วฺฤษล; ป. วสล).
  10. วลัช : (แบบ) น. ปลาชนิดหนึ่ง. (ป.).
  11. วลัญช์ : [วะลัน] (แบบ) น. รอย, เครื่องหมาย; ทาง; การใช้สอย. (ป.).
  12. วลัญชน์ : น. การใช้สอย. (ป.).
  13. วลัย : [วะไล] น. กําไลมือ, ทองกร; ของที่เป็นวงกลม, วงกลม. (ป., ส.).
  14. วลาหก : [วะลาหก] น. เมฆ. (ป.).
  15. วลี : [วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคําที่เรียง ติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยัง ไม่เป็นประโยคสมบูรณ์เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
  16. วศค : [วะสก] (แบบ) น. ผู้อยู่ในอํานาจ, ผู้อยู่ในบังคับ, ผู้เชื่อฟัง. (ส.; ป. วสค).
  17. วศะ : น. อํานาจ, การบังคับบัญชา. (ส.; ป. วส).
  18. วสนะ ๑ : [วะสะ] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน; การอยู่. (ป.).
  19. วสนะ ๒ : [วะสะ] (แบบ) น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  20. วสภะ : [วะสะ] (แบบ) น. วัวตัวผู้. (ป.; ส. วฺฤษภ).
  21. วสละ : [วะสะ] น. คนชั่ว, คนถ่อย, คนตํ่าช้า, คนชั้นตํ่า. (ป.; ส. วฺฤษล).
  22. วสลี : [วะสะ] น. หญิงชั่ว, หญิงตํ่าช้า. (ป.; ส. วฺฤษลิ).
  23. วสวัดดี, วสวัตตี : [วะสะ] น. ผู้ยังสัตว์ให้อยู่ในอํานาจ; ชื่อของเทวบุตรมาร. (ป.).
  24. วสะ : น. อํานาจ, กําลัง; ความตั้งใจ, ความปรารถนา. (ป.; ส. วศ).
  25. วสันตดิลก : [วะสันตะดิหฺลก] น. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๔ คํา เช่น ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราลีพิไลพิศบวร นภศูลสล้างลอย. (อิลราช). (ป., ส. วสนฺตติลก).
  26. วสันต, วสันต์ : [วะสันตะ, วะสัน] น. ฤดูใบไม้ผลิในคำว่า ฤดูวสันต์, วสันตฤดู ก็ว่า.(ป., ส.).
  27. วสา : น. มันเหลว; ไข, นํ้ามัน. (ป., ส.).
  28. วสุ : น. ทรัพย์, สมบัติ; ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวาร ของพระอินทร์. (ป., ส.).
  29. วสุธา : น. แผ่นดิน, พื้นดิน. (ป., ส.).
  30. วสุนธรา : [สุนทะ] น. แผ่นดิน, พื้นดิน. (ป., ส.).
  31. วสุมดี : [สุมะ] น. โลก, แผ่นดิน. (ป., ส. วสุมตี).
  32. วหะ : ก. นําไป, พาไป. (ป., ส.).
  33. วักกะ ๑ : น. ไต. (โบราณแปลว่า ม้าม). (ป.; ส. วฺฤกฺก).
  34. วักกะ ๒ : ว. คด, ไม่ตรง, โกง, งอ. (ป.; ส. วกฺร).
  35. วัค : น. วรรค. (ป. วคฺค; ส. วรฺค).
  36. วัคคิยะ, วัคคีย์ : [วักคิยะ] ว. อยู่ในพวก, อยู่ในหมู่, เช่น เบญจวัคคีย์ ว่า อยู่ในพวก ๕. (ป.).
  37. วัคคุ : ว. ไพเราะ, เสนาะ; งาม. (ป.; ส. วลฺคุ).
  38. วัคคุวัท : ว. ผู้กล่าวไพเราะ. (ป. วคฺคุ + วท ว่า ผู้กล่าว).
  39. วังก์ : น. วงก์. (ป.).
  40. วังศะ, วังสะ : น. วงศ์. (ส. วํศ; ป. วํส).
  41. วัจกุฎี : น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).
  42. วัจฉละ : [วัดฉะละ] (แบบ) ว. มีใจกรุณา, เอ็นดู, อ่อนโยน, มีความรักใคร่. (ป.; ส. วตฺสล).
  43. วัจฉ์, วัจฉก : [วัด, ฉก] (แบบ) น. ลูกวัว. (ป.; ส. วตฺส, วตฺสก).
  44. วัจน์ : (แบบ) น. วจนะ, ถ้อยคํา. (ป., ส.).
  45. วัจมรรค : น. ทวารหนัก, เวจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
  46. วัจ, วัจจะ : [วัดจะ] น. อุจจาระ. (ป.; ส. วรฺจสฺ).
  47. วัช ๑ : (แบบ) น. วชะ, คอกสัตว์. (ป. วช).
  48. วัช ๒, วัช, วัชชะ ๑ : [วัดชะ] น. สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด. (ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).
  49. วัช ๓, วัชชะ ๒ : น. การพูด, ถ้อยคํา. ว. ควรพูดติ, ควรกล่าวติ. (ป. วชฺช; ส. วทฺย).
  50. วัชฌ์ : ก. ฆ่า, ทําให้ตาย. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | [3551-3600] | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.1825 sec)