Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 3801-3850
  1. วิโมกข์ : น. ความหลุดพ้น, การขาดจากความพัวพันแห่งโลก; พระนิพพาน. (ป.; ส. วิโมกฺษ).
  2. วิโยค : น. การจากไป, การพลัดพราก, ความร้าง, ความห่างเหิน. (ป., ส.).
  3. วิรตะ, วิรัต : ว. ปราศจากความยินดี, ไม่ยินดี. (ป. วิรตฺต; ส. วิรกฺต).
  4. วิรมณะ : [วิระมะ] น. การงดเว้น, การตัดความยินดี. (ป.).
  5. วิรวะ, วิราวะ : เสียงเรียกร้อง. (ป., ส.).
  6. วิร, วิระ : [วิระ] ว. วีระ, กล้าหาญ. น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; ผู้พากเพียร; ผู้เรืองนามในทางกล้าหาญ. (ป., ส. วีร).
  7. วิรัช ๑ : ว. ปราศจากธุลี, ไม่มีมลทิน, บริสุทธิ์, สะอาด. (ป., ส.).
  8. วิรัช ๒ : (แบบ) ว. ต่างประเทศ. (ป. วิรชฺช).
  9. วิรัติ : [รัด] ก. งดเว้น, เลิก. น. การงดเว้น, การเลิก, เช่น มังสวิรัติ สุราวิรัติ. (ป., ส. วิรติ).
  10. วิราคะ : น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
  11. วิริยะ : น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
  12. วิรุธ : ว. พิรุธ. (ป., ส.).
  13. วิรุฬห์ : ว. เจริญ, งอกงาม. (ป.; ส. วิรูฒ).
  14. วิรุฬหก : [รุนหก] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศทักษิณ. (ป.).
  15. วิรูป : ว. น่าเกลียด, พิการ, ไม่น่าดู. (ป., ส.).
  16. วิรูปักษ์ : น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศประจิม. (ป. วิรูปกฺข).
  17. วิโรค : ว. ไม่เจ็บไข้, ปราศจากโรค. (ป.).
  18. วิโรจ, วิโรจน์ : ว. สว่าง, แจ่มใส, รุ่งเรือง. (ป., ส.).
  19. วิโรฒ : ว. งอกงาม. (ส. วิรูฒ; ป. วิรุฬฺห).
  20. วิลย, วิลัย : [วิละยะ, วิไล] น. ความย่อยยับ, การสลาย, การทําให้สลาย. (ป., ส.).
  21. วิลาป : ก. พิลาป. (ป., ส.).
  22. วิลาส : ว. พิลาส, งามมีเสน่ห์, งามอย่างสดใส. (ป., ส.).
  23. วิเลป, วิเลป, วิเลปนะ : [วิเลบ, วิเลปะ, วิเลปะนะ] น. การทา, การลูบไล้; เครื่องลูบไล้. (ป., ส.).
  24. วิโลก, วิโลกนะ : [วิโลกะนะ] ก. แลดู, ตรวจตรา. (ป., ส.).
  25. วิโลจนะ : [วิโลจะนะ] น. ดวงตา. (ป., ส.).
  26. วิโลม : ว. ย้อนขน, ทวนกลับ, ผิดธรรมดา. (ป., ส.).
  27. วิวรณ์ : น. การเปิด, การเผยแผ่, การไขความ. (ป., ส.).
  28. วิวรรธน์ : น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
  29. วิวระ : [วะ] น. ช่อง, ปล่อง, เหว, รู, โพรง; ความผิด. (ป., ส.).
  30. วิวัฏ : น. พระนิพพาน. (ป. วิวฏฺฏ).
  31. วิวัฒน, วิวัฒน์ : [วัดทะนะ, วัด] น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลาย ไปในทางเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน)
  32. วิวัน : น. ที่เปล่าเปลี่ยว. (ป.).
  33. วิวาท : ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).
  34. วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ : [วิวาหะ] น. ''การพาออกไป'' หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
  35. วิวิจ : ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิจฺจ).
  36. วิวิต : ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิตฺต, ส. วิวิกฺต).
  37. วิวิธ : ว. ต่าง ๆ กัน. (ป., ส.).
  38. วิเวก : ว. เงียบสงัดทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ, เงียบสงัดทำให้รู้สึกวังเวงใจ, เช่น อยู่ในวิเวก รู้สึกวิเวกวังเวงใจ. (ป.).
  39. วิศรุต : [วิดสะรุด] ว. มีชื่อเสียง, ปรากฏ. (ส. วิศฺรุต; ป. วิสฺสุต).
  40. วิศว : [วิดสะวะ] ว. ทั้งหมด, ทั้งปวง. (ส. วิศฺว; ป. วิสฺส).
  41. วิศวกรรม : [วิดสะวะกํา] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชํานาญในการช่าง ทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนําความรู้ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
  42. วิศัลย์ : ว. ปราศจากความเสียดแทง, ไม่ทุกข์ร้อน. (ส.; ป. วิสลฺล).
  43. วิศาขบูชา : น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวัน ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. (ส. วิศาข + ปูชา; ป. วิสาข + ปูชา).
  44. วิศาข, วิศาขะ, วิศาขา ๑ : น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปี อธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
  45. วิศาขา ๒, วิสาขะ ๑ : น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
  46. วิศาล : ว. ไพศาล, กว้างขวาง. (ส.; ป. วิสาล).
  47. วิศิษฏ์ : ว. เลิศ, ยอดเยี่ยม, เด่น, ดียิ่ง, ประเสริฐ. (ส. วิศิษฺฏ; ป. วิสิฏฺ?).
  48. วิศุทธ์, วิศุทธิ์ : ว. วิสุทธ์, วิสุทธิ์. (ส.; ป. วิสุทฺธ, วิสุทฺธิ).
  49. วิเศษ : ว. ยอดเยี่ยม, เลิศลอย, เช่น อาหารร้านนี้วิเศษมาก; ยอดเยี่ยมในทาง วิทยาคมเป็นต้น เช่น ผู้วิเศษ, กายสิทธิ์, มีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ในตัว, เช่น พรมวิเศษ ของวิเศษ ดาบวิเศษ. (ส.; ป. วิเสส).
  50. วิษักต์ : ว. ติดอยู่, พันอยู่, พัวพัน. (ส.; ป. วิสตฺต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | [3801-3850] | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.2025 sec)