Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 4101-4150
  1. สนาน : [สะหฺนาน] น. การอาบนํ้า. (ส. สฺนาน; ป. นหาน).
  2. สนาบก : [สะนา] น. คนที่มีหน้าที่อาบนํ้าให้ผู้อื่น. (ส. สฺนาปก; ป. นหาปก).
  3. สนาบัน : [สะนา] น. การอาบนํ้า, การอาบนํ้าให้ผู้อื่น. (ส.; ป. นหาปน).
  4. สนิกะ : [สะนิกะ] (แบบ) ว. ค่อย ๆ, เบา ๆ. (ป.).
  5. สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
  6. สบจ : [สะบด] (แบบ) น. คนชาติตํ่าช้า. (ป. สปจ; ส. ศฺวปจ).
  7. สบถ : [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ ตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือ ไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
  8. สบัน : [สะ] (แบบ) ก. สาบาน. (ป. สปน).
  9. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  10. สภา : น. องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรี แห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา. (ป., ส.).
  11. สภาค : [สะพาก] ว. ร่วมกัน, อยู่หมวดเดียวกัน; เหมือนกัน, เท่ากัน. (ป.).
  12. สภาพ : น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพความ เป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ, ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).
  13. สภาว, สภาวะ : [สะพาวะ] น. สภาพ เช่น สภาวะดินฟ้าอากาศ. (ป.).
  14. สมจารี : [สะมะ] น. ผู้ประพฤติสมํ่าเสมอ. (ป.).
  15. สมณบริขาร : น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).
  16. สมณโวหาร : น. ถ้อยคําที่ควรแก่สมณะ เช่น อาตมา ฉันจังหัน กัปปิยภัณฑ์. (ป.).
  17. สมณ, สมณะ : [สะมะนะ] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุใน พระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).
  18. สมณสารูป : ว. ที่สมควรแก่พระ (ใช้แก่กิริยามารยาทเป็นต้น). น. กิริยา มารยาทเป็นต้นที่สมควรแก่สมณะ เช่น ภิกษุพูดจาควรมีสมณสารูป. (ป. สมณสารุปฺป).
  19. สมถยานิก : น. ผู้มีสมถะเป็นยาน, ผู้บำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนา. (ป.).
  20. สมถวิปัสสนา : น. สมถะและวิปัสสนา เป็นแบบปฏิบัติในการ เจริญกรรมฐานทางพุทธศาสนา. (ป.). (ดู วิปัสสนา ประกอบ).
  21. สมถ, สมถะ : [สะมะถะ] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย. (ป.; ส. ศมถ).
  22. สมบัติ ๑ : น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
  23. สมพล ๒, สัมพล : น. อาหาร, เสบียง. (ป.; ส. ศมฺพล).
  24. สมพาส : [พาด] น. การอยู่ร่วม, การร่วมประเวณี. (ป., ส. สํวาส).
  25. สมเพช : [เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถา แล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  26. สมโพธิ : [โพด] น. การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
  27. สมภพ : [พบ] น. การเกิด, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชสมภพ และ พระบรมราชสมภพ. (ป., ส. สมฺภว).
  28. สมภาร : [พาน] น. พระที่เป็นเจ้าอาวาส. (ป., ส. สมฺภาร).
  29. สมโภค : [โพก] น. การเสวยสุขกายใจอันเป็นไปในทางโลก. (ป., ส.).
  30. สมโภช : [โพด] น. การกินร่วม, การเลี้ยงอาหาร; งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธี มงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธีเท่านั้น). (ป.; ส. สมฺโภชน).
  31. สมโมท : [โมด] ก. ยินดี, ร่าเริง, พอใจ, สัมโมท ก็ว่า. (ป., ส. สมฺโมท).
  32. สมร ๑, สมร : [สะหฺมอน, สะหฺมอนระ, สะหฺมอระ] น. การรบ, การสงคราม. (ป., ส.).
  33. สมฤดี, สมฤๅดี : [สมรึดี, สมรือดี] น. ความรู้สึกตัว, ใช้เป็น สมปฤดี สมปฤๅดี หรือ สมประดี ก็มี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
  34. สมวัย : [สะมะ] ว. มีวัยเสมอกัน, รุ่นราวคราวเดียวกัน. (ป.; อ. contemporary).
  35. สมวายะ : [สะมะวายะ] น. หมู่, พวก, ประชุม. (ป., ส.).
  36. สมะ : น. ความสงบ, ความราบคาบ. (ป.).
  37. สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
  38. สมังคี : [สะมัง] ว. ประกอบด้วย, พร้อมเพรียงด้วย. (ป.).
  39. สมัช, สมัชชา : [สะมัด] น. การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไปร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ; ที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ. (ป.).
  40. สมัญญา : [สะมันยา] น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญา ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ศาสดาของ ศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. (ป.).
  41. สมัต : [สะมัด] ก. จบแล้ว, จบข้อความ, สําเร็จแล้ว; เต็ม, บริบูรณ์. (ป. สมตฺต).
  42. สมันต์ : [สะมัน] ว. โดยรอบ, ใกล้เคียง. (ป., ส.).
  43. สมัย : [สะไหฺม] น. เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).
  44. สมา ๒ : [สะมา] น. ปี. (ป., ส.).
  45. สมาคม : [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
  46. สมาจาร : [สะมาจาน] น. ความประพฤติที่ดี, ธรรมเนียม, ประเพณี. (ป., ส.).
  47. สมาชิก ๑ : [สะมา] น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรม ใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิก วารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุน ที่ร้านเลย. (ป., ส.).
  48. สมาทาน : [สะมา] ก. รับเอาถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล. (ป., ส.).
  49. สมาธิ : [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้ จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).
  50. สมาน ๑ : [สะมานะ, สะหฺมานนะ] ว. เสมอกัน, เท่ากัน. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | [4101-4150] | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.2457 sec)