Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, ประเทศไทย, โทรศัพท์, องค์การ, แห่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, 588 found, display 201-250
  1. ตรัยตรึงศ์ : [ไตฺรตฺรึง] น. ดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นที่พระอินทร์ครอง. (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ; ป. เตตฺตึส ว่า สามสิบสาม).
  2. ตราสารจัดตั้ง : (กฎ) น. หนังสือสำคัญก่อตั้งนิติบุคคลที่กำหนดขอบเขตแห่ง อำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น.
  3. ตรีเทวตรีคันธา : [-ทะเวตฺรี-] น. กลิ่นสามสองสาม คือ แก่น ดอก ราก แห่งมะซาง และบุนนาค. (ศัพท์คัมภีร์แพทย์).
  4. ตรีผลสมุตถาน : [-สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิดแห่งผล ๓ อย่าง คือ ผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา.
  5. ตรีภพนาถ : น. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น กษัตริย์ ก็มี.
  6. ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
  7. ตะโขง : น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii ในวงศ์ Crocodylidae มีขนาด ใหญ่มากขนาดยาวได้ถึง ๔.๕ เมตร ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม ปากเรียวยาวคล้ายปากปลา เข็มหางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่า เลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ ปากกระทุงเหว ก็เรียก.
  8. ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
  9. ถ้อถ้อย : (กลอน) น. คําโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, บางแห่งใช้ ท่อถ้อย หรือ ท้อถ้อย ก็มี.
  10. ถ้อยคำสำนวน : (กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่ง รายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
  11. เถรภูมิ : [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุ เป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
  12. ทบวงการ : น. องค์การทางราชการ.
  13. ทบวงการเมือง : (กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอํานาจหน้าที่ในทาง ปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรมเทศบาล.
  14. ทรัพยสิทธิ : [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้น ได้แต่ด้วยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิ ครอบครอง กรรมสิทธิ์.
  15. ทราม : [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบ เป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
  16. ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
  17. ท้องขาว ๒ : น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสี นํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือ ดําพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ย กับความยาวของส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
  18. ท้องถิ่น : น. ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น; (กฎ) พื้นที่ภายในเขตการปกครองของราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล.
  19. ท้องที่ : น. พื้นที่หรือถิ่นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ท้องที่จังหวัด ท้องที่อําเภอ ท้องที่ที่เกิดเหตุ ท้องที่ที่มีภูมิลําเนา; (กฎ) พื้นที่ ภายในเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน; พื้นที่ที่อยู่ในเขตอํานาจของ พนักงานสอบสวนหรือศาล.
  20. ท้องลาน : ว. มีรูปแบน ๆ เหมือนท้องแห่งลาน อย่างรูปคันกระสุน ที่เหลาแบน ๆ.
  21. ทั่ว : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว ทั่วโลก ทั่วหน้า.
  22. ทั่วทุกสารทิศ, ทั่วทุกหัวระแหง : ว. ทั่วทุกหนทุกแห่ง.
  23. ทิ้งฟ้อง : (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุ แห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกําหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอ คําฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาล เห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดย ชอบแล้ว.
  24. ทิว ๑ : น. แถวหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น ทิวเขา ทิวไม้.
  25. ทีฆนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายแรกแห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดยาว รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ในหมวดนี้.
  26. ที่ดินของรัฐ : (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือ ทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
  27. ที่ราชพัสดุ : (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดิน รกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหา ริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของ พลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติ บุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.
  28. ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
  29. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  30. ทุกพาย : (โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
  31. ทุกหย่อมหญ้า : ว. ทุกหนทุกแห่ง.
  32. ทุกหัวระแหง : ว. ทุกแห่งหน.
  33. เทพบดี : [เทบบอดี] น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอินทร์. (ส.).
  34. เทพาธิบดี : น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอิศวร. (ป., ส.).
  35. เทพารักษ์ : น. เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. (ส.).
  36. เทพินทร์ : น. จอมแห่งเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
  37. เทเพนทร์ : น. จอมแห่งเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
  38. เทวทูต : น. ชื่อคติแห่งธรรมดา ๓ ประการ คือ ชรา พยาธิ มรณะ.
  39. เทศบาล : (กฎ) น. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นแบบหนึ่ง.
  40. แทนเจนต์ : (คณิต) น. เรียกอัตราส่วนแห่งไซน์ของมุมหารด้วยโคไซน์ของ มุมนั้นว่า แทนเจนต์ของมุม. (อ. tangent).
  41. โทษตรัย : [โทดสะ-] น. ประชุม ๓ แห่งโทษ คือ ดี ลม เสมหะ.
  42. โทษ, โทษ- : [โทด, โทดสะ-] น. ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความ เกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. ก. อ้างเอาความผิด ให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).
  43. ไทยใหญ่ : น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พม่าติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ฉาน ก็เรียก, ชนชาติ ไทยสาขาหนึ่งอยู่ในรัฐฉาน เรียกกันว่า เงี้ยว, ไทยหลวง ก็ว่า.
  44. ธงชัย ๑ : น. ธงซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ.
  45. ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
  46. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  47. ธนสมบัติ : [ทะนะสมบัด] น. การถึงพร้อมแห่งทรัพย์, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
  48. ธนาณัติ : น. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทําการ ไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทําการไปรษณีย์ แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทําการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).
  49. ธเนศ, ธเนศวร : [ทะเนด, ทะเนสวน] (แบบ) น. เจ้าแห่งทรัพย์, คนมั่งมี; ท้าวกุเวร. (ส.).
  50. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-588

(0.0196 sec)