Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, ประเทศไทย, โทรศัพท์, องค์การ, แห่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, 588 found, display 251-300
  1. ธรรมฐิติ : น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ).
  2. ธรรมดา : น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่อง ธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
  3. ธรรมนิยา : ม น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. ธมฺมนิยาม).
  4. ธรรมบท : น. ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย.
  5. ธรรมปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  6. ธรรมราชา : น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
  7. ธรรมศาสตร์ : (โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์ กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกําเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก.
  8. ธรรมสถิติ : น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่ แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺม??ติ).
  9. ธรรมสาร : น. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
  10. ธรรมาทิตย์ : [ทํามา] น. อาทิตย์แห่งธรรม คือพระพุทธเจ้า. (ส.).
  11. ธรรมานุสาร : [ทํามา] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
  12. ธรรมายตนะ : [ทํามายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
  13. ธุวภาค : น. เส้นแวงอันไม่เปลี่ยนที่แห่งดาวซึ่งประจําที่อยู่.
  14. ธุวยัษฎี : น. เพลา (หรือเส้น) แห่งขั้วโลกทั้ง ๒. (ส. ธฺรุวยษฺฏี).
  15. นภวิถี : [ [นะพะ] น. ทางฟ้า คือ วิถีโคจรแห่งตะวัน. (ส. นโภวิถี).
  16. นฤตยศาสตร์ : น. วิทยาหรือศิลปะแห่งการระบํา. (ส.).
  17. นวกภูมิ : [นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึง ภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
  18. นวทวาร : น. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
  19. น้อย ๒ : (ถิ่น–พายัพ) น. คําเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้ บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).
  20. นักษัตรโยค : น. การประจวบแห่ง (พระจันทร์กับ) ดาว. (ส.).
  21. นัย : [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย). นัยว่า [ไน] ว. มีเค้าว่า.
  22. นางเกล็ด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
  23. นางนวล : น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหาง กลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวล แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลาย หางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับเหยื่อหรือ โฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลาย ชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบ ท้ายทอยดํา (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
  24. นาฏศิลป์ : [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา. (ส.).
  25. นาศ : (แบบ) น. ความเสื่อม, การทําลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).
  26. นิติธรรม : น. หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย.
  27. นิพพาน : [นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและ กองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).
  28. นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
  29. นิสิต : น. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).
  30. นุ ๑ : (กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  31. เนบิวลา : น. บริเวณที่มีลักษณะเป็นฝ้าเรืองแสง ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส กลุ่มดาวฤกษ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. (อ. nebula).
  32. บงสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติ ใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น).
  33. บรัด : [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  34. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  35. บังสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
  36. บาต : ก. ตก, ตกไป, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น อสนีบาต = การตก แห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า, อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสง สว่างที่ตกลงมาจากอากาศ. (ป. ปาต).
  37. บาท ๓ : น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่ง มี ๔ บาท.
  38. บ้านพัก : น. บ้านที่ทางราชการหรือองค์การต่าง ๆ สร้างขึ้นให้เป็น ที่อยู่ชั่วคราวของเจ้าหน้าที่.
  39. บิดา : น. พ่อ (ใช้ในที่สุภาพ), โดยปริยายหมายความว่า ผู้ให้กําเนิด เช่น บิดาแห่งประวัติศาสตร์, บิดร ก็ว่า. (ป. ปิตา; ส. ปิตฺฤ).
  40. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  41. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  42. บุญญานุภาพ : น. อํานาจแห่งบุญ. (ป. ปุญฺ?านุภาว).
  43. บุบบิบ : ว. อาการที่ของบางอย่างเช่นไข่จะละเม็ดหรือของที่ทําด้วย อะลูมิเนียม บุบเข้าไปหลายแห่ง. บุบสลาย ว. ชํารุดแตกหัก.
  44. บุพพัณหสมัย : [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
  45. บูรณภาพ : น. ความครบถ้วนบริบูรณ์ เช่น บูรณภาพแห่งดินแดน บูรณภาพแห่งอาณาเขต.
  46. เบญจคัพย์ : น. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตาม ราชประเพณีของไทยใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้า อภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์ ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรดพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระ ชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า เบญจครรภ.
  47. เบญจพรรณ : ว. ๕ สี, ๕ ชนิด; หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ใน ที่แห่งเดียวกันว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณ คละกันว่า ป่าเบญจพรรณ.
  48. เบญจม- : [เบนจะมะ-] ว. ครบ ๕, ที่ ๕. (ป. ปญฺจม). เบญจมสุรทิน น. วันที่ ๕ แห่งเดือนสุริยคติ.
  49. เบาะแส : น. ลู่ทาง, ร่องรอย, ลาดเลา, เค้าเงื่อน, ตําแหน่งแห่งที่ซึ่ง ทราบมาอย่างเลา ๆ พอเป็นรูปเค้า.
  50. เบียกบ้าย : ก. เฉลี่ยมาแห่งละเล็กละน้อย, เบียดแว้ง ก็ใช้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-588

(0.0310 sec)