Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, ประเทศไทย, โทรศัพท์, องค์การ, แห่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, 588 found, display 551-588
  1. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  2. อภินิหาร : น. อํานาจแห่งบารมี, อํานาจบุญที่สร้างสมไว้, อํานาจเหนือปรกติ ธรรมดา. (ป. อภินีหาร; ส. อภิ + นิสฺ + หาร).
  3. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  4. อร ๓ : ก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  5. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  6. อรรถรส : [อัดถะรด] น. รสแห่งถ้อยคํา, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดความ ซาบซึ้ง, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ.
  7. อริยมรรค : น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทาง ดําเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).
  8. อริยสัจ : น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อ ธรรมสําคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).
  9. อรุโณทัย : น. เวลาตั้งขึ้นแห่งอรุณ, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลา เช้าตรู่, ใช้ว่า อโณทัย ก็มี. (ป.).
  10. ออกพรรษา : น. เรียกวันที่สิ้นสุดการจําพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
  11. อัคนิ, อัคนี : [อักนิ, อักคะนิ, อักนี, อักคะนี] น. ไฟ; ชื่อเทพแห่งไฟ. (ส. อคฺนิ; ป. อคฺคิ).
  12. อัครราชทูต : (โบ) น. ผู้แทนรัฐบาลไปราชการชั่วคราวหรือประจํา อยู่ในสํานักแห่งรัฐบาลอื่น.
  13. อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
  14. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  15. อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
  16. อัสสุธารา : น. ท่อนํ้าตา; การไหลแห่งนํ้าตา; ใช้หมายความว่า นํ้าตา ก็ได้. (ป.).
  17. อาทิตยมณฑล : น. ดวงอาทิตย์, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงอาทิตย์.
  18. อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
  19. อานิสงส์ : น. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).
  20. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  21. อาลัย ๒ : น. ที่อยู่, ที่พัก, เช่น ชลาลัย = ที่อยู่แห่งนํ้า หมายถึง ทะเล แม่น้ำ เป็นต้น หิมาลัย = ที่อยู่แห่งหิมะ เป็นชื่อของเทือกเขาสูงอยู่ทาง ทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี.
  22. อาษาฒ : [สาด] น. เดือนที่ ๘ แห่งเดือนจันทรคติ. (ส.; ป. อาสาฬฺห).
  23. อาสาฬห, อาสาฬห์ : [สานหะ, สานละหะ, สาน] น. เดือนที่ ๘ แห่งเดือน จันทรคติ. (ป.; ส. อาษาฒ).
  24. อินทรี ๑ : [ซี] น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเหยี่ยว ขามีขนปกคลุม กรงเล็บแข็งแรง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น อินทรีหัวนวล (Haliaeetus leucoryphus) อินทรีดํา (Ictinaetus malayensis) อินทรีปีกลาย (Aquila clanga).
  25. อีก้อ : น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบตพม่า มีอยู่ทางแถบเหนือ ของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, ก้อ ก็เรียก.
  26. อีฉุยอีแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็น ชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีหลุยฉุยแฉก ก็ว่า.
  27. อีลุ่ยฉุยแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีหลุยฉุยแฉก หรือ อีฉุยอีแฉก ก็ว่า.
  28. อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
  29. อีหลุยฉุยแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีฉุยอีแฉก ก็ว่า.
  30. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  31. อุดมคติ : [อุดมมะ, อุดม] น. จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน แห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน.
  32. อุทัย : น. การเกิดขึ้น เช่น สุโขทัย = การเกิดขึ้นแห่งความสุข, การตั้งขึ้น เช่น อรุโณทัย = การตั้งขึ้นแห่งอรุณ. ก. เริ่มส่องแสง ในคำว่า อาทิตย์อุทัย. (ป., ส.).
  33. อุปธิ : [อุปะทิ] น. กิเลส, ความพัวพัน, เหตุแห่งการเวียนเกิด; ขันธ์ ๕, ร่างกาย. (ป., ส.).
  34. เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
  35. เอกสารสิทธิ : [เอกกะสานสิด] (กฎ) น. เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่ง การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
  36. ไอศวรรย์ : [ไอสะหฺวัน] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน; อํานาจ; (กลอน) สมบัติแห่งพระราชาธิบดี, ใช้ว่า ไอศุริย หรือ ไอศูรย์ ก็มี. (ส. ไอศฺวรฺย; ป. อิสฺสริย).
  37. ไอศุริยสมบัติ : น. สมบัติแห่งพระราชาธิบดี.
  38. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-588]

(0.0303 sec)