Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละครร้อง, ละคร, ร้อง , then รอง, ร้อง, ละคร, ละครร้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละครร้อง, 611 found, display 201-250
  1. เจี๊ยบ ๒ : น. เรียกลูกไก่ตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกเจี๊ยบ. ว. เสียงร้องของลูกเจี๊ยบ.
  2. โจงกระเบนตีเหล็ก : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  3. ฉมบ : [ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น เงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
  4. ฉม่อง : [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
  5. ฉัยยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละคร สังข์ทอง). (ดู ชายา๒).
  6. ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  7. ฉากตั้ง : น. ฉากละครที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนํามาตั้งไว้, ฉากแข็ง ก็เรียก.
  8. ฉากทิ้ง : น. ฉากลิเกละครเป็นต้นเขียนเป็นภาพต่าง ๆ แขวนทิ้งไว้กับที่ อาจชักรอกขึ้นลงได้, ฉากอ่อน ก็เรียก.
  9. ฉากน้อย, ฉากใหญ่ : น. ท่าละครชนิดหนึ่ง.
  10. ฉุยฉาย : น. ชื่อเพลงร้องและท่ารําแบบหนึ่ง. ว. กรีดกราย.
  11. ฉุยฉายเข้าวัง : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  12. เฉด : ก. ขับไล่ไสส่ง เช่น เฉดหัวไป. ว. คําร้องไล่หมา.
  13. เฉิบ, เฉิบ ๆ : ว. คําร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรํา, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รําเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไป ในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.
  14. ไฉยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา๒).
  15. ชวนหัว : ว. ที่ทําให้ขบขัน เช่น เรื่องชวนหัว ละครชวนหัว.
  16. ชักกระบี่สี่ท่า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  17. ชักซอสามสาย : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  18. ชักแป้งผัดหน้า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  19. ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
  20. ช้างทำลายโรง : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  21. ช้างประสานงา : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
  22. ช้างสะบัดหญ้า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  23. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  24. ช้านางนอน : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  25. ช้าลูกหลวง : น. การขับร้องเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอที่ขึ้นพระอู่.
  26. เชียร์ : ก. ให้กำลังใจด้วยการตะโกนโห่ร้อง ใช้ในการแข่งขัน (อ. cheer).
  27. ซอ ๒ : น. ชื่อเครื่องดนตรีพวกหนึ่งสําหรับสี ในพวกเครื่องสายหรือมโหรี มีคันชักสีให้ดัง มีหลายชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง. (ลอ).
  28. ซ้อง : ก. ร้องพร้อม ๆ กัน, ร้องสรรเสริญ, บางทีใช้ว่า ซ่อง; ระดมกัน, ทําพร้อม ๆ กัน เช่น ซ้องหัตถ์.
  29. ซ่อง ๓ : ก. ร้องพร้อม ๆ กัน, ร้องสรรเสริญ, มักใช้ ซ้อง.
  30. ซะซร้าว : [–ซ้าว] (กลอน) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่.
  31. ซะซอเซีย : (กลอน) ว. เสียงนกร้องจอแจ.
  32. เซิ้ง : ก. ร้องรําทําเพลงแบบชาวอีสาน.
  33. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  34. ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
  35. ดำเนินคดี : ก. ฟ้องร้องต่อศาล; (กฎ) ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีตามกฎหมาย วิธีพิจารณาความ.
  36. ดู : ก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทํานาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.
  37. เดินขบวน : ก. ยกกันไปเป็นหมู่เป็นพวกเพื่อร้องเรียนเป็นต้น.
  38. เดินสาย : ก. ติดสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขโทรศัพท์เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ.
  39. ต้นบท : น. คนบอกบทให้คนรํารู้ว่าจะรําอย่างไร หรือให้คนร้องรู้ว่าจะร้อง อย่างไร.
  40. ต้นเสียง : น. คนร้องนํา.
  41. ตระแตร้น, ตะแตร้น : [ตฺระแตฺร้น, -แตฺร้น] (กลอน) ว. เสียงช้างร้อง.
  42. ตระเวนเวหา : น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
  43. ต้อยตีวิด : น. ชื่อนกชนิด Vanellus indicus ในวงศ์ Charadriidae ตัวขนาดนก เขาใหญ่ หัวสีดําขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดทางด้านหน้าจากขอบ ตาหนึ่งไปอีกขอบตาหนึ่ง ปากยาว ขายาวสีเหลือง ตีนมี ๔ นิ้ว นิ้วหลังเป็นติ่ง เล็ก ร้องเสียงแหลม ''แตแต้แว้ด'' กินสัตว์ขนาดเล็ก วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน, กระต้อยตีวิด กระแตแต้แว้ด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก.
  44. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  45. ตะเพิด : ก. ตวาดให้หนีไป, ร้องให้ตกใจหนีไป, ไล่ส่งไป, โบราณเขียนเป็น กระเพลิด ก็มี.
  46. ตับ ๒ : น. ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียง กันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกัน เป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ. ตับเพลง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่ อยู่ในอัตราเดียวกันชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี. ตับเรื่อง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็น เรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตรา ก็ได้ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ.
  47. ตั้วโผ : น. หัวหน้าคณะมหรสพ มีละคร งิ้ว เป็นต้น, โต้โผ ก็เรียก. (จ.).
  48. ถ้อ : ก. โต้ตอบ เช่น ร้องเพลงถ้อกันไปมา. (พงศ. เลขา), ใช้ ท่อ ก็มี.
  49. ถ้อยความ : น. เรื่องราวที่เขียนหรือเรียบเรียง, เรื่องราวที่ฟ้องร้องกัน, มักใช้ในสํานวนว่า เป็นถ้อยเป็นความ.
  50. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-611

(0.0940 sec)