Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละครร้อง, ละคร, ร้อง , then รอง, ร้อง, ละคร, ละครร้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละครร้อง, 611 found, display 301-350
  1. ผู้ประพันธ์เพลง : น. ผู้แต่งทำนองเพลง, ผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง, นักแต่งเพลง ก็เรียก.
  2. ผู้ร้าย : น. โจร, อาชญากร; ตัวโกงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์ เป็นต้น.
  3. โผะ : ว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทําพิธีบํารูงาช้าง เป็นการ เยาะเย้ยเมื่อรําท่าต่าง ๆ แล้ว.
  4. พญาไฟ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Campephagidae มีเสียงร้องไพเราะและ สีสันสวยงาม ตัวผู้สีแดง ตัวเมียสีเหลือง บางชนิดเป็นสีเทาทั้งตัวผู้ และตัวเมีย รวมกันอยู่เป็นฝูงตามยอดไม้ มีหลายชนิด เช่น พญาไฟ สีกุหลาบ (Pericrocotusroseus) พญาไฟเล็กคอเทา (P. cinnamomeus) พญาไฟใหญ่ (P. flammeus) พญาไฟสีเทา (P. divaricatus).
  5. พนียก : [พะนียก] น. วนิพก, คนขอทานโดยร้องเพลงขอ. (ส. วนียก).
  6. พรรลาย : [พันลาย] ก. มากมาย, เกลื่อนกลาด; เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียง พรรลาย. (ตะเลงพ่าย).
  7. พรหมศร : น. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่ง ที่ประกอบกับโคนเสา เช่น เสาบุษบก มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร เรียกว่า กาบพรหมศร.
  8. ร้องเพรียก : [เพฺรียก] ก. ร้องเรียก.
  9. พร้อม : [พฺร้อม] ว. คําแสดงกิริยาร่วมกัน เช่น ร้องเพลงพร้อมกัน ปรบมือ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน เช่น ไปพร้อมกัน ถึงพร้อมกัน, โดยปริยายหมายความว่า ครบครัน เช่นงามพร้อม ดีพร้อม เตรียม พร้อม, เสร็จ เช่น พร้อมแล้ว. ก. เตรียมครบถ้วน เช่น พร้อมแล้ว.
  10. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  11. พระเอก : น. ตัวเอกฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  12. พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
  13. พาณินี : น. นางละคร, นางระบํา; หญิงเมาสุรา. (ส.).
  14. พิราบ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่าง คล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบน พื้นดิน กินเมล็ดพืช ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia. (ส. วิราว, พิราว, พิราพ ว่า เสียงร้อง).
  15. พิไร : ว. รําพัน, รํ่าว่า, รํ่าร้อง.
  16. เพ้ย : ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
  17. เพรียก : [เพฺรียก] ว. อาการที่ร้องมาก ๆ อย่างนกร้อง.
  18. เพรียกพร้อง : ก. ร้องเซ็งแซ่ (ใช้แก่นกเป็นต้น).
  19. เพลง : [เพฺลง] น. สําเนียงขับร้อง, ทํานองดนตรี, กระบวนวิธีรําดาบรําทวน เป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
  20. เพลงเชิด : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และ การเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินทางไกล.
  21. เพลงเสมอ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และ การเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.
  22. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  23. เพิดเพ้ย : ก. เย้ยหยัน; ร้องเฮ้ย (ใช้เป็นคําขับไล่ให้หนีไป).
  24. ภรต, ภรต– : [พะรด, พะระตะ–, พะรดตะ–] น. ผู้เต้นรํา, ผู้แสดงละคร. (ส.).
  25. ภารต, ภารต– : [พารด, พาระตะ–] น. ชาวอินเดีย; คนแสดงละคร. (ส.).
  26. มโนมัย : ว. สําเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูก มโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).
  27. มโนราห์ ๑ : น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
  28. มหรสพ : [มะหอระสบ] น. การเล่นรื่นเริงมีโขนละครเป็นต้น. (ป. มหุสฺสว; ส. มโหตฺสว).
  29. มโหรี ๑ : น. วงดนตรีที่มีเครื่องผสมทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า และมีผู้ขับร้องร่วมด้วย.
  30. มอ ๓ : น. วัวตัวผู้. ว. เสียงอย่างเสียงวัวร้อง.
  31. มือหนัก : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีต บรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่น การพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนัก เขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.
  32. เม็ดพราย : น. กลเม็ดเด็ดพราย, วิธีที่แยบคายหรือพลิกแพลงในการพูดหรือร้องเพลงเป็นต้น.
  33. เมื่อนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่เป็นตัวเจ้าหรือ เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  34. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  35. ไม่เอาความ : ก. ไม่ฟ้องร้องเอาความผิดตามกฎหมาย.
  36. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  37. ยังก่อน : คำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน เช่น ยังก่อน อย่าเพิ่งกิน.
  38. ยืนโรง : น. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจํา เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้าง หรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจําโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอด รายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง).
  39. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  40. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  41. เย ๆ : ว. เสียงร้องไห้ของเด็ก ๆ ที่ทอดเสียงยาว ๆ และไม่ใคร่หยุด เรียกว่า ร้องเย ๆ.
  42. เยื้อง : ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่าง ละครรำ. ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลศิริราช.
  43. โยนยาว : น. จังหวะร้องเพลงขณะพายเรือจังหวะช้า.
  44. รงค–, รงค์ : [รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกําหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรํา, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).
  45. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  46. รวะ : น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
  47. รอง ๑ : ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุน ให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
  48. รอง ๒ : ว. งามสุกใส เช่น รองเรือง.
  49. รองเง็ง : น. ศิลปะการแสดงแบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นการเต้นรําคู่ ชายหญิง และร้องเพลงคลอไปด้วย. (เทียบ ม. ronggeng).
  50. ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-611

(0.0920 sec)