Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละครร้อง, ละคร, ร้อง , then รอง, ร้อง, ละคร, ละครร้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละครร้อง, 611 found, display 351-400
  1. รัดเกล้า : น. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสํานักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สําหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลวสําหรับพระสนม.
  2. รัดเครื่อง : ก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้า ให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.
  3. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  4. ร่ายรำ : ก. เดินหรือจับระบำไปตามจังหวะดนตรีของละครรำ.
  5. รำ ๒ : ก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือ เพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธ ประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือเช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของ ใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.
  6. รำซุย : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  7. รำวง : น. การรําโดยมีผู้เล่นจับคู่รําตามกันไปเป็นวง, แต่เดิมใช้โทนและ ร้องเพลงปรบมือให้จังหวะ เรียกว่า รําโทน ต่อมาภายหลังเพิ่มดนตรี ประกอบด้วย.
  8. รื้อร่าย : น. ชื่อทำนองเพลงร้องอย่างลำนำ.
  9. รุต : น. เสียง, เสียงร้อง, เสียงสัตว์. (ป., ส.).
  10. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  11. เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
  12. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  13. เรียกหา : ก. ร้องหา เช่น ลูกเรียกหาแม่ทั้งคืน คนไข้เรียกหาหมอ.
  14. เรื่องสั้น : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่าโดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิก ความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.
  15. ลงทุน : ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดย ปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขา ลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
  16. ละครยก : น. เครื่องสังเวยพระภูมิหรือแก้บน ทำเป็นแท่นยกขนาด เล็ก มีเสา ๔ มุม ดาดเพดานด้วยกระดาษ มีตุ๊กตาดินปั้นทาฝุ่นเขียน สีสมมุติเป็นตัวละคร ๓–๕ ตัวเสียบไว้บนแท่นนั้น.
  17. ลำตัด : น. การละเล่นที่มีผู้แสดงเป็นชายและหญิงว่าเพลงร้องแก้กัน มีลูกคู่และกลองรํามะนาประกอบ.
  18. ลูกกะแอ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกแหง่ ก็เรียก. ลู
  19. ลูกคอ : น. เสียงเอื้อนหรือเสียงครวญในเวลาร้องเพลงเป็นต้น.
  20. ลูกบท : น. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้ แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือลิเก ทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.
  21. ลูกหม่อ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกกะแอ หรือ ลูกแหง่ ก็เรียก.
  22. ลูกแหง่ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อัน เล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.
  23. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  24. เลิกทัพ : ก. ยกทัพกลับ เช่น ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพล รีบหนีไป. (เพลงในละครเรื่องสามก๊ก).
  25. เลียน : ก. เอาอย่าง, ทําหรือพยายามทําให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับแบบอย่าง, เช่น พูดเลียนเสียงเด็กร้องเลียนเสียงนก; ชั่งโดยเอาเงินตราเป็นเกณฑ์ นํ้าหนัก.
  26. ไล่เบี้ย : ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
  27. วนิพก : [วะนิบพก, วะนิพก] น. คนขอทานโดยร้องเพลงหรือดีดสีตีเป่า ให้ฟัง, ใช้ว่า วณิพก หรือ วันนิพก ก็มี. (ป. วนิพฺพก).
  28. ว้าก : ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้อง, หวาก ก็ว่า.
  29. วิ่งรอก : ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่ วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอก ทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทําให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือ นักแสดง เป็นต้น ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือ คืนเดียวกันให้ทันกําหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวน หาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.
  30. วิงวอน : ก. เฝ้าร้องขอ, รํ่าขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทําตาม ประสงค์, เช่น วิงวอนขอชีวิต.
  31. วิรวะ, วิราวะ : เสียงเรียกร้อง. (ป., ส.).
  32. เวทิ, เวที ๑ : น. ที่ที่ยกขึ้นให้สูงใช้เป็นที่ทําการสักการบูชา, แท่นบูชา; ยกพื้น สําหรับเล่นละครและอื่น ๆ เช่น เวทีละคร เวทีมวย. (ป., ส.).
  33. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  34. แว้ : เสียงลูกร้องแว้, อุแว้ ก็ว่า.
  35. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  36. โว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
  37. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  38. ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  39. โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
  40. ส่งลำ : ก. ร้องเพลงส่งให้ปี่พาทย์รับบรรเลงตามทํานองที่ร้อง (ใช้แก่ การขับเสภาและสักวา); กระทําครั้งสุดท้าย เช่น เตะส่งลำ.
  41. ส่งเสียง : ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล ส่งเสียงอื้ออึง.
  42. สนอง : [สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนอง โครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้ตอบ เช่น กรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขายสนองซื้อ. (ข. สฺนง).
  43. สนับเพลา : [เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้ว นุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.
  44. สบายอารมณ์ : ว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไป อย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
  45. สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  46. สมจริง : ว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดง บทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้ สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.
  47. สมโพธน์ : น. คําร้องเรียก, คําอาลปนะในไวยากรณ์. (ส. ว่า การร้องเรียก, การปราศรัย).
  48. สรภัญญะ : [สะระพันยะ, สอระพันยะ] น. ทํานองสําหรับสวดคําที่เป็นฉันท์, ทํานองขับร้องทํานองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ ทำนองสรภัญญะ. (ป.).
  49. สลับฉาก : น. เรียกการแสดงสั้น ๆ ที่คั่นระหว่างการแสดงละคร แต่ละฉากเพื่อให้มีเวลาสําหรับเปลี่ยนฉากละครว่า การแสดงสลับฉาก.
  50. สะท้อน ๑ : ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยาย หมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-611

(0.0864 sec)