Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เด็กกำพร้า, กำพร้า, เด็ก , then กำพรา, กำพร้า, ดก, เด็ก, เด็กกำพร้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เด็กกำพร้า, 614 found, display 201-250
  1. ผ้าอ้อม : น. ท่อนผ้าสําหรับปูให้เด็กนอนในเบาะ.
  2. ผูกขวัญ : ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า ''ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.
  3. เผลาะแผละ : [แผฺละ] น. ลูกโป่งแก้วที่เด็กเป่าเล่น.
  4. ฝากโรงเรียน : ก. นําเด็กไปสมัครเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียน.
  5. พรหมเรขา, พรหมลิขิต : [พฺรมมะ, พฺรม] น. อํานาจที่กําหนดความ เป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่ง เกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
  6. พราด, พราด ๆ : [พฺราด] ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่ดิ้นบิดตัวไปมา เช่น เด็กดิ้นพราด หัวปลาช่อนถูกทุบดิ้นพราด ๆ.
  7. พลัด : [พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือตกจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้, พรากจากกันโดยไม่รู้ว่าหลงไปอยู่ที่ใด เช่น พลัดพ่อ พลัดแม่, พรากจากถิ่นฐานหรือบ้านเกิดเมืองนอนเดิม เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง.
  8. พี่เลี้ยง : น. ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก; ผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือเป็นต้น เช่น พี่เลี้ยงนักมวย พี่เลี้ยงผู้เข้าประกวด.
  9. เพื่อนเล่น : น. เพื่อนที่เล่นหัวกันมาตอนเป็นเด็ก.
  10. ฟัด : ก. กัดเหวี่ยงหรือสะบัดไปมา เช่น ถูกหมาฟัด แมวฟัดหนู, เหวี่ยง เช่น ถูกรถฟัดเสียสะบักสะบอม; ต่อสู้ เช่น เด็กฟัดกัน; กระทบ เช่น ท้ายเรือฟัดกัน นมยานฟัดกัน; คล้องจองกัน, สัมผัสกัน, เช่น กลอนฟัดกัน. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้ว ว่า กุ้งฟัด, กุ้งฝัด ก็ว่า.
  11. มหานิล ๑ : น. ชื่อยาไทยขนานหนึ่ง มีสีดํา ใช้เป็นยาสมานกวาดคอเด็ก แก้หละ ละออง ซาง.
  12. มหาเมฆ ๒ : น. ชื่อละอองหรือฝ้าในปากเด็กเล็ก ๆ เกิดเพราะเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซางโค.
  13. มอญซ่อนผ้า : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมัก ฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่า ยังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิมผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้า ให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่ง แทนที่ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป.
  14. มอบ ๑ : ก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน.
  15. มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
  16. มัน ๓ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สําหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้น ตามสถานะที่ควร สําหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสําหรับเรียก สัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  17. เมาะ ๑ : น. ที่นอนทําคล้ายฟูก แต่ยัดนุ่นหลวม ๆ สําหรับเด็ก.
  18. แม้ : สัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คําสนับสนุนข้ออ้าง ให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.
  19. แม่คุณ : น. คําพูดเอาใจหญิงหรือแสดงความเอ็นดูรักใคร่เด็กหญิง.
  20. แม่นม : น. หญิงที่ให้นมเด็กอื่นกินนมของตนแทนแม่, เรียกสั้น ๆ ว่า นม, (ราชา) พระนม.
  21. โม่ง : ว. หัวหรือท้ายโตผิดส่วน, ใหญ่โตผิดธรรมดา, เช่น ปลาหัวโม่ง, เรียกผู้ที่เอา ผ้าคลุมหัวในการเล่นของเด็กว่า อ้ายโม่ง, โดยปริยายหมายถึงคนที่คลุมหัวปิดหน้า เพื่อไม่ให้คนจำหน้าได้.
  22. ไม้กลัด : น. สิ่งที่มีปลายแหลม ๒ ข้าง โดยมากทำด้วยไม้ไผ่เหลาเล็ก ๆ หรือ ก้านมะพร้าวตัดเป็นท่อนสั้น ๆ สำหรับใช้แทงขัดกระทงหรือใบตองที่ห่อขนม เป็นต้น; ไม้ไผ่เหลาเป็นอันเล็ก ๆ ปลายเรียวโคนใหญ่ ใช้ขัดมุ่นผมจุกเด็ก.
  23. ไม้แข็ง : น. ไม้ตีระนาดที่ไม่ได้พันด้วยนวม ทำให้มีเสียงกร้าว, โดยปริยาย หมายความว่า วิธีการเฉียบขาด, อำนาจเด็ดขาด, เช่น เด็กคนนี้ต้องใช้ไม้แข็ง จึงจะปราบอยู่.
  24. ไม่ใช่เล่น : ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น.
  25. ไม่เดียงสา : ว. ไม่รู้ประสา, ไม่รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ, เช่น เด็กยังไม่เดียงสา.
  26. ไม้เรียว : น. ไม้ปลายเรียวเล็กคล้ายไม้แส้สําหรับตีเด็ก.
  27. ไม้ลื่น : น. กระดานที่ตั้งสูงทอดต่ำลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง, กระดานลื่น ก็เรียก.
  28. ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก : (สํา) อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่า อบรมสั่งสอนผู้ใหญ่.
  29. ยอ ๒ : ก. กล่าวคําเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบ ให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่ วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้ง ไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
  30. ยอขึ้น : ก. ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น.
  31. ย้อน : ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.
  32. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  33. ยังอีก : ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำ ตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก.
  34. ยากวาด : น. ยาที่ใช้ป้ายในลำคอเด็กเล็ก ๆ แก้หละ ละออง ซาง.
  35. ยาย : น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อย เคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราว คราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
  36. ยาสุมหัว : น. ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอก กระหม่อมเด็กแก้หวัด.
  37. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  38. ยืดตัว : ก. เจริญเติบโต (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ) เช่น เด็กกำลังยืดตัว.
  39. ยุ้ย : ว. ยื่นโป่งออกมาอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น แก้มยุ้ย เด็กพุงยุ้ย.
  40. ยุวชน : น. เด็กวัยรุ่น.
  41. เย ๆ : ว. เสียงร้องไห้ของเด็ก ๆ ที่ทอดเสียงยาว ๆ และไม่ใคร่หยุด เรียกว่า ร้องเย ๆ.
  42. โยเย : ว. เกเร, เกะกะ; ร้องไห้งอแง, ขี้อ้อน, (มักใช้แก่เด็กเล็ก ๆ). ก. พูด รวนเร.
  43. รก ๒ : น. เครื่องสําหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูก มีสายล่ามมาที่ สะดือเด็ก; สิ่งที่เป็นเส้นคล้ายรากไม้ที่ห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บางอย่างเช่น มะดัน เรียกว่า รกมะดัน, บางทีเป็นแผ่นห่อกาบไม้เช่นต้นมะพร้าว เรียกว่า รกมะพร้าว.
  44. ร้องกระจองอแง : ก. อาการที่เด็กหลาย ๆ คนร้องไห้พร้อม ๆ กัน.
  45. ร้องงอแง : ก. ร้องอ้อน (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ).
  46. ร้องเรือ : (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ก. ขับหรือกล่อมเพลงให้เด็กฟัง. น. เรียกเพลง กล่อมเด็กว่า เพลงร้องเรือ.
  47. ระวัง : ก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี, เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิด ภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.
  48. รักยม : น. ของขลังอย่างหนึ่ง เป็นรูปตุ๊กตาเด็กเล็ก ๒ ตัว ทําด้วยไม้รัก ดอกและไม้มะยมเชื่อว่าทําให้เกิดเมตตามหานิยม.
  49. รังแก : ก. แกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่น ผู้ใหญ่รังแกเด็ก.
  50. รั้น : ก. ร่นเข้าไป, ท้นเข้าไป, เช่น จมูกรั้น. ว. ดื้อดันทุรัง เช่น เด็กคนนี้ รั้นจริง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-614

(0.1056 sec)