Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เด็กกำพร้า, กำพร้า, เด็ก , then กำพรา, กำพร้า, ดก, เด็ก, เด็กกำพร้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เด็กกำพร้า, 614 found, display 251-300
  1. รับหน้า : ก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน.
  2. รางวัล : น. สิ่งของหรือเงินที่ได้มาเพราะความดีความชอบหรือความสามารถ เช่น รางวัลผู้มีมารยาทงามรางวัลสังข์เงิน รางวัลตุ๊กตาทอง หรือเพราะชนะ ในการแข่งขันเช่น รางวัลชนะเลิศในการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนา แก่เด็กรางวัลชนะเลิศฟุตบอล หรือเพราะโชค เช่นถูกสลากกินแบ่งรางวัล ที่ ๑; (กฎ) เงินตราที่จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทําความผิด; ค่าตอบแทนที่ให้แก่ผู้ซึ่งกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งสําเร็จตามที่บ่งไว้. ก. ให้สิ่งของโดยความชอบหรือเพื่อเป็นสินนํ้าใจเป็นต้น.
  3. ร้ายกาจ : ว. ร้ายมาก, ร้ายยิ่ง, เช่น เด็กคนนี้ความประพฤติร้ายกาจ ขยะ ส่งกลิ่นเหม็นร้ายกาจ.
  4. รีดนาทาเน้น, รีดนาทาเร้น : ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว; เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็ก ให้ทำงานหนัก.
  5. รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  6. รุ่น ๆ : ว. กำลังอยู่ในวัยแตกเนื้อหนุ่มแตกเนื้อสาว เช่น เด็กรุ่น ๆ; มี วัยใกล้เคียงกัน, ที่อยู่ในวัยเดียวกัน, เช่น คนรุ่น ๆ คุณพ่อ คนรุ่น ๆ กัน.
  7. รู้ความ : ก. เข้าใจภาษา (ใช้แก่เด็ก).
  8. รู้คิด, รู้คิดรู้อ่าน : ก. เข้าใจคิดตริตรอง เช่น เด็กบางคนรู้คิดรู้อ่านดีกว่า ผู้ใหญ่.
  9. รู้จัก : ก. เคยพบเคยเห็นและจําได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดี แม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว; คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จัก กันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า; รู้ เช่น รู้จักคิด รู้จักทำ.
  10. รู้จักที่ต่ำที่สูง : ก. รู้จักเคารพบุคคลและสถานที่ตามควรแก่ฐานะ เช่น เด็กพวกนั้นไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไปนั่งในที่ที่จัดไว้สำหรับผู้ใหญ่.
  11. รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
  12. รู้อยู่ : ว. เลี้ยงง่าย, ไม่อ้อน, ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ว่า เด็กรู้อยู่; (ปาก) โดย ปริยายหมายความถึงคนหรือสัตว์เลี้ยงบางชนิดที่ไม่ชอบเที่ยวเตร่.
  13. เรียกเนื้อ : ก. ทําให้เนื้อดีงอกขึ้นมาในที่ที่เป็นแผล เช่น ยานี้เรียกเนื้อ ได้ดี; ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อน บ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี.
  14. เรียด ๑ : ก. เฉียดผิว ๆ เช่น ทอยกระเบื้องเรียดนํ้า กระดานใบแล่นเรียดผิวน้ำ; ไม่มียกเว้น เช่น เก็บค่าดูเรียดแม้แต่เด็กเล็ก ๆ.
  15. เรียว ๑ : น. สิ่งที่มีลักษณะโคนโตปลายเล็ก เช่น เรียวหวาย เรียวไม้, เรียกไม้ ปลายเรียวเล็กสำหรับตีเด็กว่า ไม้เรียว. ว. เล็กลงไปตามลำดับอย่าง ลำไม้ไผ่ เช่น นิ้วเรียว ขาเรียว; โดยปริยายหมายถึงเสื่อมลงตามลําดับ เช่น ศาสนาเรียว.
  16. ฤๅษีเลี้ยงลิง : (สํา) น. ผู้เลี้ยงเด็กซุกซนหรือปกครองคนหมู่มากที่ไม่อยู่ใน ระเบียบวินัยย่อมเดือดร้อนรําคาญ.
  17. ลงคอ : ว. อาการที่ทําสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้น โดยไม่ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบาก ลูกยังขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ.
  18. ลดตัว : ก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่น หัวกับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก.
  19. ล้น : ก. พ้นหรือเลยระดับที่เปี่ยมอยู่แล้วจนไหลออกมา เช่น น้ำล้นตุ่ม ข้าวสารล้นกระสอบ, เกินกำหนดจนคงอยู่ไม่ได้ เช่น คนมากจนล้น ห้องประชุม. ว. ยิ่ง เช่น งานล้น สวยล้น; (ปาก) ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น.
  20. ล่อลวง : ก. ใช้อุบายทุจริตให้หลงเชื่อในสิ่งที่เป็นเท็จ เช่น ล่อลวง เด็กไปขาย.
  21. ล่อหลอก : ก. ล่อให้เชื่อโดยมีเครื่องจูงใจ เช่น เอาตุ๊กตามาล่อหลอก เด็กให้หยุดร้องไห้, หลอกล่อ ก็ว่า.
  22. ล้อหลอก : ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น เช่น เด็กแลบลิ้นปลิ้นตาล้อ หลอกกัน, หลอกล้อ ก็ว่า.
  23. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  24. ละบองราหู : น. ชื่อโรค ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซาง ชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, กระบองราหู ก็เรียก.
  25. ละมุนละไม : ว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ ละมุนละไม ข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม.
  26. ละออง : น. สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นผงเป็นฝอยละเอียดยิบ เช่น ละอองฝน ละอองน้ำ ละอองฟาง ละอองข้าว; ฝ้าขาวที่ขึ้นในปากเด็กเล็ก ๆ เมื่อไม่สบาย เช่น เด็กท้องเสียลิ้นเป็นละออง.
  27. ลานตา. : ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
  28. ลิง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในอันดับ Primates ลักษณะ คล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิด ที่มีหาง เช่น วอก (Macaca mulatta) และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา (Gorilla gorilla). ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน.
  29. ลิงชิงหลัก : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนประจําหลัก ของตนและต้องวิ่งสับหลักกันไปมา มีผู้เล่นอีกคนหนึ่งยืนอยู่ตรง กลาง เรียกว่า ลิง คอยชิงหลักของคนอื่นในขณะที่วิ่งสับหลักกัน, ถ้าใช้ลูกบอลโยนแทนการวิ่งสับหลัก เรียกว่า ลิงชิงบอล.
  30. ลิงโลด : ก. กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้นดีใจ เช่น เขาแสดงความดีอก ดีใจจนลิงโลด เด็กลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอลได้เขา ก็ลิงโลด. น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  31. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  32. ลูกแก้ว ๒ : (ถิ่น–พายัพ) น. เด็กที่โกนหัวเตรียมบวชเป็นสามเณร.
  33. ลูกผีลูกคน : (สํา) ว. หวังเป็นที่แน่นอนยังไม่ได้, มักใช้ในกรณีสำคัญ ๆ เช่น เด็กที่เกิดใหม่จะรอดหรือไม่ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่ การสอบไล่ ครั้งนี้ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่.
  34. ลูกพริก : น. เครื่องประดับรูปคล้ายเมล็ดพริก ทำด้วยทอง เงิน นาก หรืองา เป็นต้น สําหรับร้อยคาดเอวเด็กผู้ชาย.
  35. ลูกล้อ : ๑ น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ล้อ ก็ว่า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เป็นวงกลมคล้ายลูกล้อเช่นขอบกระด้ง สําหรับเด็กตีเล่น.
  36. ลูกลิงลูกค่าง : น. เรียกเด็กที่อยู่ไม่สุข ซุกซนมาก ชอบปีนป่าย หกคะเมนตีลังกาเป็นต้น.
  37. ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  38. ลูกหลงแม่ : น. คำล้อเด็กที่หาแม่ไม่พบหรือสำคัญผิดคิดว่าหญิงอื่น เป็นแม่.
  39. ลูกหิน : น. ลูกกลมทําด้วยหินเป็นต้นสําหรับเด็กเล่น.
  40. ลูกแหง่ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อัน เล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.
  41. เล่นขายของ : (ปาก) ก. ลักษณะการกระทําที่ไม่ถูกหลักเกณฑ์ ไม่จริงไม่จังเหมือนทำเล่น ๆ (มักใช้เป็นเชิงเปรียบเทียบ) เช่น ทำขนมขายนิด ๆ หน่อย ๆ เหมือนกับเด็กเล่นขายของ.
  42. เล่นสวาท : ก. เลี้ยงเด็กชายเป็นลูกสวาท.
  43. เล่นสัปดน : ก. กระทำในสิ่งที่หยาบโลน, กระทำอุตรินอกแบบ นอกแผน เช่น เด็กเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมาแล้วจุด.
  44. เล็ม : ก. เย็บริมชายผ้า เช่น เล็มผ้า; ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บ แต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า.
  45. เลินเล่อ : ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทํา เช่น เด็กคนนี้ เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. ว. อาการที่ขาดความ ระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.
  46. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  47. เลี้ยงไม่รู้จักโต : ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้อง ขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบ ออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ.
  48. เลียน : ก. เอาอย่าง, ทําหรือพยายามทําให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับแบบอย่าง, เช่น พูดเลียนเสียงเด็กร้องเลียนเสียงนก; ชั่งโดยเอาเงินตราเป็นเกณฑ์ นํ้าหนัก.
  49. แล่น ๑ : ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่นเร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชานแล่น ถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
  50. แลบลิ้นปลิ้นตา : ก. แลบลิ้นและปลิ้นตาแสดงอาการล้อเลียน (มักใช้แก่เด็ก).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-614

(0.0811 sec)