Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เด็กกำพร้า, กำพร้า, เด็ก , then กำพรา, กำพร้า, ดก, เด็ก, เด็กกำพร้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เด็กกำพร้า, 614 found, display 301-350
  1. แลเหลียว : ก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มี ใครแลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า.
  2. และเล็ม : ก. กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กและเล็มขนม แกะและเล็มหญ้า เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น และเล็มยอดตำลึง และเล็มยอดกระถิน; เล็ม ก็ว่า.
  3. และเลียม : ก. พูดเกี้ยวผู้หญิงทีเล่นทีจริง เช่น ชายเจ้าชู้และเลียมผู้หญิง; เลียบเคียงเข้าไปทีละน้อย เช่น เด็กและเลียมเข้ามาขอขนมกิน.
  4. โลดโผน : ว. แปลกผิดธรรมดา เช่น สํานวนโลดโผน, ผาดโผนน่าหวาดเสียว ต่ออันตราย เช่น ขับรถโลดโผน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ โจนทะยาน เป็น โลดโผนโจนทะยาน หมายความว่า ผาดแผลงอย่างน่าหวาดเสียว ต่ออันตราย เช่น เด็กซน ๆ ชอบเล่นโลดโผนโจนทะยาน.
  5. ไล่ขับ : ก. วิ่งตามเพื่อให้ทัน เช่น เด็กวิ่งไล่ขับกันมาบนถนน; บังคับ ให้ออกไปให้พ้น เช่น ไล่ขับคนร้ายออกไปจากบ้าน.
  6. วัตสะ : (แบบ) น. ลูกวัว; เด็กเล็ก. (ส. วตฺส).
  7. วัยขบเผาะ : ว. วัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาว.
  8. วัยจูง : น. วัยของเด็กระหว่างวัยแล่นกับวัยอุ้ม.
  9. วัยทารก : น. วัยเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่เดียงสา.
  10. วัยแล่น : น. วัยของเด็กถัดจากวัยจูง.
  11. วัย, วัย : [ไว, ไวยะ] น. เขตอายุ, ระยะของอายุ, เช่น วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยชรา. (ป., ส. วย).
  12. วัยสาว : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี, ใช้แก่หญิง.
  13. วัยหนุ่ม : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี, ใช้แก่ชาย.
  14. วัยหนุ่มสาว : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี.
  15. วัยอุ้ม : น. วัยของเด็กก่อนวัยจูง.
  16. ว้าก : ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้อง, หวาก ก็ว่า.
  17. วาสนา : [วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้ มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).
  18. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  19. วิตถาร : [วิดถาน] ว. กว้างขวาง, มากเกินไป, พิสดาร. (ป.; ส. วิสฺตาร); นอกแบบ, นอกทาง, (เกินวิสัยปรกติ) เช่น พวกเด็ก ๆ ชอบเล่น วิตถาร เอาน้ำสกปรกผสมแป้งสาดเข้าไปในรถประจำทาง ในวันสงกรานต์.
  20. วิวาท : ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).
  21. เวทนา ๒ : [เวดทะ] ก. สังเวชสลดใจ เช่น เรามักเวทนาผู้เคราะห์ร้าย เด็กคนนี้น่าเวทนา.
  22. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  23. ไว, ไว ๆ : ว. ลักษณะที่เคลื่อนไหว หรือสามารถคิด หรือกระทําสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น เด็กคนนั้นเดินไว วิ่งไว ๆ เข้า เดี๋ยวไปไม่ทัน. ก. เคลื่อนไหว คิด หรือกระทำสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น ไวเข้ารถจะออกแล้ว.
  24. ศิศุ : น. เด็ก, เด็กแดง ๆ, เด็กเล็ก. (ส.).
  25. สงสาร ๒ : [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  26. สนใจ : ก. ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น เขาสนใจวิชาคณิตศาสตร์ มาก, ใฝ่ใจใคร่รู้ใคร่เห็นเป็นต้น เช่น เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็ก.
  27. สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  28. สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  29. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  30. สอนเดิน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. ก. ฝึกหัด เดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้องสอนเดินใหม่.
  31. สอนพูด : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด.
  32. สอนยาก : ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, เช่น เขาเป็นเด็กสอนยาก, มักใช้ เข้าคู่กับคำ ว่ายาก เป็น ว่ายากสอนยาก.
  33. สอนยืน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน.
  34. สะดุด ๑ : ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้ก้าว ผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้.
  35. สะดุด ๒, สะดุด ๆ : ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่าน หนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
  36. สะเทิน ๑ : ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว หรือ อยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน.
  37. สะพั้น : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากํา ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศ เป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า.
  38. สะอาดสะอ้าน : ว. สะอาดหมดจด เช่น เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดสะอ้าน.
  39. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  40. สัปดน : [สับปะดน] ว. หยาบโลน เช่น พูดสัปดนสองแง่สองง่าม, อุตรินอก แบบนอกแผน เช่น เด็กคนนี้ชอบเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมา แล้วจุด, (ปาก) ใช้ว่า สัปโดกสัปดน.
  41. สัพยอก : [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่ง ตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
  42. สาก ๓ : ว. อาการที่ระคายเพราะมีลักษณะไม่ละเอียดอ่อนหรือไม่นุ่มนวล เช่น ใบข่อยจับแล้วสากมือ ผู้หญิงคนนี้มือสากเพราะทำงานหนักตั้งแต่เด็ก, ขรุขระเพราะมีพื้นไม่ราบเรียบ เช่น กระดานแผ่นนี้ผิวสากเพราะยัง ไม่ได้ไสกบ.
  43. หน่วยก้าน : น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไป ได้ไกล.
  44. หนักข้อ : ก. กำเริบ เช่น เด็กคนนี้ชักจะหนักข้อขึ้นทุกวัน พ่อแม่ว่ากล่าว อย่างไรก็ไม่ฟัง. ว. รุนแรง เช่น เดี๋ยวนี้โจรผู้ร้ายมักกระทำการหนักข้อ.
  45. หนักมือ : ว. มากไป เช่น แกงหม้อนี้ใส่เกลือหนักมือไปหน่อย, แรงไป เช่น เด็กเล่นตุ๊กตาหนักมือไปหน่อย แขนตุ๊กตาเลยหลุด; กําเริบ เช่น โจรผู้ร้ายหนักมือขึ้นทุกวัน.
  46. หน้าเก้อ : ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  47. หน้าแก่ : ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
  48. หน้าตา : น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่น นักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศ ของตน.
  49. หนุ่ม : น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชาย ที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่.
  50. หนู ๒ : (ปาก) สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คําสําหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-614

(0.0969 sec)