Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เด็กกำพร้า, กำพร้า, เด็ก , then กำพรา, กำพร้า, ดก, เด็ก, เด็กกำพร้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เด็กกำพร้า, 614 found, display 51-100
  1. กระเตง : ก. อาการที่อุ้มเด็กเข้าสะเอวหรือสะพายของโตงเตงไป.
  2. กระเตาะกระแตะ : ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
  3. กระแตเวียน : น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบน สอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะเดิน. (รูปภาพ กระแตเวียน)
  4. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  5. กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
  6. กระบวนการ : น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการ เจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนิน ต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
  7. กระบองราหู : น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก.
  8. กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
  9. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  10. กระเหม่า : [-เหฺม่า] น. เขม่า, ละอองขึ้นที่ลิ้นเด็กอ่อน โบราณเรียกว่า กระเหม่าซาง. (แผลงมาจาก เขม่า).
  11. กระอ้อกระแอ้ : ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  12. กราด ๕ : [กฺราด] ก. กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, กวดให้อยู่ในบังคับ เช่น กราดควาย กราดเด็ก; พ่นน้ำนกและไก่แล้วเอาออกผึ่งแดด; ตากอยู่กลางแดดกลางลม. ว. ซัดส่ายไปโดยไม่เจาะจง เช่น ยิงกราด, สาดไป เช่น ด่ากราด.
  13. กอบด้วย : ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
  14. ก้อย ๑ : น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย; ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว; โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง.
  15. กะติ๊กริก : ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก). ก. จริตจะก้าน, ระริก.
  16. กะโปโล : ว. ไม่ได้เรื่องราว; มอมแมม เช่น เด็กกะโปโล.
  17. กะหนอกะแหน : [-หฺนอ-แหฺน] ว. เสียงพูดอย่างน่าเอ็นดูเหมือนเสียงเด็กพูด.
  18. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  19. กำตัด : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง; การพนันชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนกําถั่ว ใช้กําเบี้ย ต่างคนต่างถือแต้ม ไม่มีเจ้ามือ กําแล้วจะเติมหรือชักออกก็ได้.
  20. กำลังกินกำลังนอน : (สำ) ว. อยู่ในวัยกินวัยนอน เช่น เด็กกําลังกินกําลังนอน.
  21. กุมาร : [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.
  22. กุมารา : (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
  23. กุมารี : น. เด็กหญิง. (ป., ส.).
  24. กุลาซ่อนผ้า : น. การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง.
  25. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  26. เกล็ดกระดี่ : ว. เรียกอาการโรคที่เกิดขึ้นที่ตาเด็กว่า ตาเกล็ดกระดี่.
  27. แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
  28. แก่ ๒ : บ. ใช้นําหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก.
  29. แก่แดด : ว. ทําเป็นผู้ใหญ่เกินอายุ (มักใช้แก่เด็ก).
  30. แกแน : น. เรียกเด็กที่ทําตัวอวดรู้เป็นผู้ใหญ่ว่า เด็กแกแน.
  31. แก้ผ้า : ก. เอาผ้าที่นุ่งอยู่ออกจากตัว, เปลือยกายไม่นุ่งผ้า, เช่น เด็กนอนแก้ผ้า เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.
  32. แกละ : [แกฺละ] น. ผมเด็กผู้ชายที่เอาไว้เป็นแหยมตรงแง่ศีรษะ เรียกว่า ผมแกละ.
  33. โกง : ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทําตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. ว. โค้ง, ไม่ตรง, เช่น หลังโกง.
  34. ขนัน ๒ : [ขะหฺนัน] ก. กัน, บัง, ขวาง, เช่น ขนันนํ้า; วง, ล้อม, เช่น ล้อมขนัน; ผูก, รัด, เช่น ขนันศพเด็ก. ว. ขัน.
  35. ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  36. ขม่อม : [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่า ส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะ มีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่อ อ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
  37. ขโมย : [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่ง ที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขา ขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
  38. ขวบ : น. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ.
  39. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  40. ขวัญอ่อน ๑ : น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
  41. ของเล่น : น. ของสําหรับเด็กเล่นเพื่อให้สนุกหรือเพลิดเพลิน.
  42. ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
  43. ขี้ไคล : (ปาก) น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, ไคล ก็ว่า.
  44. ขี้เทา : น. ขี้ที่ค้างอยู่ในลําไส้เด็กที่คลอดใหม่.
  45. ขี่ม้าส่งเมือง : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ฝ่ายแพ้ต้องให้ฝ่ายชนะ ขี่หลังไปส่งถึงที่ฝ่ายชนะ.
  46. ขืนใจ : ก. บังคับให้ยอมทําตาม เช่น ขืนใจเด็กให้กินยา; ข่มขืน.
  47. ขู่ : ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
  48. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  49. เขย่งเก็งกอย : ก. กระโดดตีนเดียว. น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง.
  50. แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-614

(0.1006 sec)