Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 3601-3650
  1. นาค ๒, นาคา ๑ : [นาก] น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.
  2. นาค ๕ : [นาก] (แบบ) น. ผู้ประเสริฐ, ผู้ไม่ทําบาป; เรียกคนที่ไปอยู่วัดเตรียมตัว จะบวชหรือกําลังจะบวช. (ป., ส.).
  3. นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ : [นากคะบอริพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  4. นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  5. นาคบาศ : [นากคะบาด] น. บ่วงที่เป็นงู เป็นชื่อศรของอินทรชิตที่แผลง ไปเป็นงู. (ส.).
  6. นาคปรก : [นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาค แผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาคอีกแบบหนึ่ง ประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกาย ไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.
  7. นาคพันธ์ : [นากคะ] น. ชื่อโคลงโบราณชนิดหนึ่ง, สนธิอลงกต ก็ว่า.
  8. นาคราช ๑ : [นากคะ] น. พญางู; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  9. นาคราช ๒ : น. ชื่อเฟินหลายชนิดในสกุล Davallia วงศ์ Davalliaceae ลําต้นสีนํ้าตาล แซมดําเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดงู ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด D. denticulata Mett.
  10. นาคราชแผลงฤทธิ์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  11. นาคสะดุ้ง : น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึง หางหงส์ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
  12. นาคาวโลก : [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
  13. นาง ๓ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองต่าง ๆ ที่มีคําว่า นาง ขึ้นต้น เช่น นางครวญ นางนาค นางนก. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  14. นางแต่งตัวสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดงเดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบ พระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
  15. นางนวล : น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหาง กลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวล แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลาย หางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับเหยื่อหรือ โฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลาย ชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบ ท้ายทอยดํา (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
  16. นางแย้ม : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน โคนใบเว้าแบบหัวใจ ขอบใบหยัก มีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสั้น ๆเบียดกันแน่น กลีบดอกมักซ้อน สีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม.
  17. นางรม ๒ : น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus ostreatus (Fr.) Qu?l. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ โคนก้านดอกติดกัน มีหลายพันธุ์ ดอกเห็ด สีขาวหรือขาวอมเทา เนื้อนุ่มกินได้, ชื่อที่ถูกต้องคือ เห็ดหอยนางรม.
  18. นางเล็ด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลม ตากแห้ง ทอดนํ้ามันให้พองแล้วโรยนํ้าตาลเคี่ยว.
  19. นางสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพร พื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานใน พระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
  20. นางสาว : (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่มีสามี.
  21. นางหงส์ : น. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปี่ชวาและ กลองมลายูสําหรับบรรเลงในงานศพ; ชื่อเพลงไทยชุดหนึ่ง ใช้ ประโคมศพ.
  22. นางแอ่น. : (ดู อี). น. คําเรียกหญิง มักกล่าวเป็นเชิงเหยียดหยามเป็นต้น, พูดเป็นเสียงสั้นว่า นัง ก็มี.
  23. นาที : น. ชื่อหน่วยเวลา เท่ากับ ๑ ใน ๖๐ ของชั่วโมง. (เทียบ ส. นาฑี).
  24. นาบ : ก. เอาสิ่งที่มีความร้อนรีดหรือกดลงไป เช่น นาบพลู นาบใบตอง เอา เหล็กร้อนนาบเท้า, เรียกพลูที่นาบแล้วว่า พลูนาบ.
  25. นาฟางลอย : น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ''ข้าวขึ้นน้ำ'' เนื่องจาก มีรากยาวสามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อ และที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมี ระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
  26. นามไธย : [นามมะไท] น. ชื่อตั้ง, ทินนาม (เช่นนามบรรดาศักดิ์). (ป. นามเธยฺย).
  27. นามบัตร : [นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์ บอกชื่อตัว นามสกุล หรือที่อยู่ที่ทํางานไว้เพื่อแนะนําตัวเป็นต้น.
  28. นามปากกา : น. ชื่อแฝงที่นักเขียนหรือนักประพันธ์ใช้แทนชื่อจริง ของตน.
  29. นามแฝง : น. ชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อพรางหรือแทนชื่อจริง.
  30. นามสกุล : น. ชื่อสกุล.
  31. นามสงเคราะห์ : [นามมะสง] น. หนังสือที่รวบรวมคําพูดไว้, อภิธาน; สมุดรายชื่อพร้อมทั้งที่อยู่หรือที่ทํางานของบุคคล. (ส.).
  32. นามานุศาสตร์ : น. อภิธานคําชื่อ. (ส.).
  33. นาเมือง : น. นาฟางลอย; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสั้นเนื้อฟ่ามว่า ข้าวนาเมือง.
  34. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  35. นายจ้าง : ( น. ผู้จ้างทําการงาน, คู่กับ ลูกจ้าง; (กฎ) บุคคลซึ่งตกลงว่าจ้าง บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ให้ทำงานให้และจะให้สินจ้าง ตลอดเวลาที่ทำงานให้นั้น.
  36. นายตรวจ : ( น. ชื่อตําแหน่งในราชการ เช่น นายตรวจสรรพสามิต นายตรวจสรรพากร; ผู้ตรวจตั๋วบนรถเมล์หรือรถไฟเป็นต้น.
  37. นารายณ์ : น. ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์. (ส.).
  38. นารายณ์ทรงเครื่อง, นารายณ์ประลองศิลป์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  39. นาลี : (แบบ) น. หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป. นาฬี, นาลี).
  40. นาสวน : น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
  41. นาฬิเก : น. ชื่อมะพร้าวพันธุ์หนึ่ง ผลเล็ก สีเหลืองหรือส้ม นํ้าหอมหวาน. (ป. นาฬิเกร; ส. นาริเกร, นาริเกล, นาลิเกล, ว่า มะพร้าวทั่วไป).
  42. นาฬี : (แบบ) น. นาลี, หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป.).
  43. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  44. น้ำกระด้าง : น. นํ้าซึ่งเมื่อฟอกกับสบู่แล้วเกิดตะกอนขึ้น ซึ่งเรียกว่า ไคลสบู่ และไม่มีฟองสบู่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อย ทั้งนี้เพราะมีเกลือ ของแคลเซียมและแมกนีเซียมละลายอยู่.
  45. น้ำครำ : น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อ ระบายน้ำเสีย, ไขเสนียด ก็เรียก.
  46. น้ำคร่ำ : น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอด เป็นต้น เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  47. น้ำค้าง : น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  48. น้ำคาวปลา : น. นํ้าล้างปลาที่มีเมือกและเลือดติด ใช้รดต้นไม้ให้งาม, นํ้าล้างปลา ก็เรียก; นํ้าที่ขับถ่ายจากช่องคลอดภายหลังคลอดลูกแล้ว ประมาณ ๓–๔ วัน ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อย.
  49. น้ำเงิน ๑ : ว. สีอย่างสีคราม; (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจํานวน เงินที่ส่งไป เรียกว่าค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่ นายเงินไถ่ค่าตัวมาว่า ทาสนํ้าเงิน.
  50. น้ำเงี้ยว : (ถิ่น–พายัพ) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกง มีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูก หมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับ ขนมจีน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | [3601-3650] | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1874 sec)