Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เวไนยสัตว์, เวไนย, สัตว์ , then เพไนย, วนย, เวไนย, เวไนยสัตว์, สัตว์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เวไนยสัตว์, 680 found, display 151-200
  1. ครอก ๑ : [คฺรอก] น. ลูกสัตว์หลายตัวที่เกิดพร้อมกันคราวเดียว เช่น ลูกครอกปลาช่อน, ลักษณนามเรียกการตกลูกของสัตว์คราวหนึ่ง ๆ เช่น ปีนี้แมวออกลูก ๒ ครอก; (โบ) ลูกของทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย เรียกว่า ลูกครอก.
  2. คราบ : [คฺราบ] น. หนังหรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้ เช่น คราบงู คราบกุ้ง, โดยปริยายหมายถึงลักษณาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คนบาปในคราบของนักบุญ; รอยเปื้อนติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน.
  3. คร่ำ ๑ : [คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทําหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  4. คลัง ๒ : [คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสําหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ ชํานาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.
  5. คลาน : [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่า และศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไป อย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
  6. ควย : น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด.
  7. ควาญ : [คฺวาน] น. ผู้เลี้ยงและขี่ขับช้าง, คนบังคับช้าง, ใช้กับสัตว์อื่นก็มี เช่น ควาญแรด. (สมุทรโฆษ), ควาญแกะ ควาญม้า. (ปรัดเล).
  8. ควาย : [คฺวาย] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bubalus bubalis ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดําหรือเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและหน้าอก มีขนขาวเป็นรูปง่าม; (ปาก) โดยปริยายมักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่ แต่ไม่ฉลาด.
  9. คอก : น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอกพยาน; (ถิ่น-พายัพ) คุก, เรือนจํา. ว. ลักษณะของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
  10. ค่อม ๑ : ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมากว่า หลังค่อม; ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. ค่อม ๒ น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและ ปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.
  11. คันธมาทน์ : ว. ที่มีกลิ่นหอมทำให้สัตว์มัวเมา. น. ชื่อภูเขา เรียกว่า ภูเขาคันธมาทน์ คือ ภูเขาผาหอม. (ป., ส.).
  12. ค่าง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดํา ลําตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้ และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดํา (Presbytis melalophos) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) และ ค่างแว่นถิ่นเหนือ (P. phayrei).
  13. คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
  14. คางคกไฟ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก แต่ตัวเล็กกว่ามาก ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ.
  15. ค้างคาว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลําตัวมีขนปุย ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลา กลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Pteropus vampyrus) ในวงศ์ Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน (Pipistrellus javanicus) ในวงศ์ Vespertilionidae.
  16. ค่าน้ำ : (โบ) น. อากรจับสัตว์นํ้า, เงินที่ต้องเสียภาษีในการที่มีเครื่องมือ จับสัตว์นํ้า.
  17. คุลิก่า : น. เม็ดกรวดที่อยู่ในกระเพาะสัตว์บดเอื้อง เมื่อนานเข้าก็มีเมือกเกาะ เป็นเม็ดกลม ถือกันว่าเป็นยาถอนพิษ. (ม. guliga).
  18. คู่ชัก : น. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
  19. เคย ๑, เคอย : [เคย] น. ชื่อสัตว์ทะเลหลายชนิดหลายสกุล มี ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดํา (Mesopodopsis orientalis) ในอันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus) ในอันดับ Decapoda ของชั้น Crustacea รูปร่างคล้ายกุ้งแต่ตัวเล็กมาก ขนาดยาว ไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด ๒ แฉก ลําตัวใสหรือขุ่น ทุกชนิดเนื้อยุ่ย เหมาะสําหรับใช้หมักเกลือทํากะปิและนํ้าเคย.
  20. เครื่องใน : น. อวัยวะภายในของสัตว์บางชนิด เช่น ตับ ไต ไส้ ของวัว และควาย; ตลับสำหรับใส่เครื่องกินหมากที่อยู่ภายในหีบหมาก เครื่องยศของฝ่ายใน.
  21. เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
  22. เคี้ยวเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออกมา เคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า, บดเอื้อง ก็ว่า.
  23. แค้นคอ : ก. อาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอ กลืนไม่สะดวก.
  24. โคร่ง ๑ : [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่าเสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด, สูงโย่ง).
  25. ฆ่า : ก. ทําให้ตาย เช่น ฆ่าคน ฆ่าสัตว์; ทำให้หมดไป, ทำให้สิ้นไป, เช่น ฆ่าเวลา ฆ่ากลิ่น ฆ่าข้อความ.
  26. งัว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae, Balistidae, Anacanthidae ผิวหนังหยาบเหนียว หรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็ม หาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรก และครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง.
  27. งา ๓ : น. ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์เช่นลอบหรือไซ ทําเป็นซี่ ๆ ปลายสอบ เข้าหากันเพื่อไม่ให้ปลาที่เข้าไปแล้วออกมาได้.
  28. งาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)].
  29. งู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (Naja kaouthia) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (Python reticulatus).
  30. เงือก ๒ : น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา.
  31. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  32. จงโคร่ง, โจงโคร่ง : [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธาร หรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
  33. จตุบท : น. สัตว์สี่เท้า. (ป.).
  34. จรรม, จรรม- : [จํา, จํามะ-] (แบบ) น. หนังสัตว์. (ส. จรฺมนฺ; ป. จมฺม).
  35. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  36. จราจร : [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมา ตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
  37. จ่อม ๒ : ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
  38. จั่น ๒ : น. เครื่องดักสัตว์ทั้งในนํ้าและบนบก มีรูปคล้ายกรง มีหลายชนิด; เรียกประตูนํ้าอย่างโบราณที่ใช้ไม้ซุงขวางกันว่า ปากจั่น.
  39. จั่นหับ : น. กรงดักสัตว์ ด้านหน้ามีประตูปิดเปิดได้.
  40. จั่นห้าว : น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียว กับหน้าไม้ก็ได้.
  41. จัมมะ : (แบบ) น. จรรม, หนังสัตว์. (ป.; ส. จรฺม).
  42. จาป ๒ : [จาบ] (แบบ) น. ลูกสัตว์ เช่น แม่นกจากพรากพราก แลนา จากจาปน้อยแนบอก แลนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. จาป; ส. ศาว).
  43. จามรี : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์จำพวก วัว ขนยาวมาก ละเอียดอ่อน สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ เฉพาะบริเวณสวาบจะมี สีดําห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบ ภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก; เรียกแส้ที่ทําด้วยขนหาง จามรีว่า แส้จามรี.
  44. จำศีล : ก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิด นอนนิ่งไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจําศีล.
  45. จิ้งจก : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับตุ๊กแก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้าน (Cosymbotus platyurus) ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดิน ลายหินอ่อน (Cyrtodactylus peguensis) ตีนเกาะติดผนัง ไม่ได้, จิ้งจกบิน (Platyurus craspedotus) สามารถร่อนตัว ไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม.
  46. จิงโจ้ ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรง ใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัวไม่มีรกติดออกมา มีถุงที่หน้าท้องสําหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus, M. giganteus มีถิ่นกําเนิดในทวีปออสเตรเลีย.
  47. จิงโจ้ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลําตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาวหรือ ไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่า ลําตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวก ที่อยู่ในสกุล Limnogonus, จิงโจ้นํ้า ก็เรียก.
  48. จิ้งเหลน : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายสกุลในวงศ์ Scincidae เกล็ดเป็นมันเงา ส่วนมากอยู่ตามพื้นดิน เช่น จิ้งเหลนบ้าน (Mabuya multifasciata) มีบางชนิดขึ้นหากินตามต้นไม้ เช่น จิ้งเหลนต้นไม้ (Leiolopisma vittigerum) บางชนิดไม่มีขา เช่น จิ้งเหลนด้วง (Ophioscincus anguinoides), พายัพเรียก จักเล้อ.
  49. จิบ ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้ายและ ทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียว กับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อ เวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
  50. จี่ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ส่วนใหญ่ ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย สีดําตลอด ปั้น มูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทํา เสียงร้องดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียกตัวฉู่ฉี่ หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อยได้แก่พวก ที่อยู่ในสกุล Onitis เช่น ชนิด O. subopacus พบมากในภาคใต้ ชนิด O. philemon พบมากในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ เป็นชนิด O. virens.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-680

(0.1134 sec)