Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เฉพาะบุคคล, เฉพาะ, บุคคล , then ฉพา, เฉพาะ, เฉพาะบุคคล, บุคคล, ปุคคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เฉพาะบุคคล, 700 found, display 501-550
  1. เยาวชน : (กฎ) น. บุคคลอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์.
  2. รถบ้าน : (ปาก) น. รถส่วนบุคคล.
  3. รถแวน : น. รถยนต์ส่วนบุคคล มีที่นั่งมากกว่า ๒ ตอน ตอนท้ายมีประตู ข้างหลังสำหรับบรรทุกคนหรือของ.
  4. รหัส : [–หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้ข้อความ ที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษร ของข้อความนั้นหรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง กุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
  5. รโหฐาน : น. ที่เฉพาะส่วนตัว. (ป. รโห + ?าน ว่า ที่ลับ, ที่สงัด).
  6. ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
  7. รอนสิทธิ์ : ก. ตัดสิทธิ์, (กฎ) รบกวนขัดสิทธิของบุคคลในอันที่จะครอง หรือใช้ทรัพย์สินโดยปรกติสุข.
  8. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  9. รังมด : น. เรียกผ้าขาวที่หุ้มซี่คํ้าฉัตรโดยรอบ รูปทรงกรวย (ใช้เฉพาะ นพปฎลเศวตฉัตร).
  10. รัชชูปการ : น. เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.
  11. รัฐบาล : [รัดถะบาน] น. องค์กรปกครองประเทศ, คณะบุคคลที่ใช้อํานาจ บริหารในการปกครองประเทศ.
  12. รัตนวราภรณ์ : น. ชื่อตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะพระราชทานได้ ทั่วไปทุกชั้นบุคคลตามพระราชประสงค์ ไม่เกี่ยวด้วยยศหรือบรรดาศักดิ์.
  13. รับแขก : ก. ต้อนรับผู้มาหา, โดยปริยายเรียกบุคคลที่มีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใสอยู่เสมอ ว่า หน้าตารับแขก.
  14. รากแขวน : น. รากที่แตกออกจากโคนต้นมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เฉพาะรากที่ปลายยังไม่ถึงดิน.
  15. ราตรี ๒ : [–ตฺรี] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cestrum nocturnum L. ในวงศ์ Solanaceae ดอกเล็ก สีขาวปนเขียว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมแรงเฉพาะเวลากลางคืน.
  16. รายได้สุทธิ : น. รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว (ใช้แก่บุคคล).
  17. ราหู ๒ : น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไป คล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลาย สุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้าน ซ้ายของส่วนหัว.
  18. รำโคม : น. การรําแบบหนึ่ง ผู้เล่นถือโคมรําเป็นท่าต่าง ๆ, เดิมเล่นเฉพาะ ในงานหลวง.
  19. รู้กัน : ก. รู้เป็นนัยกันเฉพาะในกลุ่มของตน เช่น เรื่องนี้เขารู้กัน.
  20. รู้จักที่ต่ำที่สูง : ก. รู้จักเคารพบุคคลและสถานที่ตามควรแก่ฐานะ เช่น เด็กพวกนั้นไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไปนั่งในที่ที่จัดไว้สำหรับผู้ใหญ่.
  21. รู้ทัน : ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสีย เปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิด ของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  22. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  23. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  24. เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.
  25. แรด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osphronemus goramy เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Anabantidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสลิด ลําตัวหนา ปากเชิด ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น มีลายแถบสีเข้มพาดขวางลําตัวเห็นได้ชัด โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ขนาดใหญ่จะมีปุ่มที่สันหัวคล้ายนอ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาล ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร.
  26. โรงเรือน : (กฎ) น. ตึก บ้าน เรือน โรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่ง บุคคลอาจเข้าอยู่หรืออาจเข้าใช้สอยได้และหมายความรวมถึงแพด้วย.
  27. โรงแรม : น. ที่พักคนเดินทางซึ่งต้องเสียค่าพักแรมด้วย; (กฎ) สถานที่ ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสําหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว.
  28. ล่วงว่า : ก. บังอาจว่าเขา, กล่าวต่อไปอีกเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  29. ลอย ๆ : ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผล หรือหลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง; อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา.
  30. ละครใน : น. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.
  31. ละเมิด : ก. ล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่มีบัญญัติไว้; (กฎ) จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ.
  32. ลักษณ–, ลักษณะ : [–สะหฺนะ] น. สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมี ลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).
  33. ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
  34. ลาภมิควรได้ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่ง กระทําเพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้ มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้มา เพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็น ทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
  35. ลาม : ก. แผ่ขยายต่อเนื่องออกไป เช่น ไฟลาม แผลลาม; กระทํากิริยา ไม่รู้จักที่ตํ่าที่สูงเรื่อยไปต่อบุคคลเมื่อเห็นว่าเขาไม่ถือ.
  36. ลายเทศ : น. ผ้าลายซึ่งมีดอกดวงเป็นแบบของต่างประเทศ โดย เฉพาะของอินเดีย.
  37. ลายมือ : น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลาย มือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมี ลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลาย มือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึง จดหมายของเจ้านายด้วย.
  38. ลายมือชื่อ : (กฎ) น. ชื่อของบุคคลซึ่งบุคคลนั้นเขียนลงไว้ในหนังสือ หรือเอกสารเพื่อรับรองหรือแสดงว่าตนเป็นผู้ทําหนังสือหรือเอกสาร นั้น และหมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมายซึ่งบุคคล ลงไว้แทนลายมือชื่อของตนด้วย; (ปาก) ลายเซ็น.
  39. ลำพัง : ว. เฉพาะตน, ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น, เช่น อยู่กันตามลำพัง, ฝ่ายเดียว เช่น ต้องต่อสู้กับข้าศึกแต่ลำพัง.
  40. ลิขิต : น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์). ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).
  41. ลิบ, ลิบ ๆ : ว. สุดสายตา (ใช้เฉพาะไกลกับสูง) เช่น ไกลลิบ สูงลิบ ห่างกันลิบ ทิ้งกันลิบ มองเห็นยอดปราสาทลิบ ๆ.
  42. ลื่น : ก. เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น เขาลื่นหกล้ม ลูกแก้วลื่นไปตามราง. ว. มีลักษณะทำให้เคลื่อนที่ไปได้คล่องบน พื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น ถนนลื่น กระดานลื่น ทาน้ำมันเสียตัวลื่น, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลเม็ดแพรวพราวจน จับไม่ติด.
  43. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  44. ลูกหนี้ : น. ผู้เป็นหนี้, คู่กับ เจ้าหนี้; (กฎ) บุคคลผู้มีหนี้กับบุคคล อีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้.
  45. ลูกอ่อน : น. ลูกเล็ก ๆ ที่ยังไม่หย่านม, เรียกพ่อหรือแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ยังไม่หย่านมว่า พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อน, โดยปริยายเรียกบุคคลที่ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลอย่างใกล้ชิด (มักใช้แก่ผู้สูงอายุ) เช่นเวลานี้ไปไหนไม่สะดวก เพราะมีคุณยายเป็นลูกอ่อน ต้องคอย ดูแลท่าน.
  46. เล็ง : ก. เพ่งมอง, จ้องตรงไป, หมาย, หมายเฉพาะ; (โหร) อาการที่ดาว พระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์ อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่.
  47. เล็งผลเลิศ : ก. คาดหวังเฉพาะผลได้หรือผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม.
  48. เล็ด : น. เม็ด, เมล็ด, เรียกเม็ดหรือเมล็ดผลไม้ที่มีขนาดเล็กโดยเฉพาะ บางชนิด บางทีหมายถึงส่วนในของเมล็ด. ก. ลอดออกแต่น้อย เช่น นํ้าตาเล็ด.
  49. เลี้ยงได้แต่ตัว : ก. เลี้ยงได้เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้นไม่สามารถจะ บังคับจิตใจเขาได้, มักใช้ว่าเลี้ยงได้แต่ตัวเท่านั้น จิตใจเลี้ยงไม่ได้.
  50. เลี้ยงต้อนรับ : ก. เลี้ยงอาหารเนื่องในการรับรองแขกหรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เช่น รัฐบาลเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700

(0.1080 sec)