Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เงินคงคลัง, คงคลัง, เงิน , then คงคลัง, งน, เงิน, เงินคงคลัง, เงีน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เงินคงคลัง, 708 found, display 301-350
  1. ต้ม ๑ : ก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทําให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดย undefined ปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.
  2. ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
  3. ตราสาร : (กฎ) น. หนังสือสําคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น โฉนด ที่ดิน ตั๋วเงิน.
  4. ตรู่ : [ตฺรู่] น. เวลาสาง ๆ เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง.
  5. ต้อยติ่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด Hygrophila erecta Hochr. ดอกเล็ก สีม่วงแดง เมล็ดใช้ทํายาพอกฝี และชนิด Ruellia tuberosa L. ดอกใหญ่ สีม่วงนํ้าเงิน, อังกาบฝรั่ง ก็เรียก.
  6. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  7. ตะโกก ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae หัวเสี้ยม ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้า แข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลําตัวด้านหลังและ ครีบสีเทาอมฟ้าส่วนอื่นสีเงิน ที่สําคัญได้แก่ชนิดในสกุล Cyclocheilichthys เช่น ชนิด C. enoplos, C. dumeriliiสกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด Cosmochilus harmandi, Albulichthys alburoides.
  8. ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
  9. ตะปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก.
  10. ตะพัด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus ในวงศ์ Osteoglossidae หรือชนิดอื่นในสกุลเดียวกันที่พบในประเทศข้างเคียง เป็นปลาโบราณที่ยังมี พืชพันธุ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน ลําตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลัง ตรงโดยตลอดแนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง มาก ขอบหางกลมเกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลําตัวเป็นสีเงิน อมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร.
  11. ตะเพียน : น. ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดของบางสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Puntiusและ Cyclocheilichthys หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงินขอบเรียบ ที่มี ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง เช่น ตะเพียนขาว (P. gonionotus) ตะเพียนทอง (P. altus) ตะเพียนหางแดง หรือ กระแห (P. schwanenfeldi) ส่วนที่มี ลําตัวเรียวกว่า เช่น ตะเพียนทราย(P. leiacanthus, C. apogon).
  12. ตะลุมพุก ๒ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Tenualosa toli ในวงศ์ Clupeidae ที่ว่ายเข้านํ้าจืดเพื่อสืบพันธุ์ ลําตัว ยาวรี แบนข้างมาก ครีบหางเป็นแฉกลึก ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินอมเทา ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, กระลุมพุก ก็เรียก.
  13. ตัด : ก. ทําให้ขาดด้วยของมีคม เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า; ทอน เช่น ตัดเงินเดือน, ลัด เช่น เดิน ตัดทาง; ตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําให้เป็นสิ่งสําเร็จรูป เช่น ตัดเสื้อ ตัดรองเท้า; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตัดญาติ ตัดกิเลส. ตัดกัน ก. ขัดกัน, ไม่กินกัน, ไม่กลมกลืนกัน, (ใช้แก่สี); ตัดผ่านขวางกัน เช่น ถนนตัด กัน. ตัดขาด ก. เลิกติดต่อคบหากัน.
  14. ตับปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตะปิ้ง ก็เรียก.
  15. ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
  16. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  17. ถม ๑ : น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้า ประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่อง ประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน. ก. ลงคาถา, ลงเลขยันต์; ใช้สารเคมีใส่ ลงในพื้นที่เป็นช่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อน อบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถมดำ ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่าถมยาดำ.
  18. ถมเงิน : น. เครื่องถมที่ทําด้วยเงิน.
  19. ถมดำ : ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
  20. ถมตะทอง : น. เครื่องถมที่ทําโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.
  21. ถมยา : ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน ''แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม
  22. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  23. แถบ : ว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไป แถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่น–พายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.
  24. ไถ้ : น. ถุงยาว ๆ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง สําหรับใส่เงินหรือสิ่งของ โดยมากใช้ คาดเอว.
  25. ทดรอง : ก. ออกเงินหรือทรัพย์รองจ่ายไปก่อน.
  26. ทรัพย-, ทรัพย์ : [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่ถือว่ามีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
  27. ทวง : ก. เรียกเอาสิ่งที่เป็นของตนหรือที่ติดค้างกลับคืน เช่น ทวงหนี้ ทวงเงิน ทวงค่าเช่า, เรียกร้องเอาสิ่งที่จะพึงมีพึงได้ เช่น ทวงสิทธิ ทวงบุญทวงคุณ.
  28. ทวย ๒ : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสําหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขัน ใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จาก เบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
  29. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  30. ทองนพคุณ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  31. ทองแป : (โบ) น. ชื่อเหรียญทองตราโบราณที่ใช้แลกเปลี่ยนกัน ได้อย่างเงินตรา.
  32. ท้องพลุ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Machrochirichthys machrochirus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อกเชิดขึ้น และต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลําตัวสีเขียว อมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและแหล่งนํ้า ขนาดใหญ่ทั่วไป, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก; ชื่อนี้ยังใช้เรียกปลา แปบบางชนิด. (ดู แปบ๒).
  33. ทอน : ก. ตัดหรือหั่นให้เป็นท่อน เช่น ทอนฟืน, ทําให้ลดลงหรือให้สั้นลง เช่น ทอนกําลัง ทอนอายุ; หักจํานวนเงินตามราคาแล้วคืนส่วนที่เหลือ ไป เช่น ทอนเงิน ทอนสตางค์.
  34. ทั้ง...ทั้ง : ว. ด้วย เช่น ทั้งกินทั้งเล่น คือ กินด้วยเล่นด้วย ให้ทั้งข้าว ทั้งเงิน คือ ให้ข้าวด้วยเงินด้วย. สัน. และ เช่น ทั้งภูเก็ตทั้งเชียงใหม่ ล้วนน่าเที่ยว.
  35. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  36. ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
  37. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  38. ทำขวัญ : ก. ทําพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทําขวัญนาค ทําขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.
  39. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  40. ทิ้งกระจาด : น. ประเพณีทางศาสนาอย่างหนึ่งของจีน โดยนำอาหาร ข้าวสาร และเงินใส่กระจาดเล็ก ๆ ทิ้งให้คนยากจนแย่งกันแบบโปรย ทานต่อมาใช้ทิ้งติ้วหรือสลากสำหรับนำไปขึ้นของแทน.
  41. ที่ตั้งเป็นทุน : (กฎ) จํานวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องกันในคดี.
  42. ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  43. ทุนจดทะเบียน : (กฎ) น. จํานวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียน ไว้ตามกฎหมายและได้กําหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจํานวน สูงสุดของหุ้นที่จะออกจําหน่ายได้. (อ. authorized capital).
  44. ทุนนอน : น. เงินทุนประจําที่ได้ดอกผลเสมอ.
  45. ทุนสำรอง : (กฎ) น. เงินที่จัดสรรไว้จากเงินกําไรของบริษัทตามที่ กําหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ทุกคราวที่จ่ายเงิน ปันผล.
  46. ทุนสำรองเงินตรา : (กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดํารงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.
  47. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  48. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  49. ทู ๒ : (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma ในวงศ์ Scombridae ตัวยาวเรียว แบนข้างเป็นรูปกระสวย คอดหางแคบ ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้าม กับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย เกล็ดเล็ก บาง ข้างหลังสีนํ้าเงิน ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดํา ๓-๖ จุด เรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. (๒) ดู ลัง.
  50. เทกระเป๋า : ก. ใช้จ่ายจนเงินหมดกระเป๋าหรือเท่าที่ติดตัวไป.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-708

(0.1128 sec)