Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหรียญเงิน, เหรียญ, เงิน , then งน, เงิน, เงีน, เหรียญ, เหรียญเงิน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เหรียญเงิน, 729 found, display 451-500
  1. ป้อน : ก. เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน, โดยปริยายหมายถึง กิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินป้อน; ส่งวัตถุดิบแก่ โรงงานเพื่อให้เครื่องจักรผลิตเป็นสิ่งสําเร็จรูปหรือทําให้เครื่องจักร เกิดพลังงาน.
  2. ปอนด์ : น. ชื่อหน่วยเงินตราของอังกฤษเท่ากับ ๑๐๐ เพนซ์, ปอนด์สเตอร์ลิง ก็เรียก; ชื่อหน่วยมาตราชั่งของอังกฤษ เท่ากับ ๔๕๔ กรัม หรือ ๑๖ ออนซ์; เรียกกระดาษฟอกเนื้อดี สีขาว ที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพ ดีกว่ากระดาษปรู๊ฟ ว่า กระดาษปอนด์. (อ. pound).
  3. ปอมข่าง : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อกิ้งก่าขนาดใหญ่ชนิด Calotes mystaceus ในวงศ์ Agamidae หัวสีนํ้าเงิน แต่บางครั้งเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลได้, ปอมขาง หรือ กะปอมขาง ก็เรียก.
  4. ปักษาสวรรค์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด Strelitzia reginae Banks ex Dryand. ในวงศ์ Musaceae ใบเรียงสลับซ้อนกันเป็นแผง ดอกสีนํ้าเงิน มีกาบสีส้ม รูปคล้ายปีกนกหุ้มอยู่.
  5. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  6. ปั๊ม : ก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะ เป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่อง ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียก เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับ สูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการ น้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.
  7. ปิ๋ว ๑ : ก. ชักไว้เสีย, เป็นคําใช้ในวิธีเล่นโยนหลุม เมื่อโยนกันจนเหลือ ๑ สตางค์ ก็ชักเอาเสียไม่ต้องโยนอีก เรียกว่า ปิ๋ว; ชวด, พลาดจาก ที่หวัง เช่น เขาปิ๋วเงินรางวัลก้อนใหญ่. (ปาก) ว. ริบ เช่น ถูกปิ๋ว เงินประกัน.
  8. ปี้ ๑ : (โบ) น. กระเบื้องถ้วยหรือทองเหลืองหรือแก้วทําเป็นเครื่องหมาย สําหรับใช้แทนเงินในบ่อนเบี้ย; ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้ง ก่อนเป็นสําคัญว่าได้เสียเงินค่าราชการแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ความดี ความชอบ.
  9. ปี๋ ๑ : น. การเล่นพนันงวดหนึ่ง คือ เฉ่งเงินกันเมื่อหมดเบี้ยครั้งหนึ่ง (มักใช้แก่การเล่นไพ่ไทย).
  10. ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และ ฆ้องโหม่งผสมด้วย, พิณพาทย์เครื่องใหญ่ ก็เรียก. ปี่อ้อ น. ปี่ที่ลำตัวหรือเลาทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว ๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็น ลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือ เงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.
  11. เป็นกอบเป็นกำ : (สํา) ว. เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้ เป็นกอบเป็นกำ, เป็นก้อนใหญ่ ทําประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ.
  12. เป็นมัน : ว. อาการที่มองดูด้วยความอยากได้หรือพออกพอใจ เช่น เห็นผู้หญิงสาวสวยดูตาเป็นมัน เห็นเงินตาเป็นมัน.
  13. เป็นว่าเล่น : ว. ง่าย, สะดวกสบาย, เช่น เขาใช้เงินเป็นว่าเล่น.
  14. เป็นหนี้, เป็นหนี้เป็นสิน : ก. ติดค้างเงินผู้อื่น.
  15. เปลือง : [เปฺลือง] ก. ใช้หมดไปสิ้นไปเกินควร, หมดไป สิ้นไปโดยใช่เหตุ, เช่น เปลืองเงิน เปลืองเวลา เปลืองที่. ว. ลักษณะที่หมดไปสิ้นไป เกินควร เช่น ใช้เงินเปลือง.
  16. เปิดบัญชี : ก. บันทึกรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนไว้ในสมุด เมื่อเริ่มเปิดดําเนินกิจการ; ยกยอดสรุปที่ได้จากการปิดบัญชีมา เริ่มต้นใหม่; (ปาก) เปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร.
  17. เปียแชร์ : ก. ประมูลแชร์ว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าใด ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุด จะได้รับเงินก่อน เวียนไปจนครบจำนวนผู้เล่น.
  18. แป้น ๒ : น. ชื่อปลาทะเลหรือปลานํ้ากร่อยในสกุล Leiognathus, Secutor และ Gazza วงศ์ Leiognathidae เป็นปลาขนาดเล็ก ลําตัวป้อม แบนข้างมาก มักมีสีเงินหรือสีเนื้อ และเป็นอีกชื่อหนึ่งของ ปลาดอกหมากทุกชนิดในสกุล Gerres และ Pentaprion วงศ์ Gerreidae โดยเฉพาะ แป้นแก้ว คือ Pentaprion longimanus และ ยังอาจพบเป็นชื่อเรียกปลาข้าวเม่าในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae ด้วย.
  19. โปรยทาน : ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, ทิ้งทาน ก็ว่า.
  20. โปะ : ก. พอกเข้าไป เช่น เอาดินโปะ; เพิ่ม, ทุ่ม, เช่น โปะเงินลงไป.
  21. ไป ๆ มา ๆ : ว. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ไป ๆ มา ๆ ก็ต้องมาขอ เงินพ่อใช้.
  22. ผมนาง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris, A. indica และ Carangoides armatus ในวงศ์ Carangidae ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหาง เล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะ บริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สําคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลําตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลัง เป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็น บั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดํา จึงได้ ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะชนิด A. indica มีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  23. ผ้าขี้ริ้ว ๒ : น. ชื่องูทะเลชนิด Acrochordus granulatus ในวงศ์ Colubridae ตัวสีเทาลายเทาเข้มปนนํ้าเงิน นุ่มนิ่มเหมือนกองผ้าขี้ริ้ว อาศัย ตามทะเลโคลนมากกว่าทะเลนํ้าใส ไม่มีพิษ.
  24. ผ้าแฝง : น. ผ้าคาดเอว ปักด้วยดิ้นเงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลาย ต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สมรด หรือ สํารด ก็เรียก.
  25. ผูกดอก : (โบ) ก. ทําหนังสือสัญญาเป็นลูกจ้างรับเงินล่วงหน้าแล้ว ให้ดอกเบี้ยแทนรับใช้การงาน.
  26. ผูกภาษี : (โบ) ก. ว่าเหมาการเก็บภาษีไปทําเองแล้วให้เงินแก่หลวง ตามสัญญา.
  27. ผู้ทรง : (กฎ) น. บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้ รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน.
  28. ผู้เป็นหุ้นส่วน : (กฎ) น. บุคคลซึ่งนําสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้นด้วย ในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นํามาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้, (ปาก) หุ้นส่วน.
  29. ผู้รับประกันภัย : (กฎ) น. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจํานวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย.
  30. ผู้รับประโยชน์ : (กฎ) น. บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจํานวนเงินใช้ให้ตามสัญญาประกันภัย.
  31. เผื่อเรียก : ว. ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะเรียกให้จ่าย เมื่อใดก็ได้ เรียกว่าฝากเผื่อเรียก.
  32. ฝากเผื่อเรียก : ก. ฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะเรียกให้จ่ายเมื่อใดก็ได้.
  33. ฝืด : ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสี เป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณ เงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลงทำให้ราคา สินค้าตก ว่า เงินฝืด.
  34. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  35. พดด้วง : น. เรียกเงินตราโบราณรูปขดกลมคล้ายตัวด้วง.
  36. พนัน : ก. เล่นเอาเงินหรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความชำนาญ เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือ รวมทั้งโชคด้วย. น. การเล่นเช่นนั้น เรียกว่า การพนัน.
  37. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  38. พลวง ๑ : [พฺลวง] น. ธาตุลําดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕?ซ. มี สมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. antimony).
  39. พอ : ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง, เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
  40. พอใช้ : ว. ใช้ได้ เช่น คะแนนพอใช้; ปานกลาง, พอสมควร, เช่น มี ฐานะดี พอใช้รวยพอใช้เก่งพอใช้; เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่นมีเงินพอใช้ทั้งเดือน, พอใช้พอสอย ก็ว่า.
  41. พอใช้พอสอย : ว. เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่น มีเงินพอใช้ พอสอยไปเดือนหนึ่ง ๆ, พอใช้ ก็ว่า.
  42. พอดิบพอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น มีเงินไปเท่ากับราคา ของพอดิบพอดี กางเกงตัวนี้ใส่ได้พอดิบพอดี, พอดี ก็ว่า.
  43. พอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึง ที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.
  44. พัดงาสาน : (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จ พระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า ''คามวาสี อรัญวาสี'' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่าย อรัญวาสี.
  45. พัดดึงส์ : น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท. ว. สามสิบสอง. (ป. พตฺตึส).
  46. พิกัดอัตราศุลกากร : (กฎ) น. กําหนดจํานวนเงินอากรที่เรียกเก็บจาก ของที่ส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาออก หรือของที่นําหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาเข้า.
  47. พินัย : น. เงินค่าปรับเป็นภาคหลวง. (ป., ส. วินย).
  48. พินัยหลวง : น. เงินค่าปรับเป็นของหลวง เช่น ปรับเป็นพินัยหลวง.
  49. พิมพ์เขียว : ก. พิมพ์สําเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็น กระดาษบาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงิน บนพื้นขาว. น. สําเนาที่ทําขึ้นโดยวิธีการเช่นนี้. (อ. blueprint).
  50. พิศ ๒ : [พิด] ว. ยี่สิบ. น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท ว่า ทองพิศ. (ส. วึศ; ป. วีส).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-729

(0.1087 sec)