Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั๋วเงินคลัง, เงิน, ตั๋ว, คลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั๋วเงินคลัง, 736 found, display 151-200
  1. กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
  2. กล้วย ๒ : [กฺล้วย] น. (๑) ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Stolephorus indicus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างกลมยาว ที่สันท้องระหว่างครีบท้อง กับครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๕ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาด ตลอดข้างลําตัว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง อาจปนกับปลาชนิดอื่น ในสกุลเดียวกันซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และอาจมีชื่อเรียกปะปนกัน เช่น กะตัก หัวอ่อน มะลิ ไส้ตัน หัวไม้ขีด เส้นขนมจีน เก๋ย. (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
  3. กล่อม ๑ : [กฺล่อม] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กล่ำ.
  4. กล่ำ ๑ : [กฺล่ำ] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กล่ำ คือ อัฐ, ๒ กล่ำ เป็น ๑ ไพ. (กล่ำ ได้แก่ มะกล่ำตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกล่ำตาหนู).
  5. กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  6. กษัตริย์ : [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  7. กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
  8. กษาปณ์ : [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  9. กสิกรรม : น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
  10. กหาปณะ : [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.).
  11. กองทุน : น. เงินหรือทรัพย์สินที่เอามารวมเป็นก้อนเดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในการสมรส.
  12. กะตัก : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่าง ครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๗ อัน ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็น เพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ.
  13. กะตั้ก, กะตั้ก ๆ : (ปาก) น. กองใหญ่, จำนวนมากมาย, เช่น เขามีเงินเป็นกะตั้ก ๆ.
  14. กะแปะ : น. เงินปลีกโบราณ เช่น กะแปะทองแดง กะแปะดีบุก, อีแปะ ก็เรียก.
  15. กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
  16. กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
  17. กัน ๓ : ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่าย ในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวน เสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.
  18. กัปปิยโวหาร : น. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคําสํานวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.
  19. กัลปพฤกษ์ ๑ : [กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จ ตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานใน งานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา กํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).
  20. กากณึก : [กากะหฺนึก] น. ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกาพาไปได้; ชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด. (ป. กากณิกา).
  21. การ ๑ : น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
  22. กาษา, กาสา ๑ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสํารับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตําราทํานายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).
  23. กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
  24. กำนล : [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ, ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
  25. กำปั่น ๒ : น. หีบทําด้วยเหล็กหนา สําหรับใส่เงินและของต่าง ๆ รูปค่อนข้างเป็นรูปลูกบาศก์ ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลาย ทําเป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสําหรับใส่กุญแจ เดิมทําเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว.
  26. กำไล : น. ชื่อเครื่องประดับสําหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกําไลมือว่า ทองพระกร กําไลเท้าว่า ทองพระบาท.
  27. กำเหน็จ : [-เหฺน็ด] น. ค่าจ้างทําเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ.
  28. กิ้งก่า : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Agamidae ตัวมีเกล็ด หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กิ้งก่าบ้านหัวน้าเงิน (Calotes mystaceus) กิ้งก่าเขา (Acanthosaura armata), อีสานเรียก ปอม หรือ กะปอม.
  29. กิน : ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ, ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่าเปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้ โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง.
  30. กินกัน : ก. เอาเงินกันในระหว่างคู่ขาการพนัน, มักใช้ใน ความปฏิเสธว่า ไม่กินกัน.
  31. กินดอก, กินดอกเบี้ย : ก. ได้รับผลประโยชน์ที่เกิดจากทุนหรือเงินให้กู้.
  32. กินเปล่า : [-เปฺล่า] ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกันว่า เงินกินเปล่า. ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า.
  33. กินสินบน : ก. รับเงินหรือสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้นเพื่อให้ทำประโยชน์ แก่ผู้ให้ในทางมิชอบ.
  34. กีบ ๒ : น. ชื่อหน่วยเงินตราของลาว.
  35. กุ๊กกิ๊ก, กุ๊ก ๆ กิ๊ก ๆ : ก. พูดหรือเล่นกันเงียบ ๆ; ประจบ เช่น ไปกุ๊กกิ๊กกับแม่ไม่นานก็ได้เงินมา.
  36. กุเรา : น. ชื่อปลาทะเลและน้ำกร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ สกุล Eleutheronema และ Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลําตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum, P. sextarius, กุเลา ก็เรียก.
  37. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  38. กู้ ๒, กู้ยืม : ก. ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ย.
  39. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  40. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  41. เก็บข้าว : ก. เอาข้าวมาจากลูกหนี้แทนเงินที่ยืมไปใช้ก่อน, ใช้คู่กับคำ ตกข้าว.
  42. เกลือเงิน : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ อุตสาหกรรมชุบโลหะให้เป็นเงิน.
  43. แก่ ๒ : บ. ใช้นําหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก.
  44. แกลลอน : [แกน-] น. หน่วยวัดปริมาตรของอังกฤษ ๑ แกลลอน = ๔.๕๔๖๐๙ ลิตร (British Imperial gallon), หน่วยวัดปริมาตรของสหรัฐอเมริกา [แกน-] น. ธาตุลําดับที่ ๓๑ สัญลักษณ์ Ga เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน
  45. แกลเลียม : [แกน-] น. ธาตุลําดับที่ ๓๑ สัญลักษณ์ Ga เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙.๗๘ บซ เดือดที่ ๒๑๐๐ บซ. ใช้ทําเทอร์โมมิเตอร์ชนิดใช้วัดอุณหภูมิสูง ๆ สารประกอบแกลเลียม อาร์เซไนด์ใช้ประโยชน์เป็นวัตถุกึ่งตัวนํา. (อ. gallium).
  46. แก้ว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และ นูนเป็นสัน ลําตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก.
  47. โกง : ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทําตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. ว. โค้ง, ไม่ตรง, เช่น หลังโกง.
  48. ไกรลาส, ไกลาส : [ไกฺรลาด, ไกลาด] น. ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. ว. สีขาวเหมือนเงินยวง. (ส. ไกลาส).
  49. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง : (สํา) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่ คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).
  50. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-736

(0.0413 sec)