Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตื้นเขิน, เขิน, ตื้น , then ขน, เขิน, ตน, ตนขน, ตื้น, ตื้นเขิน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตื้นเขิน, 760 found, display 701-750
  1. ไหม ๑ : น. ชื่อผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ้วนป้อมมีขนสี ขาวและสีครีมคลุมเต็ม ปีกมีลายเส้นสีนํ้าตาลอ่อนพาดตามขวางหลายเส้น ตัวหนอนสีขาวหรือสีครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายเขาที่ปลายหาง กินใบหม่อนได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ ซึ่งใยนี้สามารถ สาวเป็นเส้นไหมนํามาทอเป็นเสื้อผ้าได้, ใยของสัตว์ชนิดนี้ก็เรียกว่า ไหม; เรียกเครื่องนุ่งห่มที่ทอด้วยไหมว่า ผ้าไหม.
  2. ไหมพรม : น. ด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  3. อกตเวทิตา : [อะกะตะ] น. ความเป็นผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ความเป็นผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญุตา. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ + ตา ว่า ความเป็น].
  4. อกตเวที : [อะกะตะ] น. ผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ผู้ไม่ ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญู. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  5. อกตัญญุตา : [อะกะตัน] น. ความเป็นผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทําแก่ตน. (ป.).
  6. อกตัญญู : [อะกะตัน] น. ผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทําแก่ตน. (ป.).
  7. อทินนาทาน : [อะทิน] น. การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แก่ตน, การลักทรัพย์. (ป.).
  8. อธิฏฐาน : [อะทิดถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. (ป.; ส. อธิษฺ?าน).
  9. อธิปไตย : [อะทิปะไต, อะทิบปะไต] น. อํานาจสูงสุดของรัฐที่ จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็นใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).
  10. อธิษฐาน : [อะทิดถาน, อะทิดสะถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิต ปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใด อย่างหนึ่ง, อธิฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. อธิฏฺ?าน).
  11. อนงค์ ๒ : [อะนง] (วรรณ) น. ผู้ไม่มีตัวตน เป็นชื่อหนึ่งของกามเทพ. (ส. อนงฺค ว่า ไม่มีตัวตน = ชื่อกามเทพ).
  12. อนัตตา : ว. ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน. (ป.).
  13. อนิวรรต, อนิวรรตน์ : [อะนิวัด] ว. ไม่กลับ, ไม่ท้อถอย. (ส. อนิวรฺต, อนิวรฺตน; ป. อนิวตฺต, อนิวตฺตน).
  14. อนุสภากาชาด : (เลิก) น. ชื่อสมาคมสําหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.
  15. อปจายนธรรม : น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม, การถ่อมตน. (ป. อปจายนธมฺม).
  16. อยู่ดีไม่ว่าดี : (สำ) ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง.
  17. อยู่อาสา : (โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็ง และประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).
  18. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  19. อวดดี : ก. ทะนงใจว่าตนดี, ถือดี, แสดงให้เขาเห็นว่าตนดีโดยไม่มีดี จริง ๆ.
  20. อวดรู้ : ก. แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนรู้ เช่น เขาชอบอวดรู้ทุกเรื่อง.
  21. อเวจี : น. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสําหรับลงโทษ แก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.
  22. ออ ๒ : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  23. อัต : [อัดตะ] น. ตน, ตัวเอง. (ป. อตฺต; ส. อาตฺมนฺ).
  24. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  25. อัตโนมัติ : [อัดตะ] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลําพังตน, เช่นในคําว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทําหน้าที่ได้ใน ตัวเอง, มีกลไกทําหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
  26. อัตภาพ : น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).
  27. อัตหิต : [หิตะ] น. ประโยชน์ตน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ประโยชน์ เป็น อัตหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. (ป. อตฺตหิต).
  28. อัตเหตุ : [เหด] ว. เพราะตนเป็นเหตุ; เห็นแก่ตัว. (ป. อตฺตเหตุ).
  29. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  30. อาณาประโยชน์ : น. ผลประโยชน์ส่วนตัวจากการที่ตนมีอํานาจ ปกครอง.
  31. อาตม : [อาดตะมะ] น. ตน, ตัวตน. (ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา ว่า ตน, วิญญาณ, ร่างกาย; ป. อตฺต, อตฺตา).
  32. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  33. อาลปน์, อาลปนะ : [อาลบ, อาละปะนะ] น. การพูด, การสนทนา, การเรียก, การทักทาย; ในไวยากรณ์ หมายถึง คําที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น ''นายแดง แกจะไปไหน'' คํา ''นายแดง'' เป็นอาลปนะ. (ป., ส.).
  34. อาวาห, อาวาหะ : [อาวาหะ] น. ''การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน'' หมายถึง การ แต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยม ปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).
  35. อินทรี ๑ : [ซี] น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเหยี่ยว ขามีขนปกคลุม กรงเล็บแข็งแรง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น อินทรีหัวนวล (Haliaeetus leucoryphus) อินทรีดํา (Ictinaetus malayensis) อินทรีปีกลาย (Aquila clanga).
  36. อีลุ้ม ๑ : น. ชื่อนกชนิด Gallicrex cinerea ในวงศ์ Rallidae ตัวขนาดเดียวกับ นกอีโก้ง ขายาว นิ้วยาว ตัวผู้ขนสีดํา หงอนแดง ตัวเมียขนสีนํ้าตาล ไม่มีหงอน นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกัน อาศัย หากินตามแหล่งน้ำและทุ่งนา พบทั่วทุกภาค กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.
  37. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  38. อุณา : น. ขนแกะ; ขนระหว่างคิ้ว. (ป. อุณฺณา; ส. อูรฺณา).
  39. อุณาโลม : น. ขนระหว่างคิ้ว; เครื่องหมายรูปอย่างนี้ (รูปภาพ อุณาโลม)
  40. อุดมคติ : [อุดมมะ, อุดม] น. จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน แห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน.
  41. อุทลุม : [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียก ลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใด เปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมา ฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวน มันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).
  42. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  43. อุปัชฌายวัตร : [อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริก จะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
  44. อุ้มสม : ก. อุ้มไปให้สมสู่กัน (ในวรรณคดีใช้แก่การที่เทวดาอุ้ม พระเอกไปให้สมสู่กับนางเอกที่ตนเห็นว่าคู่ควรกัน), (สํา) เปรียบเทียบคู่ผัวเมียที่เหมาะสมกันว่า ราวกับเทวดาอุ้มสม.
  45. อุย ๑ : น. ลักษณะของขนอ่อนหรือขนเพิ่งแรกขึ้น เรียกว่า ขนอุย.
  46. อุรังอุตัง : น. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนตามลําตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้น และค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอย และกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างพองห้อย นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัย อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา (Pongo pygmaeus abeli) และพันธุ์บอร์เนียว (P.pygmaeus pygmaeus) มีถิ่นกําเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและ เกาะบอร์เนียวเท่านั้น.
  47. อู : น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง ตัวใหญ่กว่าไก่แจ้ หงอนเล็ก ตัวผู้มีหลายสีแต่ สีขนไม่สดใสเหมือนไก่แจ้ ตัวเมียมีสีดําเหลือบเขียวเท่านั้น, เรียก ไก่อูชนิดที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
  48. อู้ ๑ : ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สาย ชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนัง แพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือ งา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
  49. เอกราช : [เอกกะราด] ว. เป็นอิสระแก่ตน, ไม่ขึ้นแก่ใคร.
  50. เอกอัครราชทูต : [เอกอักคฺระ] น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐ แต่งตั้งไปประจํายังสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็น ตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติ ของตนในรัฐนั้น ๆ. (อ. ambassador).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-760

(0.0944 sec)