Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กุมารา , then กุมาร, กุมารา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กุมารา, 77 found, display 51-77
  1. ตะปลิง : น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท เช่น ตะปูตะปลิงยิงตรึงกระชับชิด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขี้ยวตะขาบ ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก.
  2. ตะพัก : น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดิน สูงขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตร ก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะ ขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือ ไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  3. ถอยใจใหญ่ : (โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่ รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจ ใหญ่ไปมา. (ม. คําหลวง กุมาร).
  4. ทรวาร : [ทอระวาน] (กลอน) น. ประตู เช่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวาร. (ม. คําหลวง กุมาร).
  5. ทรสุม : [ทอระ-] (กลอน) ว. ซึ่งสุมกัน, เป็นกลุ่ม, เป็นพุ่ม, เป็นช่อ, เช่น ไม้ทรสุมสมกิ่งวันนี้. (ม. คําหลวง กุมาร), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสาย เป็น ทรสุมทรสาย ก็มี เช่น ใบทรสุมทรสายศาล. (ม. คําหลวง จุลพน).
  6. ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  7. เทง, เท้ง ๑ : (โบ) ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเท้งทรวารพระกุฎีดูดังนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
  8. ประกำ : ก. รัด, ตรึงให้แน่น, เช่น ประกําตรึงด้วยเพชรแน่นหนา. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  9. ปามปึงมา : ก. พรวดพราดเข้ามา เช่น มีมือถือดาบกล้าอวดค้า ๆ คำรามคำรนปามปึงมาด้วยด่วนแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  10. สรสรก : [สะระสก] ว. โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง เลือดตก พลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  11. อุตตานภาพ : [อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัด ทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอ ล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).
  12. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  13. กระไทชาย : (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.
  14. กระป่ำ ๒ : ว. อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ. (ม. คําหลวง กุมาร; มัทรี).
  15. กัมบน : [กําบน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กําบน ก็ว่า. (ป. กมฺปน). (ม. คําหลวง กุมาร, หิมพานต์).
  16. กุมภัณฑยักษ์ : น. ลมกุมารอย่างหนึ่งมีอาการคล้ายบาดทะยัก ผู้ที่เป็นลมนี้ตาจะช้อนสูง หน้าเขียว มือกํา เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน. (แพทย์).
  17. โกกเกก : ก. คดโกง, เกะกะระราน, เกกมะเหรก, เช่น มีกิริยาโกกเกกร้ายกาจ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ).
  18. โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
  19. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  20. ตะลิบ : ว. ลิบ, ไกล, เช่น ตะลิบหายไปไม่เห็นตัว. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ).
  21. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  22. เบิกพระโอษฐ์ : (ราชา) น. พิธีป้อนนํ้าโดยใช้ช้อนทองคำตักน้ำ พระมหาสังข์ใส่พระโอษฐ์พระราชกุมารหรือพระราชกุมารีเป็น ครั้งแรกในพระราชพิธีสมโภช ๓ วัน.
  23. ยุวราช, ยุวราชา : น. พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือทรงรับแต่งตั้งอยู่ ในตําแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป. (ป., ส.).
  24. สัตยวาที : น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ใน สัตยวาที. (ม. คําหลวงกุมาร). (ส. สตฺยวาทินฺ).
  25. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  26. เอกังสพยากรณ์ : [สะพะยากอน] น. ''การพยากรณ์โดยส่วนเดียว'' หมายถึง การ พยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์ โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและ ตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจนสามารถตอบได้อย่าง แจ่มแจ้งทันที.
  27. 1-50 | [51-77]

(0.0281 sec)