Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียชีวิต, ชีวิต, เสีย , then ชวต, ชีพิต, ชีวิต, สย, เสีย, เสียชีวิต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียชีวิต, 771 found, display 251-300
  1. ตกล่องปล่องชิ้น : (สํา) ก. ตัดสินใจที่จะร่วมมือหรือร่วมชีวิตด้วย.
  2. ตกหมก : ก. อาการที่เลือดระดูเสียที่หมักหมมอยู่ข้างในไหลออกมา.
  3. ตกหลุม, ตกหลุมพราง : (สํา) ก. ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล.
  4. ตระบัด ๒ : [ตฺระ-] (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์. (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้, ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก, ใช้อย่าง สะบัด ก็มี.
  5. ตราบ : [ตฺราบ] น. ข้าง, ฟาก, ริม. สัน. จนถึง, เมื่อ, เช่น ยังมีลมหายใจอยู่ตราบใด ก็ถือว่ายังมีชีวิตอยู่ตราบนั้น.
  6. ตราบเท่า : บ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้. สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบเท่า ชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.
  7. ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
  8. ตรีทุรวสา : น. ของแก้มันเหลวเสีย ๓ อย่าง คือ เมล็ดโหระพา ผลกระวาน ผลราชดัด.
  9. ตลบ : [ตะหฺลบ] ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับ ไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง; ยกกลับ, หกกลับ, เช่น ตีตลบ; ย้อนกลับไปกลับมา เช่น เดินเสียหลายตลบ ฝุ่นตลบ; ฟุ้งไป, กระจายไป, (ใช้แก่กลิ่น), กลบ ก็ว่า.
  10. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  11. ต่อย : ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
  12. ต้อหิน : น. โรคตาซึ่งเกิดจากความดันภายในลูกตาสูง เป็นผลให้ประสาทตาเสีย. (อ. glaucoma).
  13. ตะกอน : น. สิ่งที่ละลายปนอยู่ในนํ้าหรือของเหลวอื่นแล้วตกจมลงนอนก้นภาชนะเป็นต้น; (ภูมิ) สารต่าง ๆ ที่ผุพังทําลายโดยทางวิธีกล ทางเคมี หรือทางพัฒนาการของ ชีวิตแล้วตกจมทับถมเนื่องจากการกระทําของนํ้า ลม หรือธารนํ้าแข็ง.
  14. ตักษัย : (กลอน; ตัดมาจาก ชีวิตักษัย) ก. สิ้นชีวิต, ตาย.
  15. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  16. ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
  17. ตับ ๑ : น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ใน ช่องท้อง ทําหน้าที่ทําลายพิษ สร้างนํ้าดีและโปรตีนบางชนิด เป็นต้น. ตับแข็ง น. ชื่อโรคเรื้อรังที่เกิดแก่ตับ ทําให้เนื้อเยื่อของตับหดตัวและมี จํานวนน้อยลง ส่วนเนื้อเยื่อยึดต่อมีจํานวนมากขึ้นผิดปรกติ มักทําให้เกิด อาการบวมที่ท้อง ตาเหลือง ซึม หมดสติ และอาเจียนเป็นโลหิต. ตับแลบ (ปาก) ว. มีอาการเหนื่อยมาก เช่น วิ่งเสียจนตับแลบ. ตับเหล็ก น. ม้ามของหมู. ตับอ่อน น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทําหน้าที่สร้างและขับนํ้าย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน.
  18. ถนอม : [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้ อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
  19. ถลา : [ถะหฺลา] ก. โผผวา เช่น นกถลาลง เด็กวิ่งถลาเข้าหา, เสียหลัก ซวนไป เช่น เครื่องบินถลาลง.
  20. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  21. ถวายหัว : (สํา) ก. ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน, ทําจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตาย.
  22. ถอนหงอก : (สํา) ก. ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่.
  23. ถ่านไฟเก่า : (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ ง่ายขึ้น.
  24. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  25. ไถ่บาป : ก. ช่วยให้พ้นบาป (ใช้แก่พระเยซูที่อุทิศชีวิตช่วยมนุษย์ให้พ้น บาปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า โดยยอมถูกตรึงไม้กางเขน); (ปาก) ชดใช้ในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้.
  26. ทดแทน : ก. ตอบแทน, ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป.
  27. ทนทาน : ว. มั่นคง, ไม่เสียหายง่าย.
  28. ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
  29. ท้องขึ้นท้องพอง : ว. เรียกผลไม้บางอย่างที่ชํ้าจวนจะเสีย เช่น กล้วยท้องขึ้นท้องพอง คือกล้วยที่ชํ้าจวนจะเสีย, ท้องขึ้น ก็ว่า.
  30. ทอด ๓ : ก. ทิ้ง เช่น มันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย. (สามดวง), ปล่อย, วาง, เช่น ทอดธุระ ทอดทุ่น; พาดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น ทอดสะพาน, เหยียดยาวออกไป เช่น ทอดแขน ทอดขา; ปล่อยลง, ทิ้งลง, เช่น ทอดหมากเก็บ ทอดลูกเต๋า.
  31. ทะเลทราย : น. อาณาบริเวณที่กว้างใหญ่เต็มไปด้วยทราย มีอากาศ หนาวจัดหรือร้อนจัด ยากแก่การดํารงชีวิต มีพืชขึ้นอยู่น้อยมาก.
  32. ทับถม : ก. เพิ่มซับซ้อนกันเข้ามามากมาย; โดยปริยายหมายความว่า กล่าวซํ้าเติมให้เขาเสียหายหนักขึ้น.
  33. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  34. ทางสามแพร่ง : น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมา บรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
  35. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  36. ทายาทโดยธรรม : (กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดก ของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา เดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมาย กําหนดไว้.
  37. ทำขวัญ : ก. ทําพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทําขวัญนาค ทําขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.
  38. ทำเจ็บ : (ปาก) ก. ทําให้เดือดร้อนลําเค็ญ, ทำเสียเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
  39. ทำบาป : ก. ประกอบกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น, ทําบาป ทํากรรม ก็ว่า.
  40. ทำร้าย : ก. ทําให้บาดเจ็บหรือเสียหาย.
  41. ทำลายขวัญ : ก. ทําให้เสียขวัญ.
  42. ทำเอาเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเสียเจ็บ ก็ว่า.
  43. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  44. ทื่อ : ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่ เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  45. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  46. ทุกขลาภ : [ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
  47. ทุกข์สุข : น. ความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของชีวิตในขณะนั้น.
  48. ทุทรรศนนิยม, ทุนิยม : น. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด; การ มองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).
  49. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  50. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-771

(0.1064 sec)