Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียชีวิต, ชีวิต, เสีย , then ชวต, ชีพิต, ชีวิต, สย, เสีย, เสียชีวิต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียชีวิต, 771 found, display 651-700
  1. สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
  2. สนาดก : [สะนา] (แบบ) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. (ส. สฺนาตก; ป. นหาตก).
  3. สมบัติบ้า : น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
  4. สรวมชีพ : ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํา กราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ.
  5. สรีรวิทยา, สรีรศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยสมบัติและการกระทําหน้าที่ ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่เป็นรูปร่างและมีชีวิต. (อ. physiology).
  6. สละ ๔ : [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
  7. สลักเสลา : [สะเหฺลา] ก. สลักให้เป็นลวดลายเรียบร้อยสวยงาม เช่น เสียเวลานั่งสลักเสลาผักครึ่งวันกว่าจะได้ลงมือทำกับข้าว สลักเสลา เสาหินเป็นลายเทพนม.
  8. ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
  9. สวัสดิการ : น. การให้สิ่งที่เอื้ออํานวยให้ผู้ทํางานมีชีวิตและสภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง.
  10. สว่างไสว : [สะหฺว่างสะไหฺว] ว. สว่างรุ่งเรืองทั่วไป เช่น บริเวณงานมี แสงไฟสว่างไสว, โดยปริยายหมายความว่า มีความสุข เช่น โลกนี้ช่าง สว่างไสวเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ฉันหมดหนี้สินแล้ว ชีวิตฉันจึงสว่างไสวขึ้น.
  11. สวิญญาณกทรัพย์ : [สะวินยานะกะซับ, สะวินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณ หรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, ตรงข้ามกับ อวิญญาณกทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  12. ส่องกระจก : ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง.
  13. สะใจ : ว. หนําใจ, สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น อยากกินหูฉลามมานานแล้ว วันนี้ต้องกินให้สะใจเสียที เขาโมโหน้องมาก เลยตีเสียสะใจ.
  14. สะดุ้งสะเทือน : ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงิน ล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก.
  15. สะทกสะท้าน : ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทก สะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน.
  16. สะท้อน ๑ : ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยาย หมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
  17. สะบักสะบอม : ก. บอบชํ้าเต็มที เช่น ถูกชกเสียสะบักสะบอม.
  18. สังหาร : [หาน] ก. ฆ่า, ผลาญชีวิต. (ส.).
  19. สัจนิยม : [สัดจะ] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์ วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).
  20. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  21. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  22. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  23. สัมมาอาชีวะ : น. การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ. (ป.).
  24. สาดน้ำรดกัน : (สํา) ก. กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน, ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่กันและกัน.
  25. หกล้ม : ก. ล้มลง, ทรุดตัวลงเพราะเสียการทรงตัว.
  26. หงิก : ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการ ที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.
  27. หงุดหงิด : ว. มีอารมณ์เสียอยู่เสมอ ๆ เช่น เขาเป็นคนหงุดหงิดง่าย, มีอารมณ์เสียเพราะ ไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นไปตามกำหนดเป็นต้น.
  28. หนอ : [หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอ น่าอนาถจริงหนอ.
  29. หนอง ๒ : [หฺนอง] น. นํ้าเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี, น้ำหนอง ก็ว่า.
  30. หนักหน่วง : ว. จริงจัง, มาก, ยิ่ง, เช่น เขาพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อ ส่งเสียให้ลูกเรียน.
  31. หน้าท้อง : น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.
  32. หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
  33. หน้ายุ่ง : ว. มีสีหน้าว่ามีความยุ่งยากลำบากใจเพราะมีงานมากเสียจนไม่รู้ จะทำอะไรก่อนอะไรหลังเป็นต้น.
  34. หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
  35. หนำใจ : ว. สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น กินให้หนำใจ เที่ยวเสียหนำใจ.
  36. หนี : ก. ไปเสียให้พ้น, หลีกไปให้พ้น, เช่น หนีภัย หนีทุกข์; หลีกเลี่ยง เช่น หนีภาษี หนีโรงเรียน.
  37. หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก : (ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่น เขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.
  38. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  39. หมดอาลัย : ก. ไม่มีใจผูกพัน; ไม่มีความหวังเช่น หมดอาลัยในชีวิต.
  40. หมอบ : [หฺมอบ] ก. กิริยาที่คู้เข่าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น, ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; (ปาก) สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง, ลุกไม่ขึ้น, เช่น ถูกตีเสียหมอบ เป็นไข้เสียหมอบ.
  41. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  42. หมาจนตรอก : (สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ใน สำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.
  43. หมายจำคุก : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้จําคุกผู้ต้องคําพิพากษาให้ จําคุกหรือประหารชีวิต.
  44. หมิ่นประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อ ความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่า จะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.
  45. หมิ่นเหม่ : ว. อาการที่เข้าไปหรืออยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ใกล้อันตราย หรือเสียหายเป็นต้น, ล่อแหลม.
  46. หยก ๆ : ว. เพิ่งทํามาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลย มาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.
  47. หย็อง ๑ : ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการ หวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทําท่าหย็อง.
  48. หรู, หรูหรา : ว. สวยงามด้วยการรู้จักประดับตกแต่งเกินกว่าปรกติธรรมดา เช่น แต่งตัว สวยหรู จัดห้องเสียหรูหรา.
  49. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  50. หลัก ๑ : น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลัก กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-771

(0.1163 sec)