Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียชีวิต, ชีวิต, เสีย , then ชวต, ชีพิต, ชีวิต, สย, เสีย, เสียชีวิต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียชีวิต, 771 found, display 701-750
  1. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  2. หลุดมือ : ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือ ไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลา ไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  3. หลุมอากาศ : น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดย กะทันหัน.
  4. หวันยิหวา : น. ชีวิต, ดวงวิญญาณ. (ช.).
  5. หักใจ : ก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือ สูญเสียเป็นต้น.
  6. หักลำ : (สํา) ว. ทําให้เสียท่าหรือเสียเหลี่ยม.
  7. หักเหลี่ยม : ก. ทำให้ผู้อื่นเสียเชิง.
  8. หับ : ก. ปิด, งับ, เช่น เข้าห้องแล้วหับประตูเสีย.
  9. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  10. หัวเรือใหญ่ : น. ผู้ออกรับแทนผู้อื่นเสียเอง, ผู้จัดการทุกอย่างให้ผู้อื่นด้วย ตนเอง, ผู้ที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการทำเรื่องต่าง ๆ เสียเอง.
  11. หัวเลี้ยวหัวต่อ : น. ภาวะหรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระยะต่อกันถือว่าเป็นตอน สําคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพหรือความคิดเป็นต้น เช่น วัยรุ่นเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่.
  12. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  13. หากิน : ก. ทํางานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบ อาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่น ให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่า หญิงหากิน.
  14. หางกระรอก : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียว เสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.
  15. หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
  16. หาไม่ ๑ : ก. ใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า ไม่, ไม่มี, เช่น เขาจะสำนึกผิด ก็หาไม่ เขาจะมีความเกรงใจสักนิดก็หาไม่; สิ้นสุด เช่น จนกว่าชีวิตจะหาไม่.
  17. หายกัน : ก. ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน.
  18. หายใจ : ก. กิริยาที่ทําให้อากาศเข้าสู่และออกจากปอด, ยังมีชีวิตอยู่ เช่น คนเจ็บ ยังมีชีวิตอยู่; โดยปริยายหมายความว่า หมกมุ่นไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หายใจเป็นเงิน.
  19. หายนะ ๑ : [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).
  20. หายหกตกหล่น : (สำ) ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่ กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน.
  21. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  22. หายห่วง : ก. ไม่ต้องเป็นห่วงอีกแล้ว, ไม่ต้องกังวลถึงอีกแล้ว, เช่น คนนี้ มีความสามารถเชื่อถือได้ เมื่อมอบงานให้แล้ว หายห่วงได้เลย; (ปาก) นานมากเช่น ใช้ให้ไปซื้อของตั้งแต่เช้า ไปเสียหายห่วงเลย, มาก เช่น เขาวิ่งทิ้งคู่แข่งหายห่วงเลย.
  23. หุงข้าวประชดหมา : (สํา) ก. ทําประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์, มักพูดเข้าคู่กับ ปิ้งปลาประชดแมว ว่า หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว.
  24. หุ่นพยนต์ : [-พะยน] น. รูปที่ผู้ทรงวิทยาคมเอาวัตถุมาผูกขึ้นแล้วเสกเป่า ให้เป็นเหมือนรูปที่มีชีวิต.
  25. หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.
  26. หูรูด : น. รูที่ร้อยเชือกสําหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวาร หนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด.
  27. เหยียบ : [เหฺยียบ] ก. วางเท้ากดลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ปกปิด เช่น พูดแล้วเหยียบเสีย. ว. เกือบ เช่น เหยียบร้อย.
  28. เหยียบย่ำ : ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำ คนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
  29. เหลวแหลก : [-แหฺลก] ว. ป่นปี้, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน; เละเทะ; เป็นที่น่ารังเกียจ เช่น มีความประพฤติเหลวแหลก ชีวิตเหลวแหลก.
  30. เหลิง : [เหฺลิง] ก. ลืมตัว เช่น พ่อแม่ตามใจเสียจนเหลิง มีคนชมมาก ๆ เลยชักเหลิง.
  31. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  32. แหกตา : ก. ใช้มือถ่างเปลือกตาออก, โดยปริยายหมายความว่า ลืมตา (ใช้ในเชิงประชด) เช่น แหกตาดูเสียบ้างซิ, หลอก เช่น ถูกแม่ค้าแหกตา.
  33. แหยง : [แหฺยง] ก. ขยาด, ย่อท้อ, ไม่คิดสู้, เช่น พอเห็นหน้าก็แหยงเสียแล้ว. ว. อาการที่รู้สึกขยาด ย่อท้อหรือไม่คิดสู้, แหยง ๆ ก็ว่า, เช่น รู้สึกแหยง ๆ.
  34. ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
  35. ให้ร้าย, ให้ร้ายป้ายสี : ก. หาความร้ายป้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย, ป้ายสี ใส่ร้าย หรือ ใส่ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
  36. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  37. อปยศ, อัปยศ : [อะปะยด, อับปะยด] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า. (ส.).
  38. อภว : [อะภะวะ] น. ความไม่มี, ความเสื่อม, ความเสียหาย. (ป., ส.).
  39. อยู่ : [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากําลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
  40. อยู่กิน : ก. ดํารงชีวิตฉันผัวเมีย.
  41. อวิญญาณก : [อะวินยานะกะ, อะวินยานนะกะ] ว. ไม่มีวิญญาณ, ไม่มีชีวิต, ไม่มีจิตใจ. (ป.).
  42. อวิญญาณกทรัพย์ : (กฎ; โบ) น. สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่ง นับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน.
  43. ออกซิเดชัน : น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้สารได้รับธาตุออกซิเจนมารวมตัวด้วย หรือทําให้สารสูญเสียธาตุไฮโดรเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้ อะตอมของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนไป. (อ. oxidation).
  44. ออกรับ : ก. รับเอาเสียเองเมื่อเขาว่าผู้อื่น.
  45. ออเจ้า : (โบ) ส. คําใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อน ทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่า ออเจ้า. (ม. คําหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  46. อ่อนหู : (กลอน) ก. ยอมเชื่อฟัง เช่น แต่คิดแค้นแม่ยายกับพ่อตา จะทรมาเสียก่อนให้อ่อนหู. (สังข์ทอง).
  47. อัตชีวประวัติ : น. ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง.
  48. อัทธายุ : [อัดทา] น. ชั่วอายุ, ชั่วชีวิต.
  49. อัปยศ : [อับปะ] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอาย ขายหน้า; อปยศ ก็ว่า. (ส. อปยศสฺ).
  50. อัษฎางคิกมรรค : [อัดสะดางคิกะมัก] น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรค มีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-771

(0.1018 sec)