Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, สำนัก, แห่ง, ชาติ, ข่าว, กรอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, 773 found, display 351-400
  1. ธรรมสังคีติ : น. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ; ป. ธมฺมสงฺคีติ).
  2. ธรรมสาร : น. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
  3. ธรรมาทิตย์ : [ทํามา] น. อาทิตย์แห่งธรรม คือพระพุทธเจ้า. (ส.).
  4. ธรรมานุสาร : [ทํามา] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
  5. ธรรมายตนะ : [ทํามายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
  6. ธัญเบญจก : [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร. (ป. ปญฺจก).
  7. ธุวภาค : น. เส้นแวงอันไม่เปลี่ยนที่แห่งดาวซึ่งประจําที่อยู่.
  8. ธุวยัษฎี : น. เพลา (หรือเส้น) แห่งขั้วโลกทั้ง ๒. (ส. ธฺรุวยษฺฏี).
  9. นภวิถี : [ [นะพะ] น. ทางฟ้า คือ วิถีโคจรแห่งตะวัน. (ส. นโภวิถี).
  10. นฤตยศาสตร์ : น. วิทยาหรือศิลปะแห่งการระบํา. (ส.).
  11. นวกภูมิ : [นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึง ภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
  12. นวทวาร : น. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
  13. น้อย ๒ : (ถิ่น–พายัพ) น. คําเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้ บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).
  14. นักษัตรโยค : น. การประจวบแห่ง (พระจันทร์กับ) ดาว. (ส.).
  15. นัย : [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย). นัยว่า [ไน] ว. มีเค้าว่า.
  16. นา ๒ : (แบบ) คําบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคําบทร้อยกรองให้มีความกระชับ หรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.
  17. นาฏศิลป์ : [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา. (ส.).
  18. นาศ : (แบบ) น. ความเสื่อม, การทําลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).
  19. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  20. น้ำประปา : น. น้ำที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค แล้วจ่าย ไปให้ประชาชนบริโภคใช้สอย.
  21. นิคาหก, นิคาหก : [หก, หะกะ] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อ นิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
  22. นิติธรรม : น. หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย.
  23. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  24. นิพนธ์ : น. เรื่องที่แต่งขึ้น, (ราชา) พระนิพนธ์, พระราชนิพนธ์. ก. ร้อยกรอง ถ้อยคํา, แต่งหนังสือ, (ราชา) ทรงนิพนธ์, ทรงพระนิพนธ์, ทรงพระราช นิพนธ์. (ป., ส. นิพนฺธ).
  25. นิพพาน : [นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและ กองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).
  26. นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
  27. นิสิต : น. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).
  28. นุ ๑ : (กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  29. เนตรนารี : น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิง ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  30. เนบิวลา : น. บริเวณที่มีลักษณะเป็นฝ้าเรืองแสง ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส กลุ่มดาวฤกษ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. (อ. nebula).
  31. เนืองนิตย์ : ว. เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์.
  32. บงสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติ ใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น).
  33. บทกลอน : น. คําประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง.
  34. บทกวีนิพนธ์ : น. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง. บทกำหนดโทษ
  35. บทเจรจา : น. คําที่ตัวละครพูดเป็นร้อยกรองหรือถ้อยคําธรรมดา.
  36. บทดอกสร้อย : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
  37. บทประพันธ์ : น. เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง.
  38. บทอัศจรรย์ : น. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดย ใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.
  39. บรัด : [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  40. บริพนธ์ : [บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  41. บริพันธ์ : [บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
  42. บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  43. บอกยี่ห้อ : (ปาก) ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคําพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัย ใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น.
  44. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  45. บังสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
  46. บัตรธนาคาร : (กฎ) น. บัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกใช้เป็น เงินตรา.
  47. บันลือ : ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.
  48. บาแดง : (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, ประแดง ก็ใช้.
  49. บาต : ก. ตก, ตกไป, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น อสนีบาต = การตก แห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า, อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสง สว่างที่ตกลงมาจากอากาศ. (ป. ปาต).
  50. บาท ๓ : น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่ง มี ๔ บาท.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-773

(0.0703 sec)