Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, สำนัก, แห่ง, ชาติ, ข่าว, กรอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, 773 found, display 401-450
  1. บ้านเมือง : น. ประเทศชาติ.
  2. บิดา : น. พ่อ (ใช้ในที่สุภาพ), โดยปริยายหมายความว่า ผู้ให้กําเนิด เช่น บิดาแห่งประวัติศาสตร์, บิดร ก็ว่า. (ป. ปิตา; ส. ปิตฺฤ).
  3. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  4. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  5. บุญญานุภาพ : น. อํานาจแห่งบุญ. (ป. ปุญฺ?านุภาว).
  6. บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  7. บุบบิบ : ว. อาการที่ของบางอย่างเช่นไข่จะละเม็ดหรือของที่ทําด้วย อะลูมิเนียม บุบเข้าไปหลายแห่ง. บุบสลาย ว. ชํารุดแตกหัก.
  8. บุพชาติ : น. ชาติก่อน. (ป. ปุพฺพชาติ).
  9. บุพพัณหสมัย : [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
  10. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : [บุบเพ-] น. ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึง ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, การระลึกชาติได้. (ป. ปุพฺเพนิวาสา นุสฺสติ?าณ).
  11. บุพเพสันนิวาส : [บุบเพ-] น. การเคยเป็นเนื้อคู่กัน, การเคยอยู่ร่วม กันในชาติก่อน. (ป. ปุพฺเพสนฺนิวาส).
  12. บูรณภาพ : น. ความครบถ้วนบริบูรณ์ เช่น บูรณภาพแห่งดินแดน บูรณภาพแห่งอาณาเขต.
  13. เบญจคัพย์ : น. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตาม ราชประเพณีของไทยใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้า อภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์ ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรดพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระ ชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า เบญจครรภ.
  14. เบญจพรรณ : ว. ๕ สี, ๕ ชนิด; หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ใน ที่แห่งเดียวกันว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณ คละกันว่า ป่าเบญจพรรณ.
  15. เบญจม- : [เบนจะมะ-] ว. ครบ ๕, ที่ ๕. (ป. ปญฺจม). เบญจมสุรทิน น. วันที่ ๕ แห่งเดือนสุริยคติ.
  16. เบาะแส : น. ลู่ทาง, ร่องรอย, ลาดเลา, เค้าเงื่อน, ตําแหน่งแห่งที่ซึ่ง ทราบมาอย่างเลา ๆ พอเป็นรูปเค้า.
  17. เบียกบ้าย : ก. เฉลี่ยมาแห่งละเล็กละน้อย, เบียดแว้ง ก็ใช้.
  18. เบียดแว้ง : ก. เฉลี่ยมาแห่งละเล็กละน้อย, เบียกบ้าย ก็ใช้.
  19. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  20. โบราณวัตถุ : [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่ เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะ เป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่ง โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
  21. โบราณสถาน : [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.
  22. ปฏิภาคนิมิต : น. ''อารมณ์เทียบเคียง'' คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตา หลับตาเห็นแล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูป สมสัณฐาน เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).
  23. ปฐมสุรทิน : [ปะถมมะสุระทิน] น. วันที่ ๑ แห่งเดือนทางสุริยคติ.
  24. ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ : [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
  25. ประชาบดี : น. เจ้าแห่งสรรพสัตว์. (ส. ปฺรชาปติ).
  26. ประดัก ๆ : ว. อาการแห่งคนที่ตกนํ้าแล้วสําลักนํ้า เรียกว่า สําลักประดัก ๆ, อาการที่ชักหงับ ๆ ใกล้จะตาย.
  27. ประแดง : (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, บาแดง ก็ใช้.
  28. ประตูระบาย : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลอง ให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้า เพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้า สู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
  29. ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  30. ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
  31. ประพนธ์ : น. คําร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  32. ประพันธ์ : ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคําเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  33. ประมวลกฎหมาย : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวม กฎหมายในลักษณะเดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร.
  34. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  35. ประวัติศาสตร์ : [ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วย เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่ บันทึกไว้เป็นหลักฐาน.
  36. ปรัชญา : [ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).
  37. ปริทัศน์ : [ปะริทัด] น. การวิจารณ์; หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าว หรือเรื่องราวต่าง ๆ. (ส. ปริ + ทรฺศน).
  38. ปริพนธ์ : [ปะริ-] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  39. ปลงอายุสังขาร : ก. บอกกําหนดวันสิ้นสุดแห่งอายุ (ใช้แก่พระพุทธเจ้า).
  40. ปล้นบ้านปล้นเมือง : (สำ) ก. โกงกินทรัพย์สมบัติของชาติ.
  41. ปัดเกล้า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งหมอช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ
  42. ปัตตานีกะ, ปัตตานึก : น. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่ง กระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก หรือ ปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
  43. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  44. ปาน ๒ : น. รอยสีแดงหรือสีดําเป็นต้นที่เกิดเป็นเองตามร่างกาย บางแห่งแต่กําเนิด.
  45. ปาลิไลยก์ : น. ชื่อป่าแห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จอาศัยอยู่ และเป็นชื่อช้างซึ่ง อยู่ในที่นั้นด้วย; พระพุทธรูปปางหนึ่ง มีรูปช้างและลิงอยู่ด้วย เรียกว่า ปางพระปาลิไลยก์. (ป.).
  46. ปิฎก : น. ตะกร้า; หมวดแห่งคําสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก ที่ ไตร).
  47. ปุปะ : ก. ปะหลายแห่ง.
  48. เปรตวิษัย, เปรตวิสัย : [เปฺรดตะ-] น. ภูมิหรือกําเนิดแห่งเปรต, เปตวิสัย ก็ใช้. (ส. ไปตฺรฺย + วิษย; ป. เปตฺติวิสย).
  49. เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
  50. แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-773

(0.0192 sec)