Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, สำนัก, แห่ง, ชาติ, ข่าว, กรอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, 773 found, display 701-750
  1. หัตถานึก : น. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพ โบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
  2. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  3. หัวใจ : น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.
  4. หัวระแหง : น. พื้นดินที่แตกระแหง; โดยปริยายหมายความว่า แห่งหน ในความว่า ทั่วทุกหัวระแหง.
  5. หัวล้าน ๑ : ว. มีหัวไร้ผมบางแห่งหรือทั้งหมด.
  6. หัวเห็ด : น. เรียกตะปูชนิดหนึ่งที่หัวบานเหมือนดอกเห็ดสำหรับตอกสังกะสี เป็นต้น ว่า ตะปูหัวเห็ด.ว. ทรหดอดทน เช่น นักข่าวหัวเห็ด นักสืบหัวเห็ด; (โบ) ดื้อรั้นไม่ยอมเปลี่ยนความคิดง่าย ๆ, หัวเห็ดย้ำ ก็ว่า เช่น มหาชนโดย มากเขาทำกันอย่างไร เราก็ต้องทำอย่างนั้น ที่จะไปหัวเห็ดย้ำให้ผิดกาลเทศะ อย่างจีน ๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย. (ลักวิทยา).
  7. หัวแหลม : [-แหฺลม] น. ปลายแห่งแผ่นดินที่ยื่นออกไปในนํ้า. ว. ฉลาด หลักแหลม.
  8. หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
  9. หาทำยายาก : (สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพร บางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.
  10. ห้ามล้อ : ก. ยั้ง. น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งใช้สําหรับลดความเร็วแห่งการหมุน ของล้อรถ.
  11. หิมพานต์ : [หิมมะ-] น. ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ชื่อกัณฑ์ที่ ๒ แห่งเวสสันดรชาดก.
  12. หิมวัต : [หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของ เทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้ หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
  13. หิรัญ, หิรัญ- : [หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).
  14. หือรือโหด : (กลอน) ก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติ ทาสเมถุน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  15. หุ้นกู้ : (กฎ) น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่า เท่ากัน และกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้ล่วงหน้าในอัตราเท่ากัน ทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวม ถึงตั๋วเงิน. (อ. debenture).
  16. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  17. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  18. เหยียดผิว : ก. ดูถูกคนชาติอื่นที่มีสีผิวต่างกับเชื้อชาติตน (มักใช้แก่พวกผิวขาวเหยียดพวกผิวดํา).
  19. ใหญ่ : ว. โต เช่น พี่คนใหญ่, คนโต เช่น เขยใหญ่, มีขนาดโตกว่าหรือสำคัญกว่า เป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข่าวใหญ่ สงครามใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก เช่น บ้านหลังใหญ่; รุนแรงมาก, อุตลุด, เช่น ทะเลาะกันใหญ่ ชกกันใหญ่.
  20. ไหมหน้า : (กลอน) ก. หมายหน้า, ตราหน้า, เช่น ไหมหน้าว่าเบียนเมือง ข้าคิดเปลื้อง ทานทำแห่งหอคำข้าดอก. (ม. ร่ายยาว).
  21. อกุศลกรรมบถ : [อะกุสนละกํามะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทาง บาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).
  22. อกุศลมูล : [อะกุสนละมูน] น. รากเหง้าแห่งความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ.
  23. องควิการ : [องคะวิกาน] น. ความชํารุดแห่งอวัยวะต่าง ๆ มีตาบอด แขนหัก เป็นต้น. (ป.).
  24. องคาพยพ : [องคาบพะยบ, องคาพะยบ] น. ส่วนน้อยและใหญ่ แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่. (ป. องฺค+ อวยว).
  25. อจินไตย : [จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
  26. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  27. อภิญญา, อภิญญาณ : [อะพินยา, อะพินยาน] น. ''ความรู้ยิ่ง'' ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกําหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺ?า, อภิชฺ?าน).
  28. อภินิหาร : น. อํานาจแห่งบารมี, อํานาจบุญที่สร้างสมไว้, อํานาจเหนือปรกติ ธรรมดา. (ป. อภินีหาร; ส. อภิ + นิสฺ + หาร).
  29. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  30. อร ๓ : ก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  31. อรรถกวี : [อัดถะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรอง ตามความเป็นจริง.
  32. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  33. อรรถรส : [อัดถะรด] น. รสแห่งถ้อยคํา, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดความ ซาบซึ้ง, ถ้อยคําที่ทําให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ.
  34. อริยมรรค : น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทาง ดําเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).
  35. อริยสัจ : น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อ ธรรมสําคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).
  36. อริย, อริยะ : [อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
  37. อรุโณทัย : น. เวลาตั้งขึ้นแห่งอรุณ, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลา เช้าตรู่, ใช้ว่า อโณทัย ก็มี. (ป.).
  38. ออกพรรษา : น. เรียกวันที่สิ้นสุดการจําพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
  39. ออกภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.
  40. ออกรส : ว. มีรสมีชาติ, โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่ชอบอก ชอบใจ, สนุกสนาน.
  41. ออกสิบสองภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้า เป็นชุดมี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
  42. อัคนิ, อัคนี : [อักนิ, อักคะนิ, อักนี, อักคะนี] น. ไฟ; ชื่อเทพแห่งไฟ. (ส. อคฺนิ; ป. อคฺคิ).
  43. อัครราชทูต : (โบ) น. ผู้แทนรัฐบาลไปราชการชั่วคราวหรือประจํา อยู่ในสํานักแห่งรัฐบาลอื่น.
  44. อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
  45. อัญมณี : น. รัตนชาติที่เจียระไนแล้ว, แก้วมณีอื่น ๆ นอกจาก เพชรพลอย; (กฎ; โบ) ของมีค่าอื่น ๆ เช่น มันผู้หนึ่งล้อมไว้เป็น ไร่เป็นสวนมัน มันได้ปลูกสรรพอัญมณีในที่นั้นไว้ ให้ลดอากร ไว้แก่มันปีหนึ่ง. (สามดวง).
  46. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  47. อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
  48. อัสสุธารา : น. ท่อนํ้าตา; การไหลแห่งนํ้าตา; ใช้หมายความว่า นํ้าตา ก็ได้. (ป.).
  49. อาทิตยมณฑล : น. ดวงอาทิตย์, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงอาทิตย์.
  50. อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-773

(0.0436 sec)