Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์ประกอบ, ประกอบ, องค์ , then ประกอบ, องค, องค์, องค์ประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์ประกอบ, 792 found, display 201-250
  1. เขมร ๒ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เขมร เช่น เขมรไทรโยค เขมรโพธิสัตว์ เขมรลออองค์.
  2. เข้าปากไม้ : ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบ เข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น.
  3. เข้าไป : ว. ใช้ประกอบกิริยาแสดงการหนุนให้ทํา เช่น เตะเข้าไป กินเข้าไป.
  4. เข้ามุม : ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็น เดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท.
  5. เข้าไม้ : ก. นําไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือตอกอัด ด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี.
  6. เขี้ยวหนุมาน : น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยม หัวท้ายแต่ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอด แหลมดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาว ขุ่น ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา.
  7. โขม- : [โขมะ-] (แบบ) น. โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้ เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม).
  8. ไข่ ๑ : น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้ม ซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาววุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; (ปาก) ลูกอัณฑะ. ก. ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง.
  9. ไข่เน่า ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดํา กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทํายาได้.
  10. คงคาเดือด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็กสีม่วงดํา หอมมาก ผล มีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทํายาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก.
  11. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  12. คณะองคมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรง แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและ องคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็น ต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรง ปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.
  13. คเณศ : [คะเนด] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ เชื่อกันว่าถ้าบูชาแล้วจะป้องกันความขัดข้องที่อาจเกิดมีขึ้นได้, วิฆเนศ พิฆเนศ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส.).
  14. คนทีเขมา : [คนทีขะเหฺมา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex negundo L. ในวงศ์ Labiatae คล้ายต้นคนทีสอ แต่ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๕ ใบ และมีขนาดใหญ่กว่า ดอกสีขาว ปลูกไว้ตามบ้าน ใช้ทํายาได้, ปัตตานี เรียก กุโนกามอ.
  15. คนทีสอ : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทํายาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย.
  16. คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
  17. ครอบครัว : [คฺรอบคฺรัว] น. สถาบันพื้นฐานของสังคมที่ประกอบด้วยสามีภรรยา และหมายความรวมถึงลูกด้วย.
  18. คร้าน : [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทําหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคํา ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่ กับคํา เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทํางาน.
  19. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  20. ครุย : [คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวม หรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
  21. ครุศาสตร์ : [คะรุสาด] น. วิชาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของ การเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น.
  22. คลอรีน : [คฺลอ-] น. ธาตุลําดับที่ ๑๗ สัญลักษณ์ Cl เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส สีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นฉุนชวนสําลัก เป็นแก๊สพิษ ใช้ประโยชน์ในการ ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าในอุตสาหกรรมผลิตกรดเกลือในการผลิตผงฟอกจาง ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบสําคัญ. (อ. chlorine).
  23. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  24. คอนกรีต : น. วัสดุก่อสร้าง ประกอบด้วยซีเมนต์ ทราย หิน และนํ้า ผสมเคล้า เข้าด้วยกัน เมื่อแห้งแข็งตัวแล้วจะเป็นวัสดุที่แข็งมาก. (อ. concrete).
  25. ค่อย ๒, ค่อย ๆ ๑ : ว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.
  26. คอยล์ : น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อก่อ ให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. (อ. ignition coil).
  27. คอระฆัง : น. ส่วนพระเจดีย์ตรงคอด ต่อองค์พระเจดีย์ (ที่เรียกระฆัง) กับบัลลังก์.
  28. คอเสื้อ : น. ส่วนของเสื้อที่ชิดคอหรือที่คว้านให้เป็นวงเพื่อสวมหัวได้, ส่วนประกอบของคอเสื้อ มีแบบต่าง ๆ เช่น คอตั้ง คอแบะ.
  29. คันชัก : น. ส่วนประกอบของคันไถสําหรับเทียมวัวหรือควาย, ที่สําหรับ โยงเชือกชัก; ไม้สีซอ.
  30. คันโดง : น. กระโดง, ใช้หมายถึง เสากระโดง เช่น กุมกรวรนุชพงาภาองค์ยุพา มาขึ้นคันโดงคอยดู. (สุธน).
  31. คันไถ : น. เครื่องมือทำไร่ทำนาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันชัก หางยาม ผาล หัวหมู ใช้ควายหรือวัวเป็นต้น ลากไปเพื่อกลับดิน, ไถ ก็ว่า.
  32. คันหามเสือ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในวงศ์ Araliaceae คือ ชนิด Trevesia valida Craib ขึ้นตามหินใกล้ลําธารในป่า ลําต้นมีหนามห่าง ๆ และ ชนิด Aralia montana Blume ลําต้นและใบมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ ยาวประมาณ ๑ เมตร.
  33. คาทอลิก : น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็น พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวช เรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).
  34. คาร์บอเนต : น. เกลือปรกติของกรดคาร์บอนิก เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของหินปูน หินอ่อน กระดูก เป็นต้น. (อ. carbonate).
  35. คาร์บูเรเตอร์ : น. อุปกรณ์ประกอบในเครื่องยนต์ชนิดใช้นํ้ามันเผาไหม้ภายใน ใช้ประโยชน์เพื่อผสมอากาศเข้ากับไอนํ้ามันก่อนที่จะถูกเผาไหม้. (อ. carburetor).
  36. คาร์โบไฮเดรต : [-เดฺรด] น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาล และ พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สําคัญ มากประเภทหนึ่ง. (อ. carbohydrate).
  37. คำประสาน : น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้ อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
  38. คิด : ก. ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.
  39. คิ้ว : น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอก เป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทําเป็นลวดใน ใบพายว่า พายคิ้ว.
  40. คุต : [คุด] (แบบ) ก. รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์อื่น เช่น ธรรมคุต. (ป. คุตฺต; ส. คุปฺต).
  41. คู่สายโทรศัพท์ : น. สายที่ใช้ประกอบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ๒ เส้น ต่อจากห้องเครื่องชุมสายโทรศัพท์ไปยังบ้านผู้ใช้โทรศัพท์, คู่สาย ก็ว่า.
  42. เคเบิล : น. เส้นลวดโลหะขนาดใหญ่ แข็งและเหนียว ใช้ผูกยึดของขนาดใหญ่ เช่นเรือ สะพานแขวน; ตัวนําไฟฟ้าหลายเส้นที่นํามาประกอบกันเป็น สายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์ สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. (อ. cable).
  43. เคมี : น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติ ของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อ สารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สาร นั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์. (อ. chemistry).
  44. เคย ๒ : เคยทํา = ได้ทํามาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยา ที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที.
  45. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  46. เครื่องกล : น. เครื่องมือที่ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่ เคลื่อนที่ได้ สามารถปรับเปลี่ยนและส่งถ่ายพลังงานกลไปยังจุดอื่น ในรูปที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น รอก คาน ลิ่ม. (อ. machine).
  47. เครื่องเคียง : (ราชา) น. ของเคียง, ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกิน ประกอบกับอาหารบางชนิด.
  48. เครื่องจักร : น. กลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่อง เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. machinery).
  49. เครื่องช่วงล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องล่าง ก็ว่า.
  50. เครื่องล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องช่วงล่าง ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-792

(0.0915 sec)