Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์ประกอบ, ประกอบ, องค์ , then ประกอบ, องค, องค์, องค์ประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์ประกอบ, 792 found, display 301-350
  1. ดำ ๓ : ว. สีอย่างสีมินหม้อ, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะ สี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ผ้าดํา เต่าดํา มดดํา.
  2. ดินขาว : น. ดินเหนียวบริสุทธิ์ที่มีไฮเดรเตดอะลูมิเนียมซิลิเกตเป็น องค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาว ใช้ทําเครื่องเคลือบดินเผา.
  3. ดินร่วน : น. ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายกับขุยอินทรีย์ประกอบกัน มีสภาพซุย.
  4. ดุษฎีมาลา : น. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็น คุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษ ประจําเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกําหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับ เหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็ม ศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญ ดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.
  5. ดู : ก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทํานาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.
  6. เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
  7. เดินธุระให้ : ก. ไปประกอบการงานแทน.
  8. เดินรถ : ก. ประกอบกิจการขนส่งทางรถ.
  9. เดินเรือ : ก. ประกอบกิจการขนส่งทางเรือ.
  10. เดินอากาศ : ก. ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศ.
  11. แดง ๑ : ว. สีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลม ตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง. ก. ลักษณะที่ ความลับซึ่งปกปิดไว้ได้ปรากฏออกมา เช่น เรื่องนี้แดงออกมาแล้ว. (ปาก) น. สตางค์ เช่น ไม่มีสักแดงเดียว. (ตัดมาจาก สตางค์แดง).
  12. ได้ : ก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้าย คํากริยามีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สําเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คําช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.
  13. ไดแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11. (อ. disaccharide).
  14. ไดนาไมต์ : น. ดินระเบิดอย่างร้ายแรงประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยดินฟูชนิดหนึ่งซึ่ง เรียกว่าดินเบา ชุบสารไนโทรกลีเซอรีนซึ่งเป็นวัตถุระเบิดแล้วอัดให้เป็น ชิ้นเล็ก ๆ. (อ. dynamite).
  15. ตริ ๒ : [ตฺริ] ใช้ประกอบหน้าศัพท์ แปลว่า สาม เช่น ตริโกณ คือ รูปสามเหลี่ยม. (ดู ตรี๓).
  16. ตรีทศ : น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
  17. ตรีผลา : [-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตํารายาไทย หมายเอา สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).
  18. ตรีเอกภาพ, ตรีเอกานุภาพ : น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
  19. ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
  20. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  21. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  22. ตองตอย : ว. ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), กรองกรอย ก็ว่า; (โบ) แคระ, ไม่สมประกอบ, ไม่สมบูรณ์, (ใช้แก่ต้นไม้ที่ไม่เจริญสมอายุ).
  23. ต่อไส้ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Allophylus cobbe (L.) Raeusch ในวงศ์ Sapindaceae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใช้ทํายาได้.
  24. ตะบัน ๑ : น. เครื่องตําหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทําด้วยทองเหลือง มีลูกตะบัน สําหรับตําและมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกด ลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คําประกอบกริยาหมายความ ว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน. (รูป ภาพ ตะบัน)
  25. ตะลุง ๑ : น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
  26. ตะโล้ดโป๊ด : น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๗๘ เซนติเมตร ใช้ตีประกอบการฟ้อนและการเล่นพื้นเมือง ทางภาคเหนือ, คู่กับ กลองแอว.
  27. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  28. ถั่วแปบช้าง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia sericea Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย หลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน.
  29. ถ่านโค้ก : น. กากที่เหลือหลังจากนําถ่านหินไปกลั่นทําลายแล้ว ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐–๙๐ ใช้ประโยชน์ ในการถลุงแร่ เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
  30. เถยจิต : น. จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).
  31. เถอะ : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ ชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.
  32. เถอะน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
  33. เถาคัน : น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในวงศ์ Vitaceae ขอบใบหยัก มีมือเกาะออกตรงข้าม ใบ ชนิด Cayratia trifolia (L.) Domin ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ พันธุ์ใบแดงเรียก เถาคันแดง, อีกชนิดหนึ่งคือ Cissus repens Lam. ใบเดี่ยว.
  34. เถิด : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ ชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.
  35. เถิดน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถิดน่า, เถอะน่า ก็ว่า.
  36. ไถ ๑ : น. เครื่องมือทําไร่ทํานาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันชัก หางยาม ผาล หัวหมู ใช้ควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน, คันไถ ก็ว่า. ก. เอาไถเทียมควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน; เคลื่อนไปไถลไป เช่น นั่งไม้ลื่นไถลงมา; (ปาก) ขอร้องแกมบังคับ, รีดไถ.
  37. ทท : [ทด, ทะทะ] น. ผู้ให้, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น กามทท = ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา. (ป., ส.).
  38. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  39. ทรงลังกา : ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกลม มีฐานล่างเป็นฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของ รัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉน.
  40. ทรานซิสเตอร์ : [ทฺราน-] น. อุปกรณ์ขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยผลึกของสาร กึ่งตัวนํา มีขั้วไฟฟ้า ๓ ขั้วสําหรับต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าภายนอก ใช้สําหรับควบคุมและขยายกระแสไฟฟ้า คือกระแสไฟฟ้าที่ เคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าคู่หนึ่งควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ถูกขยาย ซึ่งเคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าอีกคู่หนึ่ง โดยขั้วไฟฟ้า ๒ คู่นี้มี ขั้วหนึ่งเป็นขั้วร่วมกัน, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. transistor).
  41. ทอง ๑ : น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคํา; เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลือง หรือแดงส้ม.
  42. ทองขาว : (โบ) น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้ อาจหมายถึงโลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้; ส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งของจานจ่ายไฟในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่เป็น ทางเดินของกระแสไฟฟ้าแรงตํ่า และทําให้กระแสไฟฟ้าแรงตํ่า ขาดวงจรเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่คอยล์ (coil) เป็นผลให้ มีประกายไฟฟ้าขึ้นที่ปลายเขี้ยวของหัวเทียนในจังหวะที่ถูกต้อง.
  43. ทองจังโก : (ถิ่น-พายัพ) น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้ หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.
  44. ทองบรอนซ์ : น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ สัมฤทธิ์ ก็เรียก. (อ. bronze).
  45. ทองสักโก : น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์ พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, พายัพเรียก ทองจังโก.
  46. ทองสัมฤทธิ์ : น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ทองแดงกับดีบุก, สัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก.
  47. ทองเหลือง : น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงและ สังกะสี ลักษณะเป็นโลหะสีเหลือง.
  48. ท้องอัสดงคต : น. รูปบัวประกอบฐานผนังโบสถ์ หัวท้ายงอนขึ้น. (รูปภาพ ท้องอัสดงคต)
  49. ทอดหุ่ย : (ปาก) ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่อง ตามราว, อาการที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำนอน ว่า นอนทอดหุ่ย.
  50. ทัพ- ๒, ทัพพะ : [ทับพะ-] น. เครื่องใช้ต่าง ๆ, สมบัติ, เงิน, มักใช้ประกอบส่วนหน้า สมาส. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-792

(0.0896 sec)