Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์ประกอบ, ประกอบ, องค์ , then ประกอบ, องค, องค์, องค์ประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์ประกอบ, 792 found, display 451-500
  1. ปรุง : [ปฺรุง] ก. ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน.
  2. ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
  3. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  4. ปั้นจั่น : น. เครื่องยกของหนักประกอบด้วยเสาและรอกเป็นต้น, เครื่องจักร สําหรับยกของหนัก.
  5. ป้าย ๑ : น. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อ ห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบ การค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.
  6. ปำ : ก. พุ่งลง, ปักลง, มักใช้ประกอบกับ หัว เช่น หัวปํา.
  7. ปิย- : [ปิยะ-] ว. ที่รัก, สําหรับประกอบหน้าศัพท์ต่าง ๆ เช่น ปิยบุตร หรือ ปิโยรส = ลูกที่รัก. (ป.).
  8. ปีบ ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Millingtonia hortensis L.f. ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกยาว สีขาว กลิ่นหอม ดอกแห้งใช้ประสม ยาสูบ, พายัพเรียก กาซะลอง, อีสานเรียก กางของ.
  9. ปี่พาทย์เครื่องคู่ : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.
  10. ปี่พาทย์เครื่องห้า : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.
  11. ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และ ฆ้องโหม่งผสมด้วย, พิณพาทย์เครื่องใหญ่ ก็เรียก. ปี่อ้อ น. ปี่ที่ลำตัวหรือเลาทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว ๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็น ลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือ เงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.
  12. เปลี่ยนแผ่นดิน : ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดิน องค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, ผลัดแผ่นดิน ก็ว่า.
  13. เปลือกโลก : น. ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งหุ้มห่ออยู่ รอบนอกสุด ประกอบด้วย หิน ดิน และแร่ธาตุต่าง ๆ.
  14. เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
  15. แปรอักษร : ก. ทำให้มีตัวอักษรหรือภาพปรากฏขึ้น โดยใช้คน จำนวนมากที่อยู่บนอัฒจันทร์ ยกกระดาษ ผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ให้เห็นเป็นตัวหนังสือหรือภาพ (มักใช้ ประกอบในการเชียร์กีฬา การแสดงกลางแจ้งหรือกิจกรรม สำคัญ ๆ).
  16. โปฐปทมาส : [โปดถะปะทะมาด] น. เดือนอันประกอบด้วยวันเพ็ญรวมนักษัตร โปฐปทาคือ เดือนภัทรบท ได้แก่ เดือน ๑๐ หรือเดือนกันยายน. (ป. โปฏฺ?ปทมาส).
  17. โปรด : [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).
  18. โปรตีน : [โปฺร-] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุล ขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น สารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจําเป็นต้องใช้เพื่อ สร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย. (อ. protein).
  19. ไป : ก. เคลื่อนออกจากที่, ใช้ตรงกันข้ามกับ มา, เป็นคําประกอบท้าย กริยาหมายความว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทําไป กินไป, เป็นคํา ประกอบท้ายคําวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
  20. ผงฟู : น. สารผสมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปียกนํ้าหรือทําให้ร้อนจะให้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา มีองค์ประกอบที่สําคัญ คือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต มีสูตร NaHCO3 ปนแป้ง ผสม คลุกเคล้ากับสารอื่นซึ่งมักเป็นกรดทาร์ทาริก มีสูตร HOOC CHOHCHOHCOOH หรือโพแทสเซียมไฮโดรเจนทาร์เทรต มีสูตร KHC4H4O6 หรือแคลเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต มีสูตร Ca(H2PO4)2 หรือสารส้มใช้ประโยชน์ทําให้ขนมปังและขนม บางประเภทมีเนื้อฟูพรุน.
  21. ผลัดแผ่นดิน : ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดิน องค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, เปลี่ยนแผ่นดิน ก็ว่า.
  22. ผ่านไป. : ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้า ประกอบหน้านามบางคําหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.
  23. ผ้าแฝง : น. ผ้าคาดเอว ปักด้วยดิ้นเงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลาย ต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สมรด หรือ สํารด ก็เรียก.
  24. ผีพุ่งไต้ : น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบ ด้วยหินเป็นส่วนใหญ่อีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้า เนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถ้ามีขนาดเล็กก็จะไหม้หมดก่อนถึง ผิวโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะตกถึงผิวโลกและเรียกว่า อุกกาบาต, ดาวตก ก็เรียก.
  25. ผึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เชือกขาดดังผึง; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด เช่น ขาดผึง ดีดผึง; ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง.
  26. ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
  27. ผู้บริโภค : (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบ ธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่า ตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึง ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
  28. ผู้พิพากษาสมทบ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย จัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็น ข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษา สมทบในศาลแรงงาน.
  29. แผด ๑ : ก. เปล่งเสียงดังสนั่น (ตามปรกติใช้ประกอบกับคำ เสียง เป็น แผดเสียง); ฉายแสงกล้า (ใช้แก่แดด).
  30. ฝรั่ง ๑ : [ฝะหฺรั่ง] น. ชนชาติผิวขาว; คําประกอบชื่อสิ่งของบางอย่างที่มาจาก ต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายของไทย เช่น ขนมฝรั่ง ละมุดฝรั่ง มันฝรั่ง ตะขบฝรั่ง ผักบุ้งฝรั่ง แตรฝรั่ง.
  31. ฝาเสี้ยว : น. แผงฝาที่ประกอบขึ้นเพื่อใช้ปิดด้านสกัดของเรือนพะไล โดยเฉพาะ.
  32. ฝาไหล : น. แผ่นไม้กระดานวางตามแนวยืน แต่ละแผ่นเว้นช่องว่าง เท่าความกว้างของไม้แผ่นหนึ่งตลอดทั้งแผง ฝาชนิดนี้ประกอบด้วย แผงดังกล่าววางชิดและซ้อนขนานกันในรางซึ่งเลื่อนเปิดปิดได้.
  33. พรหมศร : น. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่ง ที่ประกอบกับโคนเสา เช่น เสาบุษบก มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร เรียกว่า กาบพรหมศร.
  34. พระเครื่อง : น. พระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครอง ป้องกันอันตราย (ย่อมาจากคํา พระเครื่องราง); เครื่องเสวย.
  35. พระประธาน : น. พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพระ อุโบสถหรือวิหารเป็นต้น.
  36. พลาสติก : น. สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัวเมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิด แข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียมใช้ทําสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์. (อ. plastic).
  37. พลาสมา : น. ส่วนประกอบของเลือดที่แยกเอาเม็ดเลือดออกแล้ว; (ฟิสิกส์) ภาวะหนึ่งของสสาร ณ ภาวะนี้สสารอยู่ในสภาพแก๊สที่ร้อนจัด อย่างยิ่งยวด และแตกตัวเป็นอนุภาคบวกกับอิเล็กตรอนซึ่งมี จํานวนเท่ากันโดยประมาณ สสารในภาวะนี้เป็นตัวนําไฟฟ้าที่ดียิ่ง. (อ. plasma).
  38. พวงมาลา : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ.
  39. พานพระขันหมาก, พระขันหมาก : (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรง คล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ จำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่อง ราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลูทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด ๑, พานพระศรี ก็ว่า.
  40. พิฆเนศ, พิฆเนศวร : [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพ แห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
  41. พิณพาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.
  42. พิณพาทย์เครื่องคู่ : น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.
  43. พิณพาทย์เครื่องห้า : น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องห้า ก็เรียก. พิณพาทย์เครื่องใหญ่ น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาด เอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้อง วงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้อง โหม่งผสมด้วย, ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็ว่า.
  44. พิธีมณฑล : น. บริเวณที่กําหนดขึ้นเพื่อประกอบพิธี เช่นกําหนด ขอบเขตขึ้นด้วยการกั้นแผงราชวัติ ฉัตร หรือธง.
  45. พึ่ง ๒ : ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.
  46. พุทธปฏิมา, พุทธปฏิมากร : น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์ พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, มักใช้ย่อเป็น ปฏิมา หรือ ปฏิมากร.
  47. พุทธาภิเษก : น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์ พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
  48. พุทธาวาส : น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกําแพงกันไว้ต่างหากจาก ส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้าง ขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
  49. พู่ : น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชู ก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.
  50. พู่กลิ่น : น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ. (ดู กลิ่น๒).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-792

(0.1030 sec)