Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์ประกอบ, ประกอบ, องค์ , then ประกอบ, องค, องค์, องค์ประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์ประกอบ, 792 found, display 501-550
  1. เพิง : น. สิ่งปลูกสร้างมีทั้งชนิดชั่วคราวขนาดเล็ก และชนิดถาวรประกอบ ด้วยหลังคาปีกเดียว, ถ้าเอียงลาด เรียกว่า เพิงหมาแหงน, ถ้ามีแขนนาง คํ้าตอนหน้า เรียกว่าเพิงแขนนาง, ถ้าปลายข้างหนึ่งพิงอยู่กับสิ่ง ก่อสร้างหลัก เรียกว่า เพิงพะ หรือ พะเพิง, ส่วนเพิงพะที่ใช้เป็นที่พัก ทหาร เรียกว่า เพิงพล.
  2. โพชฌงค์ : [โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระ ปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).
  3. โพล่ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วย กาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. (รูปภาพ โพล่)
  4. โพลน : [โพฺลน] ว. ใช้ประกอบกับคำ ขาว เป็น ขาวโพลน หมายความว่า ขาวมาก, ขาวทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลนไป ทั้งหัว, โพลง ก็ว่า.
  5. ไพ่ตอง : น. ชื่อไพ่ไทยชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๑๒๐ ใบ ประกอบด้วย ๑๐ พวก พวกละ ๑๒ ตัว, ไพ่ผ่องไทย ก็เรียก.
  6. ฟ้อนแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
  7. ฟ้อนลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
  8. ฟันม้า : น. ชื่อแร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีหลายสี ส่วนมากมักมี สีขาวขุ่นคล้ายฟันม้า ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า หินฟันม้า. (ดู เฟลด์สปาร์).
  9. เฟลด์สปาร์ : น. ชื่อแร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีหลายสี ส่วนมากมักมีสีขาว ขุ่นคล้ายฟันม้า, ชาวบ้านมักเรียกกันว่า หินฟันม้า. (อ. feldspar).
  10. แฟลต : [แฟฺล็ด] น. ห้องชุด ตามปรกติประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนํ้า พร้อมอยู่ในชั้นเดียวกันและรวมอยู่ในตึกหลังใหญ่ สําหรับอยู่อาศัยหรือให้เช่า. (อ. flat).
  11. ไฟฉาย : น. เครื่องทําความสว่าง ประกอบด้วยอุปกรณ์สําคัญ คือ จานฉายรูปโค้งสําหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุ อยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้ มักทําเป็นรูปทรงกระบอก.
  12. ภาพ, ภาพ– : [พาบ, พาบพะ–] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วน ท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึก เห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบ ไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  13. ภาษาคำควบมากพยางค์ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบ หน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาว หลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
  14. ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
  15. เภสัชกร : [เพสัดชะกอน] น. แพทย์ปรุงยา, ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม.
  16. โภชนาหาร : [โพชะนา–, โพดชะนา–] น. สารองค์ประกอบสําคัญของ อาหารที่ทําให้อาหารมีคุณค่าในการบํารุงเลี้ยงร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน และนํ้า.
  17. ไภษัชคุรุ : [ไพสัดชะ–] น. พระนามพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่าย มหายาน; ชื่อพระกริ่ง.
  18. มโนมัย : ว. สําเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูก มโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).
  19. มหาดไทย : น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนา ชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
  20. มะค่าแต้ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sindora siamensis Teijsm. ex Miq. ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยคู่ปลาย ใหญ่กว่าคู่อื่น ฝักแบนค่อนข้างบาง มีหนามแหลมทั้ง ๒ ด้าน เนื้อไม้ สีนํ้าตาลเข้ม, มะค่าหนาม ก็เรียก, อีสานเรียก แต้.
  21. มะตูม : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Aegle marmelos (L.) Corr?a ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการ มงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์ หนึ่งของชนิด Mangifera indica L.
  22. มะเหงก : [-เหฺงก] น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สําหรับเขกหรือชูให้ประกอบ คํากล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก.
  23. มับ : ว. คําสําหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.
  24. มัย ๒ : ว. สําเร็จด้วย, แล้วด้วย, ประกอบด้วย, (ใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น มโนมัย ว่า สำเร็จด้วยใจ, กุศลมัย ว่า แล้วด้วยกุศล, ตฤณมัย ว่า ประกอบด้วยหญ้า). (ป., ส. มย).
  25. มัสยิด : [มัดสะ-] น. สถานที่ซึ่งอิสลามิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาอิสลาม, สุเหร่า ก็เรียก.
  26. มาลา : น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ เรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ; สาย, แถว. (ป., ส.).
  27. มิจฉาชีพ : น. การหาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, อาชีพที่ผิดกฎหมาย, เช่น เขาประกอบมิจฉาชีพ. ว. ที่หาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, ที่ประกอบอาชีพ ผิดกฎหมาย, เช่น พวกมิจฉาชีพ. (ป. มิจฺฉา + อาชีว).
  28. มิติ ๑ : น. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ, ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็น มิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และ ถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทน กว้างหรือยาว ก็ได้. (ส.).
  29. มี : ว. รวย เช่น เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน, ไม่เปล่า, ไม่ว่าง, เช่น ในหม้อ มีข้าว ในห้องน้ำมีคน. ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่น มีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค, ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่ เช่น มีคนอยู่ไหม.
  30. มีดหมอ : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายมีดเหน็บ แต่โคนมีดมี ชายแหลมโค้งออจากคมเล็กน้อย ใช้สำหรับประกอบในพิธีทาง ไสยศาสตร์.
  31. มือ ๑ : น. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วย ฝ่ามือและนิ้วมือ สําหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิด ที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่น คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะ สิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตําลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวน นับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ).
  32. มุขกระสัน : น. มุขที่เชื่อมระหว่างพระที่นั่งองค์หนึ่งกับอีกองค์หนึ่ง.
  33. มุจลินท์ : [มุดจะ-] น. ต้นจิก; ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบ ด้วยต้นจิก. (ป.; ส. มุจิลินฺท).
  34. แมงกานิน : น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงร้อยละ ๘๓ แมงกานีสร้อยละ ๑๓ นิกเกิล ร้อยละ ๔ ใช้ประโยชน์นําไปทําอุปกรณ์ไฟฟ้า. (อ. manganin).
  35. โมเลกุล : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของสารซึ่งสามารถดํารงอยู่ได้ตามลําพัง และทั้งยังคงรักษา สมบัติต่าง ๆ ของสารนั้นไว้ได้ด้วย โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุ, เดิมเรียกว่า อณู. (อ. molecule).
  36. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  37. ไม้ขีดไฟ : น. เครื่องขีดไฟชนิดหนึ่งซึ่งใช้ก้านไม้หรือก้านกระดาษชุบปลาย ข้างหนึ่งด้วยสารเคมีบางอย่างให้เป็นตุ่ม เรียกว่า หัวไม้ขีด มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใช้ขีดกับผิวที่ฉาบด้วยสารเคมีซึ่งมีฟอสฟอรัสแดงเป็นองค์ประกอบสําคัญทํา ให้เกิดไฟขึ้น อีกชนิดหนึ่งใช้ขีดกับผิวขรุขระทําให้เกิดไฟขึ้น.
  38. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  39. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  40. ไม่เห็นจะ : ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่าไม่ สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย.
  41. ยะ ๑ : คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียว กับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
  42. ยัก ๒ : (ปาก) ว. คําประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา.
  43. ยักคอ : ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการ รำไทยอย่างหนึ่ง.
  44. ยักเอว : ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  45. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  46. ยังอีก : ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำ ตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก.
  47. ยางมะตอย : น. สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็น ของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดํา หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดํา เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทําผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทําพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก.
  48. ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  49. ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  50. ยามโยค : น. เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-792

(0.1255 sec)