Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์ประกอบ, ประกอบ, องค์ , then ประกอบ, องค, องค์, องค์ประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์ประกอบ, 792 found, display 601-650
  1. ละครรำ : น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดง บทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรี ปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
  2. ละครวิทยุ : น. ละครพูดที่แสดงทางวิทยุ มักมีเพลงประกอบ.
  3. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  4. ละครสัตว์ : น. การแสดงของสัตว์ต่าง ๆ ที่ฝึกไว้ดีแล้ว โดยมีการ แสดงของคณะกายกรรมประกอบด้วย.
  5. ลักษมณ์ : [ลัก] น. ชื่อน้ององค์หนึ่งของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์. (ส. ลกฺษฺมณ).
  6. ล้างซวย : ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
  7. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  8. ลำตัด : น. การละเล่นที่มีผู้แสดงเป็นชายและหญิงว่าเพลงร้องแก้กัน มีลูกคู่และกลองรํามะนาประกอบ.
  9. ลำยอง : น. ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลมปราสาทหรือวิหาร. ว. สวย, งาม.
  10. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  11. ลูกแซ็ก : น. เครื่องดนตรีสากลชนิดหนึ่ง ใช้เขย่าทำเสียงประกอบ เพลง มักใช้แก่เพลงลาติน, ลูกซัด ก็ว่า.
  12. ลูกปืน : น. ลูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ยัดใส่ในลํากล้องปืนแล้วยิง, กระสุนที่บรรจุในลํากล้องปืนสําหรับยิง ประกอบด้วยปลอกโลหะ ตรงปลายด้านหนึ่งมีหัวกระสุนโลหะ ถ้าเป็นปืนลูกซอง ปลอกทํา ด้วยกระดาษแข็ง ไม่มีหัวกระสุน แต่มีลูกปรายหลายลูกอยู่ภายใน ทั้ง ๒ ชนิดมีดินปืนอยู่ตรงกลางและมีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก, กระสุน ปืน; ลูกเหล็กที่มีลักษณะกลม ทรงกระบอก หรือทรงกรวย ใส่ใน ตลับรองเพลาเครื่องจักรเป็นต้น เพื่อให้หมุนหรือเคลื่อนไปได้คล่อง.
  13. ลูกผู้หญิง : น. เรียกผู้หญิงที่มีความสุภาพเรียบร้อย สงบเสงี่ยม อ่อนโยน รู้จักรักนวลสงวนตัว ประกอบด้วยเมตตากรุณา และ รู้จักการบ้านการเรือน เป็นต้น.
  14. ลูกสะบ้า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, สะบ้าหัวเข่า ก็ว่า.
  15. เลขยันต์ : น. ตัวเลขที่ประกอบในแผ่นยันต์.
  16. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  17. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  18. เลือด : น. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน และสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดง เกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการ ป่วยในระหว่างที่มีระดู, โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์, ผู้ที่เคยศึกษาจาก สถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.
  19. แล็กเกอร์ : น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุให้เป็นเงา มันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) บิวทิลแอซิเทต (butyl acetate) และ ตัวถูกละลาย เช่น ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin) เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้ง ไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุเป็น เงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้นโลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
  20. โลกาวินาศ : ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้าม ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็น โลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
  21. วสุ : น. ทรัพย์, สมบัติ; ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวาร ของพระอินทร์. (ป., ส.).
  22. วัคซีน : น. ผลิตผลที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกฆ่าหรือทํา ให้มีฤทธิ์อ่อนแรงจนไม่เป็นอันตราย สําหรับฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อ กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อนั้น ๆ. (อ. vaccine).
  23. วังชา : คำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.
  24. วัชรปาณี : น. ''ผู้ถือวชิระ'' คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. (ส. วชฺรปาณิ).
  25. วัตถุดิบ : น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  26. วันฉัตรมงคล : น.วันที่ประกอบพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่ง ตรงกับวันบรม ราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. วันเฉลิมพระชนมพรรษา น. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช.
  27. วันแรกนา, วันแรกนาขวัญ : น. วันประกอบพิธีเริ่มไถนา ทางราชการเรียกว่าวันพระราชพิธีจรดพระนังคัล.
  28. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  29. ว่านมหาเมฆ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma aeruginosa Roxb. ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย ขณะออกดอก ไม่มีใบ ดอกสีเหลืองเป็นช่อตั้ง อยู่ระหว่างใบประดับสีขาวซึ่งมี ปลายสีชมพู ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก ดอกอาว.
  30. วิฆเนศ, วิฆเนศวร : [วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่า ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือพิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
  31. วิชาชีพ : น. วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.
  32. วิทยุติดตามตัว : น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
  33. วิรุฬหก : [รุนหก] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศทักษิณ. (ป.).
  34. วิรูปักษ์ : น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศประจิม. (ป. วิรูปกฺข).
  35. วิศวกร : [วิดสะวะกอน] น. ผู้ประกอบงานวิศวกรรม.
  36. วิเศษณการก : [วิเสสะนะ] (ไว) น. คําที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็น บทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละ บุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากิน ช้อนส้อม เขามาบ้าน.
  37. วิสาหกิจ : [วิสาหะกิด] น. การประกอบการที่ยาก สลับซับซ้อน หรือเสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย.
  38. วีต : [วีตะ] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).
  39. วุบ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
  40. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  41. เวทางค์, เวทางคศาสตร์ : น. วิชาประกอบการศึกษาพระเวทมี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออก เสียงคําในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส คือ ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือ กําเนิดของคําและ ๖. กัลปะ คือ วิธีจัดทําพิธี. (ส.).
  42. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  43. เวสภู : [เวดสะ] น. พระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. (ป. เวสฺสภู).
  44. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  45. ศร : [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
  46. ศาลาดิน : น. ศาลาที่ใช้พื้นดินเป็นพื้นหรือพื้นติดดิน ใช้ประกอบ ศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลาดินที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
  47. ศาลาประชาคม : น. สถานที่หรืออาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ ประชุมประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ.
  48. ศาลายก : น. ศาลาที่ยกพื้นสูงใช้ประกอบศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลายกที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม.
  49. ศาสนสถาน : น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็น ศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.
  50. ศิลปธาตุ : น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-792

(0.1107 sec)