Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์ประกอบ, ประกอบ, องค์ , then ประกอบ, องค, องค์, องค์ประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์ประกอบ, 792 found, display 701-750
  1. หว่า ๒ : ว. คำประกอบท้ายแสดงความแคลงใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนหว่า.
  2. หวา, หว่า ๑ : ว. คําประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.
  3. ห้องแถว : น. อาคารไม้ที่สร้างเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันเป็นแถว, ถ้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันไปเรียกว่า ตึกแถว; (กฎ) อาคารที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ซึ่งปลูกสร้างติดต่อ กันเป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่.
  4. หอมยับ : (โบ) ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้ หอมยับทรัพย์หนใดฯ. (ม. คำหลวง หิมพานต์).
  5. หัวหด : ก. กลัวมาก, ขยาด, เช่น ได้ยินแค่ชื่อก็หัวหดแล้ว. ว. ใช้ประกอบ กับคำ กลัว ในความว่า กลัวจนหัวหด หมายความว่า กลัวมาก.
  6. หากิน : ก. ทํางานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบ อาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่น ให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่า หญิงหากิน.
  7. ห้าง ๒ : น. สถานที่จําหน่ายสินค้า, สถานที่ประกอบธุรกิจ. (จ.).
  8. หางเครื่อง : น. เพลงที่ออกต่อท้ายจากเพลง ๓ ชั้น หรือ เพลงเถา; กลุ่มบุคคล ที่ออกมาเต้นประกอบจังหวะในการร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง.
  9. หิน ๑ : น. ของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตาม ธรรมชาติ.
  10. หินดินดาน : น. หินชั้นซึ่งประกอบด้วยอะลูมิเนียมซิลิเกตกับแมกนีเซียม ซิลิเกต มีเนื้อละเอียดมาก บี้กับนํ้าแล้วเหนียวติดมือ.
  11. หินทราย : น. หินชั้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลมหรือ เหลี่ยมขนาดเม็ดทราย อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่าง ๆ ให้เกาะกันแน่นแข็ง มีสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว.
  12. หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
  13. หีบเพลงปาก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบน ยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่ง ดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).
  14. เหมือด ๑ : [เหฺมือด] น. เครื่องกินกับขนมจีนนํ้าพริก มีหัวปลีซอยเป็นต้น. ว. ใช้ ประกอบกับคำ สลบ เป็น สลบเหมือด หมายความว่า สลบไสล, แน่นิ่งไม่ติงกาย.
  15. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  16. เหล่า : [เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กําลังพล ของทหารซึ่งประกอบกับคําอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหาร ปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.
  17. เหลี่ยม ๑ : [เหฺลี่ยม] น. ด้านที่เป็นสัน; เส้นประกอบมุมของรูปที่มีด้านตั้งแต่ ๓ ด้าน ขึ้นไป; ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา, คู่กับ วง คือ ส่วนสัดของมือที่ใช้ ในการรํา. ว. เป็นสัน เช่น บวบเหลี่ยม เหลี่ยมเพชร เหลี่ยมเขา.
  18. เหลือบ ๒ : [เหฺลือบ] ก. ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า ชำเลือง เช่น เหลือบตา เหลือบแล เหลือบดู เหลือบเห็น.
  19. เหวย : ว. คำที่ใช้ประกอบข้อความที่มีความหมายในเชิงถามหรือชักชวนเป็นต้น เช่น ใครเล่าเหวยจะไปกับพวกเราบ้าง มาละเหวยมาละวา.
  20. เหอะน่า : (ปาก) เถอะน่า, คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิง ชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น, เฮอะน่า ก็ว่า.
  21. แห่ : น. ขบวนที่ไปพร้อมกันด้วยวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีการ ตกแต่งหรือมีดนตรีประกอบเป็นต้น เช่น แห่นาค แห่ขันหมาก แห่ศพ. ก. ไปกันเป็นพวกเป็นหมู่มาก ๆ.
  22. แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.
  23. แหล่งเสื่อมโทรม : น. บริเวณที่คนอาศัยอยู่อย่างแออัด ประกอบด้วยบ้านเรือน ที่ทรุดโทรมไม่ถูกสุขลักษณะ.
  24. แหละ : [แหฺละ] ว. คําประกอบเพื่อเน้นความ เช่น คนนี้แหละ.
  25. โหย : [โหยฺ] ก. อ่อนกําลัง, อ่อนใจ; ครวญถึง, รํ่าร้อง; มักใช้ประกอบคำอื่น ๆ เช่น โหยหา โหยหิว โหยหวน โหยไห้.
  26. โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
  27. ให้จงได้, ให้ได้ : ว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับ กำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.
  28. ไหน ๑ : ว. ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความสงสัยหรือคำถาม เช่น คนไหน อันไหน ที่ไหน, ถ้ามีคำ ก็ได้ ต่อท้าย แสดงถึงความไม่เจาะจง เช่น คนไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้.
  29. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  30. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  31. องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  32. อณู ๒ : น. ส่วนของสารที่ประกอบด้วยปรมาณู. (ป., ส. อณุ).
  33. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  34. อนุ : คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
  35. อนุราช : [อะนุราด] น. พระราชารอง, พระเจ้าแผ่นดินองค์รอง. (ป.).
  36. อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  37. อภิ : คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมาย ว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
  38. อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
  39. อย่า : [หฺย่า] ว. คําประกอบกริยาบอกความห้ามหรือไม่ยอมให้ทําการ ต่าง ๆ.
  40. อยู่ : [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากําลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
  41. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  42. อริยมรรค : น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทาง ดําเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).
  43. อวดอ้าง : ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกิน ความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไป จากความจริงมาประกอบ.
  44. อวนรุน : น. อวนที่มีลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ รุนเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้สัตว์น้ำที่อยู่ด้านหน้าปากอวนเข้ามาติดอยู่ที่ก้นถุงอวน ใช้ทำการ ประมงในระดับน้ำลึกไม่เกิน ๑๕ เมตร.
  45. อสังหาริมทรัพย์ : น. ทรัพย์ที่นําไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ เช่น ที่ดิน; (กฎ) ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการ ถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวม ถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือ ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย, คู่กับ สังหาริมทรัพย์.
  46. อสัญแดหวา : [อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบท ละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี. (ช.).
  47. อสีติมหาสาวก : น. สาวกใหญ่ ๘๐ องค์ของพระพุทธเจ้า. (ป.).
  48. อเส : [อะ] น. ตัวไม้ซึ่งประกอบยึดเสาส่วนบนของเรือน; ไม้ยึดหัวกงเรือ.
  49. อะเคื้อ : (กลอน) ว. งาม เช่น ถนัดดั่งเรียมเห็นองค์ อะเคื้อ. (ลอ).
  50. อะตอม : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทําปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลาง และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-792

(0.1169 sec)