กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
กร่ำกรุ่น : [กฺร่ำกฺรุ่น] ว. สีมัว ๆ ไม่ชัด เช่น สีกร่ำกรุ่นเป็นอย่างไรฉันไม่เคย.
กริช : [กฺริด] น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรงก็มีคดก็มี เป็นของชาวมลายู.
กรินทร์ : น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุ ผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
กรีฑา : [กฺรีทา] น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นประเภทลู่ และประเภทลาน; การเล่นสนุก เช่น กรีฑาร่าเริงรื่น; การเล่นสมพาส เช่น ในกามกรีฑากล. (กฤษณา); การประลองยุทธ์. (ส.).
กรีฑารมย์ : ว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์. (สมุทรโฆษ).
กรีด ๓ : [กฺรีด] ก. ขีดให้เป็นรอยหรือให้ขาด เช่น เอากากเพชรกรีดกระจก เอามีดกรีดใบตองเย็บกระทง; ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บ กรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง; เอาคมมีดสะบัดบนของ แข็งเพื่อให้คม เช่น เอามีดกรีดหินเพื่อให้คม กรีดมีดบนปากชาม.
กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
กรีดไพ่ : ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้ที่หัวแม่มือระไพ่ แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันจนหมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน.
กรีธา : [กฺรีทา] ก. เคลื่อน, ยก, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน, (ใช้ในการยกทัพ).
กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
กรุงพาลี : [กฺรุง-] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรพลี. (มาจากชื่อท้าวพลี). (รามเกียรติ์ ร. ๖).
กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
กรุย ๑ : [กฺรุย] น. หลักที่ปักรายไว้เป็นเครื่องหมาย เช่น ปักกรุย. ก. ปักหลักหรือถางเป็นแนวไว้ เช่น กรุยทาง. (ข. ตฺรุย).
กฤด- : [กฺริดะ-] (แบบ) ว. อันกระทําแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้า ของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).
กฤดาญชลี : [กฺริดานชะลี] ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี = มีกระพุ่มมืออันทําแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี กฤษฎา กฤษฎาญ กฤษฎาญชลี กฤษฎาญชุลี กฤษฎาญชลิต กฤษฎาญชวลิตวา กฤษฎาญชวลิศ กฤษฎาญชวเลศ.
กฤดาธิการ : [กฺริดาทิกาน] น. บารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทําไว้. ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทําไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี.
กฤตติกา : [กฺริดติ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยมหรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ) เขียนเป็น กฤติกา ก็มี. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
กฤติกา : [กฺริดติ-] (โบ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว เช่น หมู่สามสมมุติ์กุกกุฏโบ- ดกกฤติกาขาน. (สรรพสิทธิ์), ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
กลด ๑ : [กฺลด] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส).
กลดกำมะลอ : น. ร่มชนิดหนึ่ง พื้นขาวโรยทองเป็นเครื่องยศ.
กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
กลบท : [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัส เป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).
กลพยาน : [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).
กลไฟ : [กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้น เป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือ มหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
กลม ๑ : [กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ ทําตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์สักบรรพ ในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
กลมเกลียว : ว. ที่เข้ากันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
กลละ : [กะละละ] (แบบ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้น น้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.).
กลวง ๑ : [กฺลวง] ว. เป็นรูเป็นโพรงข้างใน, ไม่ตัน.
กล้วย ๑ : [กฺล้วย] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จําพวก จําพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก,จําพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา.
กลศ : [กฺลด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ มีลักษณะ เหมือนคนโท มีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ เรียกว่า หม้อกลศ, (โบ) เขียนเป็น กลด ก็มี. (ส.; ป. กลส).
กล่อง : [กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
กล้องแกล้ง : [กฺล้องแกฺล้ง] ว. มีรูปร่างเอวเล็กเอวบาง, อ้อนแอ้น; มีท่าทางเป็นเชิงเจ้าชู้.
กล้องจุลทรรศน์ : น. กล้องขยายดูของเล็กให้เห็นเป็นของใหญ่. (อ. microscope).
กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
กล้องระดับ : น. กล้องสํารวจชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องวัดระดับชนิด ฟองน้ำที่ใช้ประกอบกับกล้องส่องเพื่อใช้หาระดับสูงต่ำของพื้นที่.
กล่อน : [กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า เกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นน้ำ เรียกว่า กล่อนน้ำ, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง.
กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
กลอนบทละคร : น. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้อง ขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.
กลอนสวด : น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง มักเป็นเรื่องในศาสนา.
กล่อม ๓ : [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
กลอย ๑ : [กฺลอย] น. ชื่อไม้เถามีหนามชนิด Dioscorea hispida Dennst. ในวงศ์ Dioscoreaceae มีหัวกลมใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ หัวดิบมีพิษเบื่อเมา แต่เมื่อฝานแช่น้ำไหลและนํามา นึ่งหรือต้มให้สุกแล้วกินได้.
กลัก : [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของ เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.