กำลังช้างเผือก : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Hiptage วงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิด H. bengalensis Kurz เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก; ชนิด H. candicans Hook.f. เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.
กำหนด : [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการ บางจําพวก เช่น พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกาย ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.
กิ้งกือ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
กิ้งกือเหล็ก : น. ชื่อกิ้งกือขนาดเล็กชนิด Polydesmus spp. ในวงศ์ Polydesmidae โตขนาดก้านไม้ขีดไฟ ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร สีดําเป็นมัน ขอบข้างลําตัวและท้องสีครีมอ่อน หากินอยู่ตาม กองขยะ ปุ๋ยหมัก มักซุกอยู่ในที่มืดและชื้น.
กิงบุรุษ : (แบบ) น. กินนร เช่น และเป็นที่เขานิยมว่ามีนกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่ากิงบุรุษ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
กิ่งอำเภอ : (กฎ) น. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจากอำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง.
กิจจะลักษณะ : ว. เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว, เป็นระเบียบเรียบร้อย.
กิจวัตร : น. กิจที่ทําเป็นประจํา.
กิดาการ : น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย). (ป. กิตฺติ + อาการ).
กินข้าวต้มกระโจมกลาง : (สำ) ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อน ไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน.
กินนร : [-นอน] น. อมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หางบินไป.
กินน้ำตาต่างข้าว : (สำ) ก. ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน.
กินน้ำใต้ศอก : (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
กินบุญเก่า : (สํา) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทําไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสํานวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).
กินรูป : ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก, ซ่อนรูป ก็ว่า.
กินเศษกินเลย : (สำ) ก. กินกําไร, ยักเอาเพียงบางส่วนที่มีจํานวน เล็กน้อยไว้, ยักเอาส่วนที่เหลือไว้เป็นของตน,เอาเพียงบางส่วนไว้ เป็นของตน.
กินสำรับ : ก. กินอาหารที่เขาจัดมาเป็นสํารับ, (สำ) กินอาหารอย่างดี.
กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง : (สํา) ก. รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทําเป็นไม่รู้.
กิโมโน : น. เครื่องแต่งกายประจําชาติญี่ปุ่น เป็นเสื้อยาว หลวม แขนกว้าง มีผ้าคาดเอว, โดยปริยายใช้เรียกเสื้อสตรีที่มีลักษณะเช่นนั้น.
กิริณี : น. ช้างพัง. (โบ เขียนเป็น กิรินี). (ป.).
กิเลน : น. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตําราของจีนว่า หัวเป็นมังกร มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง.
กิเลสมาร :
น. กิเลสซึ่งนับเป็นมารอย่างหนึ่ง. (ป.). (ดู มาร).
กึ๋น : น. กระเพาะที่ ๒ ของสัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อ จากกระเพาะที่ ๑ ประกอบด้วยผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาและเหนียว สําหรับบดอาหาร โดยมีหินก้อนเล็ก ๆที่กลืนเข้าไปเป็นเครื่องช่วย.
กุ ๑ : ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นโดยไม่มีมูล.
กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
กุญแจผี : น. ลูกกุญแจหรือเส้นลวดเป็นต้นที่ทําขึ้นสําหรับไขกุญแจ มักใช้เพื่อการทุจริต.
กุฏิ ๒ : [กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทําให้นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).
กุดั่น : น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทําด้วยไม้จําหลักปิดทอง ประดับกระจก; ชื่อลายเป็นดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจํายาม.
กุดา : (แบบ) ใช้เป็นสร้อยคําของ กุฎี เช่น สู่กุฎีกุดาสวรรค์. (ม. คําหลวง มัทรี).
กุน : น. ชื่อปีที่ ๑๒ ของรอบปีนักษัตร มีหมูเป็นเครื่องหมาย.
กุ๊น : ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียงเย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่คอเสื้อหรือ ชายเสื้อเป็นต้น.
กุนที : [กุนนะที] น. แม่น้ำน้อย ๆ, แม่น้ำเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย + นที = แม่น้ำ).
กุบ : น. ซองหนังชนิดหนึ่ง เมื่อตัดทองคําใบชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สอดในกระดาษแก้วหนาแผ่นเล็กซ้อนกันเป็นตั้งแล้วใส่ใน ซองหนังนั้น ตีซองแผ่ทองคำให้บางออกไป; ชาวภาคพายัพบางถิ่น และพวกเงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) กลัก, กล่อง.
กุ่ม : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาวแล้วกลายเป็นสีเหลือง ผลกลมหรือรูปไข่ ผิวนอกแข็งและสาก ๆ สีเขียวนวล เช่น กุ่มบก [C. adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs] กุ่มน้ำ [C. magna (Lour.) DC. และ C. religiosa Forst.f.].
กุมภ-, กุมภ์ : [กุมพะ-] น. หม้อ; ชื่อกลุ่มดาวรูปหม้อ เรียกว่า ราศีกุมภ์ เป็นราศีที่ ๑๐ ในจักรราศี. (ป.).
กุมภัณฑยักษ์ : น. ลมกุมารอย่างหนึ่งมีอาการคล้ายบาดทะยัก ผู้ที่เป็นลมนี้ตาจะช้อนสูง หน้าเขียว มือกํา เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน. (แพทย์).
กุยช่าย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นําเข้ามาปลูก เพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).
กุระ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
กุรุพินท์ : น. ทับทิม, เขียนเป็น กรพินธุ์ ก็มี เช่น ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กุรุวินฺทุ ว่า แก้วทับทิม).
กุเรา : น. ชื่อปลาทะเลและน้ำกร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ สกุล Eleutheronema และ Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลําตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum, P. sextarius, กุเลา ก็เรียก.
กุลาดำ : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus monodon ในวงศ์ Penaeidae ตัวแบนข้าง ขนาดค่อนข้างใหญ่ สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำ และสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว.
กุลาลาย : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus semisulcatus ในวงศ์ Penaeidae รูปร่างและขนาดคล้ายกุ้งกุลาดํา สีน้ำตาลอมแดง แต่มีลายน้อยกว่า กุ้งกุลาดำ หนวดมีลายสลับเป็นปล้อง.
กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
กุหร่า : [-หฺร่า] น. สีเทาเจือแดง บางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อย เป็นสีชนิดสักหลาด. (เทียบทมิฬ กุลฺลา ว่า หมวก; อิหร่าน กุลา ว่า กะบังหน้า).
กู : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
กูปรี : [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli ในวงศ์ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
กูรมาวตาร : [-วะตาน] น. อวตารเป็นเต่า เป็นอวตารปางที่ ๒ ของพระนารายณ์. (ส.).
เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.