ขมิ้นขาว : น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Curcuma ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีขาวอมเหลืองอ่อน ใช้เป็นผัก.
ขยม : [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๑. (ข. ขฺญุํ).
ขยอก ๑ : [ขะหฺยอก] น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด Nymphula depunctalis ในวงศ์ Pyralidae ทําลายข้าวโดยกัดใบข้าวให้ขาดออกมาม้วนเป็นปลอก หุ้มตัว ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ลอยไปตามนํ้าได้ ตัวหนอนสีเขียวซีด ผิวค่อนข้างใส หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกเป็นครีบข้างละ ๖ แถว สําหรับช่วยหายใจในนํ้า, หนอนม้วนใบข้าว ก็เรียก.
ขยัน ๑ : [ขะหฺยัน] ก. ทําการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทําหรือ ประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).
ขยิบ : [ขะหฺยิบ] ก. ทําหลับตาแล้วลืมโดยเร็วครั้งหนึ่ง โดยเป็นอาณัติ สัญญาณให้ผู้อื่นกระทําหรือเว้นกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ขยี้ : [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน, ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทําลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.
ขยุกขยุย : [ขะหฺยุกขะหฺยุย] ว. ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ.
ขยุม ๑ : [ขะหฺยุม] น. ขยม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ขยุ้มตีนหมา : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีพิษอักเสบออกเป็นเม็ดผื่นดวง ๆ.
ขยุย ๑ : [ขะหฺยุย] ว. กระจุย, เป็นปุย ๆ.
ขรรค์ : [ขัน] น. ศัสตราวุธชนิดหนึ่ง มีคม ๒ ข้าง ที่กลางใบมีดทั้งหน้า และหลังเป็นสันเล็กคล้ายคมรูปหอก ด้ามสั้น. (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
ขรัวตา : น. สามัญชนที่เป็นตาของพระองค์เจ้า.
ขรัวยาย : น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้า.
ขรุขระ : [ขฺรุขฺระ] ว. เป็นปุ่มเป็นแง่, ไม่เรียบราบ.
ขล้อเงาะ : [ขฺล้อ-] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia cambodiana Gagnep. ในวงศ์ Combretaceae ใบรีหรือรูปไข่ ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อ เล็ก ๆ ผลมี ๕ ครีบ, คร่อเงาะ ก็เรียก.
ขลัง : [ขฺลัง] ว. มีกําลังหรืออํานาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอํานาจ ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์. น. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง. (สิบสองเดือน).
ขลับ : [ขฺลับ] ว. เลื่อม, เกลี้ยงเป็นมัน, เช่น ดําขลับ มันขลับ.
ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
ขลุ่ย : [ขฺลุ่ย] น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งสำหรับเป่าให้เป็นเพลง มักทํา ด้วยไม้รวกเจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สําหรับเอานิ้วปิดและ เปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา.
ขลู่ : [ขฺลู่] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Pluchea indica (L.) Less. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นหมู่ตามชายทะเล ใบรูปไข่ขอบจักห่าง ๆ ใช้ทํายาได้ ดอกสีม่วงอ่อน, ขลู ก็เรียก.
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
ขวัญเกี่ยง : ว. ขวัญร้าย เช่น ขวัญเกี่ยงได้เป็นดี. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
ขวัญใจ : น. ยอดกําลังใจ. ว. เป็นที่นิยมรักใคร่.
ขวัญตา : น. มิ่งขวัญดวงตา, สิ่งที่เห็นเป็นที่เจริญตา.
ขวั้น : [ขฺวั้น] (ถิ่น-อีสาน, ปักษ์ใต้) น. หัวขั้ว เช่น และผูกเป็นขวั้นแขวนวง. (สมุทรโฆษ).
ขว้างกา : น. เรียกไม้ชนิดหนึ่งที่เสี้ยมหัวท้ายให้แหลมใช้เป็นอาวุธ.
ขวาน ๑ : [ขฺวาน] น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสัน หนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้สําหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน, ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู ก็เรียก, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสัน เป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน; หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน.
ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
ขอ ๓ : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้น และใบเขียว เนื้อเหลือง มีสรรพคุณอยู่คงเขี้ยว เขา และงา. (กบิลว่าน).
ข้อกำหนด : น. ข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติหรือดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
ของ : น. สิ่งต่าง ๆ. บ. แห่ง (ใช้สําหรับนําหน้านามที่เป็นผู้ครอบครอง).
ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
ของชำ : น. ของแห้งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น พริก กะปิ หอม กระเทียม.
ข้องแวะ : ก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยค ที่มีความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ.
ของสงฆ์ : น. ของที่เป็นของวัด, ของที่สงฆ์ใช้ร่วมกัน, ของวัด ก็ว่า.
ของหลวง : น. ของของสถาบันพระมหากษัตริย์, ของที่เป็นของ แผ่นดินหรือรัฐ.
ขอช้าง : น. ขอเหล็กมีด้าม สําหรับสับช้าง, ขอช้างที่มีปลายโค้งใช้ใน พิธีช้าง เรียกว่า ขอเกราะ, ขอช้างที่ปลายเป็นยอดปิ่น เรียกว่า ขอปิ่น.
ขอด ๑ : ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวด เป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
ขอทอง : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้นและใบเขียว เนื้อเหลือง ใช้แก้เบื่อเมา, ขอคําน้อย ก็เรียก. (กบิลว่าน).
ข้อเท็จจริง : น. ข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง; (กฎ) ข้อความหรือเหตุการณ์ที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นจริง (แตกต่างกับ ข้อกฎหมาย).
ขอโทษ, ขอประทานโทษ : ก. ขอให้ยกเว้นโทษ, ใช้เป็นคำสุภาพเมื่อ รู้สึกว่าจะเป็นการล่วงเกินผู้อื่น.
ขอน : น. ท่อนไม้ใหญ่ที่ยังไม่ได้ถากกล่อมให้เป็นรูปที่ต้องการ; ลักษณนาม เรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ว่า กำไลขอนหนึ่ง; ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่ง หรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน.
ข่อน : ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคําคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
ขอนดอก : น. ท่อนไม้ของต้นตะแบก พิกุล และบุนนาค ที่ผุราขึ้นเป็น จุดขาว ๆ มีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
ขอนสัก : น. ซุงไม้สัก, ลำต้นไม้สักที่ตัดเป็นท่อนยาวก่อนแปรรูป.
ขอบคุณ, ขอบพระคุณ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
ขอบใจ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคํา ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).
ขอเฝ้า : น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่ง เครื่องแบบราชการ.