ข้อมูล : น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สําหรับ ใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคํานวณ.
ข้อย : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คําหลวง กุมาร).
ข่อยหนาม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Streblus ilicifolius (Vidal) Corner ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นบนเขาหินปูนในป่าดิบ ลําต้นตรง ใบแข็งหนา ด้านบนเขียวแก่เป็นมัน ขอบใบเป็นหนามแหลมคม, ปักษ์ใต้เรียก กระชิด.
ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
ขอรับ ๑ : น. โลหะทําเป็นห่วงสําหรับรับขอสับ มักติดที่ประตูหน้าต่าง.
ข้อสังเกต : น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มี ข้อสังเกตอยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้า มาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย.
ขอสับ : น. โลหะที่ปลายงอเป็นตาขอสําหรับเกี่ยวที่ขอรับ.
ขะข่ำ : (โบ; กลอน) ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงง ลมพายุพัดน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
ขะแข่น, ขะแข้น : (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คําหลวง กุมาร), (ม. คําหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
ขะเย้อแขย่ง : [-ขะแหฺย่ง] ก. กระเย้อกระแหย่ง, เขียนเป็น เขย้อแขย่ง ก็มี.
ขังปล้อง : ว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝาน ข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่งเพื่อทําเป็นตะขาบเป็นต้น.
ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
ขัด ๓ : ก. ไม่ใคร่จะมี, ฝืดเคือง, ไม่คล่อง, ไม่เป็นปรกติ.
ขัด ๔ : (โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก. (ม. ร่ายยาว มหาราช).
ขัดตำนาน : ก. สวดบทนําเป็นทํานองก่อนสวดมนต์.
ขัดบท : ก. แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบเรื่อง, ใช้เลือนมาเป็น ขัดคอ ก็มี.
ขัตติยมานะ : น. การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์หรือเชื้อสายกษัตริย์.
ขั้น : น. ชั้นที่ทําลดหลั่นกันเป็นลําดับ เช่น ขั้นบันได; ลําดับ, ตอน, เช่น ในขั้นนี้.
ขัน ๓ : ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
ขันต่อ : ก. กล้าต่อ. (กฎ) น. การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัย เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ.
ขันติ, ขันตี : น. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ, ความอดทน. (ป. ขนฺติ = ความอดทน เป็นบารมี ๑ ในบารมี ๑๐.
ขันโตก : (ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทําด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่าง เครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็น วงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
ขันทองพยาบาท : [-พะยาบาด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Suregada multiflorum (A. Juss.) Baill. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๕-๘ เมตร ใบรี หนา ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ผลกลมมี ๓ พู ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ใช้ทํายาได้.
ขันธ์ : น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
ขันลงหิน : น. ขันที่ทำด้วยโลหะผสมทองแดงกับดีบุก แล้วขัดให้เป็นมัน.
ขันสาคร : น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์หรือสำหรับ ผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ. (รูปภาพ ขันสาคร)
ขันหมาก ๑ : น. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธีหมั้น หรือแต่งงาน เป็นเครื่องคํานับผู้ปกครองฝ่ายหญิง.
ขันหมาก ๒ : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนจําปา รากเป็น ๓ แง่ ดอกเหมือนบอน ลูกเหมือนแตงกวา. (กบิลว่าน).
ขับ ๒ : ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา. ขับซอ (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
ข่า ๑ : น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษา ในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่า อัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวก หนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.
ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
ข่า ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Sw. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลําต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามี กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้.
ข้า ๒ : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่ พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ขา ๔ : (โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
ข่า ๔ : น. ไม้ที่ทําเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสําหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็น ตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว.
ขาก ๑ : ก. อาการที่ทําให้เสมหะเป็นต้นในลําคอหลุดออก มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
ขาไก่ ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes dolicophylla R. Ben. ในวงศ์ Acanthaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร ปลูกเป็นรั้ว. (๒) ชื่อเห็ด ชนิดหนึ่งในพวกเห็ดโคน แต่ใหญ่และแข็งกว่า. (๓) เรียกอ้อย ชนิดลําเล็กสีเหลืองว่าอ้อยขาไก่.
ข่าง ๑ : น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุนด้วยมือ หรือด้วยเชือก เรียกว่า ลูกข่าง; ชื่อดาวหมู่หนึ่งมี ๔ ดวงคล้ายรูปลูกข่าง.
ข้างเงิน : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
ข้างจัน : น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
ข้างตะเภา : น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลา ขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัว โตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
ข้าเจ้า : (ถิ่น-พายัพ) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข่าแดง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Achasma sphaerocephalum Holtt. ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกสีแดง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ใกล้พื้นดิน กินได้.
ขาทราย : น. ไม้ ๒ อันผูกหรือร้อยปลายให้อ้าออกเป็นง่ามสําหรับ รับหรือคํ้าของ.
ขาน ๒ : ว. ใช้ประกอบต่อคํา ``ตาย'' ว่า ไม้ตายขาน หมายความว่า ต้นไม้ที่ ยืนต้นตายเป็นแถว ๆ.
ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
ข้าน้อย : (ถิ่น-อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข้าพเจ้า : [ข้าพะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ข้าพระ : (โบ) น. ผู้ที่นายเงินทำหนังสือสำคัญยกให้เป็นคนใช้ของสงฆ์, คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์ เพื่อรักษาวัดและ ปฏิบัติพระสงฆ์.
ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.