-กระจี๋ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระจู๋ เป็น กระจู๋กระจี๋.
กระจุย : ว. กระจายออกยุ่งไม่เป็นระเบียบ, นิยมใช้เข้าคู่กับ กระจุก เป็น กระจุกกระจุย.
กระเจิง : ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
-กระเฉง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระฉับ เป็น กระฉับกระเฉง.
-กระแฉก : ใช้เข้าคู่กับคํา กระฉอก เป็น กระฉอกกระแฉก.
-กระชวย : ใช้เข้าคู่กับคํา กระชุ่ม เป็น กระชุ่มกระชวย.
กระช้อย : ว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด. (นิ. เดือน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระชด เป็น กระชดกระช้อย.
กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
กระชาก : ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
กระชุก ๑ : น. ภาชนะสานรูปกลมสูง สําหรับบรรจุของเช่นนุ่นหรือถ่าน, กระชุ ก็ว่า; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ สัด, และ ๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง.
กระเชอ : น. ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้าง ใช้กระเดียด; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด, กันเชอ ก็เรียก. (เทียบ ข. ก?ฺเชิ). (รูปภาพ กระเชอ)
-กระซวย : ใช้เข้าคู่กับคํา กระซิก เป็น กระซิกกระซวย.
-กระซ้อ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระซี้ เป็น กระซี้กระซ้อ.
กระซาบ : (กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคําเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
กระซิบ : ก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ.
-กระซี้ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระซิก และ กระเซ้า เป็น กระซิกกระซี้ และ กระเซ้ากระซี้.
-กระเซ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระโซ เป็น กระโซกระเซ.
กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
-กระเซิง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซิง.
กระฎุมพี : น. ชนชั้นต่ำ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี. (ป. กุฏุมฺพิก ว่า คนมั่งมี).
-กระดนโด่ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระดก เป็น กระดกกระดนโด่.
-กระดิ้ง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระดุ้ง เป็น กระดุ้งกระดิ้ง.
กระดิบ, กระดิบ ๆ : ก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายน้ำกระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่ กับคํา กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ.
-กระเดก : ใช้เข้าคู่กับคํา กระโดก เป็น กระโดกกระเดก.
-กระเดี้ย : ใช้เข้าคู่กับคํา กระดัก และ กระดิก เป็น กระดักกระเดี้ย และ กระดิกกระเดี้ย.
-กระเดียม : ใช้เข้าคู่กับคํา กระดี้ เป็น กระดี้กระเดียม.
-กระเดี้ยม : ใช้เข้าคู่กับคํา กระด้วม เป็น กระด้วมกระเดี้ยม.
กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
-กระตรำ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระตรก เป็น กระตรกกระตรํา.
-กระตาก : ใช้เข้าคู่กับคํา กระโตก เป็น กระโตกกระตาก.
-กระติก : ใช้เข้าคู่กับคํา กระตุก เป็น กระตุกกระติก.
-กระติ้ง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระตุ้ง เป็น กระตุ้งกระติ้ง.
-กระเตี้ยม : ใช้เข้าคู่กับคํา กระต้วม เป็น กระต้วมกระเตี้ยม.
-กระแต่ง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระต่อง เป็น กระต่องกระแต่ง.
-กระแตะ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระเตาะ เป็น กระเตาะกระแตะ.
กระทงลาย : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Celastrus paniculatus Willd. ในวงศ์ Celastraceae ใบรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักถี่ ดอกเล็กขาว ๆ เหลือง ๆ ออกเป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อแก่แตก เป็น ๓ กลีบ น้ามันจากเมล็ดใช้ทํายา ตามไฟ หรือเคลือบกระดาษ กันน้ำซึม, กระทุงลาย หรือ มะแตก ก็เรียก.
-กระทวย : ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.
กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
-กระทัน : ใช้เข้าคู่กับคํา กระทด เป็น กระทดกระทัน.
-กระทั้น : ใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น.
กระเท่เร่ : ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก.
-กระเทียบ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ.
กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
กระแทก : ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติ แสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
-กระแท้ม : ใช้เข้าคู่กับคํา กระท้อม เป็น กระท้อมกระแท้ม.
กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
-กระเบี้ย : ใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย.
-กระปำ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระปำ.
กระป่ำ ๑ : ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. (ม. คําหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ.