คัน ๑ : น. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสําหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน; สิ่งที่มีลักษณะยาว ทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับถือหรือปัก เช่น คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนาม เรียกรถหรือของที่มีด้ามถือบางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.
คันฉ่อง : น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับ ส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สําหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
คันดาลฉัตร : น. คันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปัก ให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูปเป็นต้น.
คันทวย : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, ทวย ก็เรียก.
คันธ-, คันธะ :
[คันทะ-] (แบบ) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. (ดู กาฬาวก).
คันธรรพเวท, คานธรรพเวท : [คันทันพะเวด, คันทับพะเวด, คานทันพะเวด, คานทับพะเวด] น. วิชาการดนตรี เป็นสาขาหนึ่งของสามเวท. (ส. คนฺธรฺวเวท).
คันนา : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, ลูกคัน หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
คันหามเสือ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในวงศ์ Araliaceae คือ ชนิด Trevesia valida Craib ขึ้นตามหินใกล้ลําธารในป่า ลําต้นมีหนามห่าง ๆ และ ชนิด Aralia montana Blume ลําต้นและใบมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ ยาวประมาณ ๑ เมตร.
คับขัน : ว. จําเป็นเฉพาะหน้าที่จะต้องทําหรือต้องสู้ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, เข้าที่ลําบากหรือจําเป็น, ขับขัน ก็ว่า.
คับแค้น : ว. ลําบาก, ยากไร้, ฝืดเคือง, ลําบากเพราะถูกบีบคั้นทางใจ หรือความเป็นอยู่.
คัพภสาลี : [คับพะ-] น. ข้าวที่กําลังท้องยังไม่แตกเป็นรวง (มักเอามาคั้น เป็นข้าวยาคู). (สิบสองเดือน).
ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
คา ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Imperata cylindrica Beauv. ในวงศ์ Gramineae ใบคาย แข็ง เอามากรองเป็นตับมุงหลังคา เหง้าใช้ทํายาได้.
ค้าง ๒ : น. ชื่อหนึ่งของถั่วฝักยาว ซึ่งมีไม้ค้างปักเป็นหลักให้เถาเกาะ เรียกว่า ถั่วค้าง. (ดู ถั่วฝักยาว ที่ ถั่ว๑).
คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
คางคก ๒ : น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachus grunniens และ Halophryne trispinosus ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลําตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาล เป็นด่างดวงทั่วไป ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะ ชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก.
คางคกไฟ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก แต่ตัวเล็กกว่ามาก ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ.
ค้างคาว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลําตัวมีขนปุย ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลา กลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Pteropus vampyrus) ในวงศ์ Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน (Pipistrellus javanicus) ในวงศ์ Vespertilionidae.
ค้างคาว ๓ : น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัวกะทิ และเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
ค้างคาว ๔ : น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง, แขวน หรือ โตงเตง ก็เรียก.
ค้างเดือนค้างปี : ว. ล่วงเวลานานเป็นเดือนเป็นปี.
ค้างปี : ว. ล่วงเวลานานเป็นปี เช่น เหล้าค้างปี ปลาร้าค้างปี.
ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
คาด ๑ : ก. พันโดยรอบแล้วทําอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นผูกหรือกลัดเป็นต้นเพื่อ ไม่ให้หลุด เช่น เอาผ้าคาดพุง คาดเตี่ยวใบตอง คาดเข็มขัด, พาดเป็น ทางยาวไป เช่น พื้นขาวคาดแดง.
คาดคั้น : ก. แสดงกิริยาวาจาเป็นเชิงบังคับให้เป็นไปตามความประสงค์.
คาดไม่ถึง : ก. ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น.
คาดหน้า : ก. หมายหน้าเป็นเชิงดูหมิ่น.
คาถาพัน : น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถา ภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็น คาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.
ค่าที่ : สัน. เพราะเหตุว่า เช่น เขาได้รับรางวัลค่าที่เป็นคนซื่อสัตย์.
ค่านิยม : น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และ กำหนดการกระทำของตนเอง.
คาบลูกคาบดอก : (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
คาบศิลา : น. ชื่อปืนเล็กยาวอย่างโบราณ มีนกเป็นเหล็กคาบหินเหล็กไฟ หรือหินปากนกสับลงกับเหล็กให้เป็นประกายติดดินหู.
คาบสมุทร : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมเกือบรอบ ตามปรกติมัก ต่อเนื่องกับผืนแผ่นดินใหญ่เป็นคอคอด หรือยื่นยาวออกไปในทะเล.
ค่าย : น. (โบ) ที่ตั้งกองทหาร มีรั้วล้อมรอบ; ที่ตั้งกองทหาร, ที่พักกองทัพ; ที่พักแรมชั่วคราวของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายลูกเสือ ค่ายผู้อพยพ; ฝ่ายที่มีความคิดเห็นแนวเดียวกัน เช่น ค่ายโลกเสรี. (อะหมว่า ล้อม).
คาย ๒ : น. ส่วนที่มีลักษณะเป็นผงหรือขนละเอียดแหลมคมของบางสิ่งบางอย่าง เวลากระทบผิวหนังทําให้รู้สึกระคายคัน เช่น คายข้าว คายอ้อย คายไผ่. ว. อาการที่รู้สึกว่าผงหรือขนเช่นนั้นกระทบตัวทําให้รู้สึกระคายคัน.
ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
ค่ายเยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการ ดํารงชีวิตเป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
คาร์บอน : น. ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. (อ. carbon).
คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
คาร์บอนมอนอกไซด์ : [-มอน็อก-] น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO เป็นแก๊สพิษ ร้ายแรง จุดไฟติดในอากาศให้เปลวสีนํ้าเงินอ่อน เกิดจากการเผาไหม้ โดยไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน มีปรากฏในแก๊สจากท่อไอเสียของ เครื่องยนต์ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ใช้เตรียมเมทิลแอลกอฮอล์ ในอุตสาหกรรม. (อ. carbon monoxide).
คาร์บอเนต : น. เกลือปรกติของกรดคาร์บอนิก เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของหินปูน หินอ่อน กระดูก เป็นต้น. (อ. carbonate).
คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
คาร์โบไฮเดรต : [-เดฺรด] น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาล และ พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สําคัญ มากประเภทหนึ่ง. (อ. carbohydrate).
คาราวาน : น. หมู่คนหรือยานพาหนะเป็นต้นซึ่งเดินทางไกลร่วมกันเป็น ขบวนยาว. (อ. caravan).
ค่าว : (ถิ่น-พายัพ) น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรําพันความรัก หรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจําปาสี่ต้น หมายถึง คํากลอนเรื่องจําปาสี่ต้น.
คาวตอง : [คาว-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Houttuynia cordata Thunb. ในวงศ์ Saururaceae ใบใช้เป็นอาหาร, พลูคาว ก็เรียก.
ค่าหน้าดิน : น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็น ค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน.
ค่าหัว : น. ราคาที่กําหนดไว้เป็นค่าเอาชีวิต.
คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
คำขวัญ : น. ถ้อยคําที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล.