เคี่ยวเข็ญ : ก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลําบาก เช่น เคี่ยวเข็ญ เย็นค่ำกรำไปตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับ ให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
เคื้อ ๑ : (กลอน) ว. งาม, โดยมากเป็น อะเคื้อ.
แค้ : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ชนิด Bagarius bagarius ในวงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่หนวดแบน ตาเล็ก ลําตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มสีนํ้าตาลแก่พาดขวาง เป็นระยะอยู่บนหลัง ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้า สายใหญ่ ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร, ตุ๊กแก ก็เรียก.
แคดเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ํซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอน ได้ดี จึงทําเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. cadmium).
แคน : น. เครื่องดนตรีทางถิ่นอีสาน ทําด้วยไม้ซางผูกเรียงต่อกับเต้าแคน สําหรับเป่าเป็นเพลง.
แค่น : ก. ฝืน เช่น แค่นกิน, คะยั้นคะยอ เช่น แค่นให้กิน, ทําไม่เป็นหรือ ไม่สันทัดแล้วยังอวดดีขืนทํา เช่น แค่นทำ, สะเออะ เช่น ไม่มีเงิน ยังแค่นแต่งตัวโก้.
แคปซูล : น. หลอดเล็ก ๆ ทําด้วยสารที่ไม่เป็นพิษ และละลายได้ง่าย ใช้บรรจุยา; ส่วนของยานอวกาศที่มีอุปกรณ์จําเป็นพร้อมมูล สามารถแยกตัวออก จากส่วนอื่นได้; (พฤกษ) ลักษณะของผลที่เมื่อแก่เปลือกหุ้มผลจะแห้ง แล้วแตกแยกออกจากกันเป็นหลายซีกหรือหลายรู เช่น ผลลําโพง ฝิ่น. (อ. capsule).
แคฝอย : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Stereospermum วงศ์ Bignoniaceae เช่น ชนิด S. fimbriatum (Wall. ex G. Don) A. DC. ดอกสีชมพูอม ม่วงอ่อน ขอบกลีบดอกรุ่ยเป็นริ้วยาว ๆ ไม่เป็นระเบียบ.
แคร่ ๑ : [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วยฟาก หรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทําเสาเป็น เครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์. (รูปภาพ แคร่คานหาม)
แครงเครียว : [แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คําหลวง มหาพน).
แคลคูลัส : [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
แคลเซียม : [แคน-] น. ธาตุลําดับที่ ๒๐ สัญลักษณ์ Ca เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๓๘ํซ. เป็นองค์ประกอบ สําคัญของกระดูก ฟัน หินอ่อน หินปูน. (อ. calcium).
แคลเซียมคาร์ไบด์ : น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี CaC2 ลักษณะเป็น ของแข็งสีเทา เมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าจะได้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติด ให้ความสว่าง ใช้เป็นตะเกียงได้. (อ. calcium carbide).
แคลเซียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี (C6H11NHSO3)2 Ca?2H2O ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานมากกว่า นํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่า สารนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้. (อ. calcium cyclamate).
แคล้ว : [แคฺล้ว] ก. รอดไป, พ้นไป, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น เป็นเนื้อคู่กัน แล้วไม่แคล้วกัน ไม่แคล้วไม้เรียว.
แคลิฟอร์เนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๘ สัญลักษณ์ Cf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. californium).
แคว้น : [แคฺว้น] น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์; เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็น ส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย.
แคแสด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spathodea campanulata Pal. ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นพุ่มหนา ดอกสีแสด ออกดอกในฤดูหนาว.
แคะ ๒ : ก. ใช้เล็บหรือสิ่งมีปลายแหลมเป็นต้นทําให้สิ่งที่ติดอยู่ข้างในหรือ ในซอกในรูหลุดออกมา.
โค ๑ : น. วัว (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สั่งซื้อแม่โคพันธุ์ใหม่จาก ต่างประเทศ. (ป., ส.).
โคก ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลําตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ด ที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงิน อยู่รวม กันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก.
โคกกระสุน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tribulus terrestris L. ในวงศ์ Zygophyllaceae ผลเป็นหนาม ใช้ทํายาได้. (เทียบ ส. โคกษุร).
โคกกระออม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cardiospermum halicacabum L. ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ลําต้นเรียวเป็นร่อง ใบสีเขียวอ่อน มีมือเกาะ ดอกเล็ก สีขาว ผลกลม มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมพองลมหุ้มอยู่ รากและใบใช้ทํายาได้, กระออม ก็เรียก.
โคเคน : น. สารอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H21O4N ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว มีปรากฏในใบของต้นโคคา (Erythroxylum coca Lam.) ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาเสพติด. (อ. cocaine).
โค่ง ๒ : น. คําเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุ แต่ไม่ยอมอุปสมบทว่า เณรโค่ง.
โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
โคไซน์ : (คณิต) น. โคไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้านประชิด มุมนั้น ส่วนความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อถือเอารูปสามเหลี่ยม มุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. cosine).
โคตร, โคตร- : [โคด, โคดตฺระ-] น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร; คํานี้บางทีก็นําไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคําด่า เช่น ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล).
โคตรภู : [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับ อริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่าง จากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
โครง : [โคฺรง] น. ร่างของสิ่งต่าง ๆ ที่คุมกันอยู่เป็นรูป เช่น โครงกระดูก โครงว่าว.
โคร่ง ๑ : [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่าเสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด, สูงโย่ง).
โครงสร้าง : น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็น รูปร่างเดียวกัน.
โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
โครโมโซม : น. ส่วนหนึ่งของนิวเคลียสของเซลล์ มีลักษณะเป็นท่อนหรือเป็นเส้น ประกอบขึ้นด้วยสารดีเอ็นเอ (DNA = deoxyribonucleic acid) เชื่อมกับ โปรตีน ทําหน้าที่สําคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ทั้งควบคุมการทํางานของเซลล์และการแบ่งเซลล์. (อ. chromosome).
โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
โคโรค : น. ปรวดเป็นก้อนอยู่ในหนังโค ใช้เป็นเครื่องยา. (ส. โคโรจน).
โคออร์ดิเนต : (คณิต) น. การกําหนดตําแหน่งของจุดบนระนาบหรือในปริภูมิโดย อาศัยแกนอ้างอิงเป็นหลัก. (อ. coordinate).
ใคร่ : [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
ใคร ๑ : [ไคฺร] ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่นใครมา เขาไปกับใคร.
ฅ : พยัญชนะตัวที่ ๕ นับเป็นพวกอักษรต่ำ แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้แล้ว.
ฆ : พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ
ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
ฆ้องกระแต : น. ฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดย ทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่ง มีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้สำหรับถือตีเป็นสัญญาณ ในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ.
ฆ้องชัย : น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
ฆ้องวง : น. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สําหรับร้อยหนัง ตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทําด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลําดับ มีหลายชนิด คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.
ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
ฆานินทรีย์ : น. จมูกซึ่งเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น. (ป. ฆาน + อินฺทฺริย).
โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).