จวนตัว : ว. เข้าที่คับขัน, เข้าที่จําเป็น.
จอ ๑ : น. ชื่อปีที่ ๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย.
จ่อ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็น ช่องโค้งอยู่ภายในใช้เลี้ยงตัวไหม.
จอก ๑ : น. ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สําหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก; ภาชนะเล็ก ๆ รูป ทรงกระบอก ใช้กินยา ดื่มเหล้า เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น เหล้า ๓ จอก.
จอก ๒ : น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Pistia stratiotes L. ในวงศ์ Araceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า ไม่มีลําต้นมีแต่รากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเป็นแผ่นสีเขียวสดซ้อน ๆ กัน เป็นกลุ่ม ยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร.
จอกหูหนู : น. ชื่อผักกูดนํ้าชนิด Salvinia cucullata Roxb. ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้า เล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู.
จ่อคิว : (ปาก) ว. ใกล้ถึงลำดับที่จะได้หรือจะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้น (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็น
จองกฐิน : ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็น การล่วงหน้า.
จองถนน : (โบ) ก. ถมที่ลุ่มขึ้นเป็นถนน.
จองเปรียง : [-เปฺรียง] น. ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเป็นเจ้า ทําในวันเพ็ญเดือน ๑๒.
จ้องหน่อง : น. เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วย เชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี.
จอน ๒ : (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ).
จ่อม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทําด้วยปลาหรือกุ้งตัวเล็ก ๆ หมักเกลือไว้ระยะหนึ่ง แล้วใส่ข้าวสารคั่วป่น ทำด้วยปลาเรียกว่า ปลาจ่อม ทำด้วยกุ้งเรียกว่า กุ้งจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
จอมขวัญ : น. ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง หญิงที่รัก.
จอมใจ : น. หญิงที่เป็นยอดดวงใจ.
จอมไตร : น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ).
จอมปลวก : น. รังปลวกขนาดใหญ่ที่สูงเป็นจอมขึ้นไป.
จอมปลอม : ว. ที่หลอกลวงให้คนเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง เช่น ของจอมปลอม ผู้ดีจอมปลอม บัณฑิตจอมปลอม.
จอมพล : น. ยศทหารบกชั้นสูงสุด, ถ้าเป็นทหารเรือ เรียก จอมพลเรือ, ถ้าเป็นทหารอากาศเรียก จอมพลอากาศ.
จ้ะ : ว. คํารับ (ใช้เป็นสามัญทั่วไป).
จะ ๑ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นใน
จ๋ะ ๒ : ว. เสียงประกอบคําเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคํา จ๋า).
จะกรัจจะกราจ : (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
จะกรุน, จะกรูน : ว. สีดํา, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชํานิเมามัน หลากหลาก หลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล. (อนิรุทธ์).
จะกละ ๒ : น. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจําพวกผีป่า หมอผี ชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทําร้ายศัตรู. (สยามสมาคม).
จะกูด : น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่าง คล้ายพาย มีด้ามยาว, จังกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก.
จะเข้ ๑ : น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
จะจะ : ว. ให้ชัดเจน, กระจ่าง, เช่น เขียนจะจะ; ห่างเป็นระยะ ๆ เช่น ดํานาจะจะ.
จะปิ้งเรือ : น. แผ่นโลหะโดยมากทําเป็นรูปดอกจัน สําหรับตรึงที่โคนห่วง ร้อยโซ่ผูกเรือ.
จะละเม็ด ๑ : น. ชื่อปลาทะเลในวงศ์ Stromateidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลําตัวแบน ข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา (P. chinensis) หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดํา (Parastromateus niger) ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้อง เฉพาะในปลาขนาดเล็ก.
จ๊ะเอ๋ : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งที่ผู้หนึ่งโผล่หน้าหรือเปิดหน้าแล้วพูดว่า ''จ๊ะเอ๋'' กับอีกผู้หนึ่งซึ่งมักเป็นเด็ก.
จัก ๑ : ก. ทําให้เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ คล้ายฟันเลื่อย, เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ. ว. เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ.
จักจั่น ๑ : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลําตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิด เจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่ ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับทําเสียงได้ยินไปไกล ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Dundubia intermerata.
จักตอก : ก. เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบนบาง สำหรับใช้ผูกมัด หรือสานสิ่งต่าง ๆ.
จักร, จักร- : [จัก, จักกฺระ-] น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียก เครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุนว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า; บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร.(ส., ป. จกฺก).
จักรราศี : น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดย รอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจําของดวงอาทิตย์ซึ่งดู เสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือ ราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทาง โหราศาสตร์ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. (ส.).
จักรวรรดิ : [-หฺวัด] น. รัฐหรือสหภาพของรัฐต่าง ๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตยการ ปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ. (ส.; อ. empire).
จักรวาล : [-วาน] น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพง ล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของ โลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).
จักริน, จักรี : [จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชาตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. (ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).
จั๋ง ๒ : น. ชื่อปาล์มชนิด Rhapis excelsa Henry ในวงศ์ Palmae ใบรูปพัด ปลูกเป็นไม้ประดับ, เท้าสาน ก็เรียก.
จังกูด : น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่างคล้ายพาย มีด้ามยาว, จะกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก. (ข. จงฺกูต).
จังไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จัญไร ก็ว่า. (ข. จงฺไร).
จังลอน : น. ปลาหรือเนื้อโขลกปั้นเป็นก้อนหรือเป็นแผ่นเคี่ยวกับนํ้ากะทิ สําหรับกิน กับขนมจีนซาวนํ้า, บางทีใช้โขลกปลาปั้นเป็นก้อนเสียบไม้ปิ้งไฟ เรียกว่า จังลอนแห้ง, แจงลอน ก็ว่า.
จังหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับ หลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
จังหวะ : น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่). จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
จัญไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.
จัณฑาล : [จันทาน] ว. ตํ่าช้า. น. ลูกคนต่างวรรณะ. (ส. จณฺฑาล ว่า ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์).
จัด ๒ : ก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทําให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลําดับ, เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.
จัตุรัส : [-หฺรัด] น. เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่มีมุมภายในเป็นมุมฉากว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส.