จุรณ, จูรณ : [จุน, จูน] น. ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง, เช่น แหลกเป็นจุรณ, โบราณ เขียนเป็น จุณ ก็มี. (ส. จูรฺณ; ป. จุณฺณ).
จุรณมหาจุรณ, จุรณวิจุรณ : [จุนมะหาจุน, จุนวิจุน] น. ของที่แหลก ละเอียดมาก เช่น แหลกเป็นจุรณมหาจุรณ แหลกเป็นจุรณวิจุรณ, โบราณเขียนเป็น จุณมหาจุณ หรือ จุณวิจุณ ก็มี.
จุลวงศ์ : [จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.
จุลวรรค : น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ในพระวินัยปิฎก; ชื่อมาตราปักษคณนา คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ เป็นจุลวรรค.
จุลสาร : น. สิ่งตีพิมพ์ที่บอกเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ออกมาเป็นคราว ๆ ไม่มี กําหนดเวลาแน่นอน.
จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
จุฬาราชมนตรี : น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.
จูงนางเข้าห้อง : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินตามช่อง ในรูปเป็นวงอย่างก้นหอย.
เจ็ดชั่วโคตร : น. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย.
เจ็ดตะคลี : [-คฺลี] น. ผ้าลายอย่างดีชนิดหนึ่ง, เขียนเป็น เจตตะคลี หรือ เจ็ตคลี ก็มี.
เจดีย์ ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Turritellidae เปลือกเวียน เป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ เช่น ชนิด Turritella terebra.
เจดีย-, เจดีย์ ๑ : [-ดียะ-] น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือ มีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. (ป. เจติย; ส. ไจตฺย).
เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
เจตสิก : [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
เจ็บ : ก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร; รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตีหรือ เป็นแผลเป็นต้น.
เจ็บร้อน : ก. เป็นเดือดเป็นแค้น.
เจรจา : [เจนระจา] ก. พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ. (ส. จรฺจา).
เจว็ด : [จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
เจษฎา ๑ : [เจดสะดา] น. ผู้เป็นใหญ่ที่สุด, พี่. (ป. เชฏ?; เชฺยษฺ?).
เจอร์เมเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๒ สัญลักษณ์ Ge เป็นโลหะสีขาว เปราะ หลอมละลายที่ ๙๓๗.๔?ซ. มีสมบัติเป็นกึ่งตัวนํา สารประกอบแมกนีเซียมเจอร์เมเนต ใช้ประโยชน์ในหลอดวาวแสง (fluorescent lamp). (อ. germanium).
เจ่า ๑ : น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
เจ้า ๓ : น. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน; คํานําหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่.
เจ้าคุณ : (โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มี บรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็น พระราชาคณะ.
เจ้าจำนำ : น. ผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจํา.
เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
เจ้าที่ ๑ : น. พระภูมิ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พระภูมิเจ้าที่. เจ้าที่ ๒, เจ้าที่เจ้าทาง น. เทวดารักษาพื้นที่และหนทาง.
เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
เจ้าประคู้น : น. คําเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้มาช่วยให้สมประสงค์, เป็นคำอุทานแสดงถึงการอ้อนวอน อธิษฐาน บนบาน หรือ สาปแช่ง เป็นต้น.
เจ้าพนักงาน : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็น ประจําหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทําหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
เจ้าพนักงานภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานัก มีหน้าที่ถวายทรง พระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.
เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
เจ้าพ่อ : น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
เจ้าพายุ : น. ชื่อตะเกียงชนิดหนึ่งเมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันนํ้ามันเป็นไอ ขึ้นไปเลี้ยงไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
เจ้าฟ้า : น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดา เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด : (สํา) น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
เจ้าสามสี : น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์ เช่นแสงไฟจากหลอดไฟ จะ มีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, พลอยสามสี ก็เรียก.
เจ้าหล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คํา ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย ในบุรุษที่ ๓.
เจ้าหัว, เจ้าหัวกู : (โบ) น. ผู้เป็นเจ้าเหนือหัว (ใช้เรียกพระสงฆ์).
เจ้าอธิการ : น. พระที่ดํารงตําแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น.
เจาะ ๑ : ก. ทําให้เป็นช่องเป็นรู.
เจาะจมูก : ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูก ห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลํากับ ท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ.