ฉาน ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ส. ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ฉาบ ๑ : น. เครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะรูปร่างเป็นแผ่นกลม คล้ายจานแต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง เจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือ เส้นหนังสําหรับถือตี.
ฉาบหน้า : (ปาก) ก. เสแสร้งเพื่อให้เข้าใจว่ามีสถานะดีกว่าที่เป็นจริง.
ฉาปะ : (แบบ) น. ลูกสัตว์, แผลงเป็น จาปะ ก็มี. (ป.; ส. ศาว).
ฉายา ๑ : น. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
ฉำฉา ๑ : น. ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อน โดยมากเป็นพวกไม้สนที่ใช้ทําหีบบรรจุของมา จากต่างประเทศ.
ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
ฉิบหาย : ก. สูญหมด, เสียหมด, หมดเร็ว, ป่นปี้, โดยปริยายใช้เป็นคําด่า คําแช่ง หมายความเช่นนั้น. (ปาก) ว. มาก เช่น เก่งฉิบหาย.
ฉีก : ก. ขาดแยกออกจากกันหรือทําให้ขาดหรือแยกออกจากกัน เช่น ผ้าฉีก ฉีกผ้า ฉีกทุเรียน,โดยปริยายหมายความว่า แยกสิ่งที่เป็นคู่หรือเป็นสํารับ ออกจากกัน เช่น ฉีกตองไพ่.
ฉุกเฉิน : ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่ง ราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน.
เฉย : ก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ เช่น ถูกด่าว่า ก็เฉย. ว. นิ่งอยู่ไม่แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เช่น นอนเฉย.
เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
เฉลว : [ฉะเหฺลว] น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ''๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของ ซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า.
เฉลียบ ๑ : [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides lysan ในวงศ์ Carangidae หัวและลําตัวแบนข้างมาก เกล็ดละเอียดแทรกแน่นอยู่ในหนัง เกล็ดบน เส้นข้างตัวไม่เป็นสันแข็ง ลําตัวและปากไม่กว้างเท่าปลาสละ แต่เพรียว และค่อนข้างยาว ปากกว้างกว่าปลาสีเสียดเล็กน้อยและมีจุดดํา ๒ แถว เรียงตามยาวอยู่ข้างลําตัว.
เฉลียบ ๒ : [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Isognomon isognomum ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน ขอบด้านบนค่อนข้างเป็นแนวตรง ขอบ ด้านล่างโค้งเว้าทางด้านหน้า นูนทางด้านตรงข้าม สีเข้มเกือบดำ เกาะอยู่ ตามรากไม้หรือหินในป่าชายเลน.
เฉาฮื้อ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สําคัญคือ ลําตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลําตัวสีเงินอาศัยหากินพืชน้ำอยู่ใกล้ผิวน้า มีถิ่นเดิมอยู่ใน ประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
เฉาะ : ก. เอามีดสับลงเป็นที่ ๆ เฉพาะที่ต้องการแล้วงัดให้แยกออก เช่น เฉาะตาล เฉาะฝรั่ง. น. เรียกเนื้อในตาลอ่อนที่เฉาะออกมาจากเต้าตาลว่า ตาลเฉาะ.
เฉาะปล่อง : ก. ทําให้เป็นช่องไป.
เฉิบ, เฉิบ ๆ : ว. คําร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรํา, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รําเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไป ในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.
เฉียงพร้าดำ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Justicia ventricosa wall. ในวงศ์ Acanthaceae ต้นสูงได้ ถึง ๓ เมตร ใบออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนใบแหลม ดอกสีขาวประแดง ออกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง ต้นและใบใช้ทํายาได้, บัวฮาดํา ก็เรียก.
แฉ่ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฝนตกพรํา ๆ เป็นระยะ ๆ หรือเสียงที่เอาโลหะ เผาไฟร้อนจุ่มลงในน้า.
แฉก, แฉก ๆ : ว. ลักษณะของสิ่งที่เป็นแผ่นและแยกออกเป็นจัก ๆ หรือเป็นทางยาว เช่น พัดแฉกดาว ๕ แฉก ใบตาลเป็นแฉก ๆ; เรียกพัดยศพระราชาคณะ มียอด แหลมและริมเป็นจัก ๆ ว่า พัดแฉก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็น แฉก ๆ เช่น ใบมะละกอมี ๕ แฉก รูป ๓ แฉก.
แฉละ : [ฉะแหฺละ] ก. แล่, เถือให้เป็นชิ้นบาง ๆ, เชือด, ชําแหละ ก็ใช้.
โฉงเฉง : ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทํานองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง.
โฉนด : [ฉะโหฺนด] น. หนังสือสําคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อนนี้ ถ้าเป็นสวนปลูกไม้ยืนต้น เรียกว่า โฉนดสวน, ถ้าเป็นสวนไม้ล้มลุก เรียกว่า โฉนดป่า, เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดยวิธีรังวัดปักหลักเขต ลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่ และแสดงรูปแผนที่ที่ดินนั้นลงไว้ ในโฉนดด้วย เรียกว่า โฉนดแผนที่; หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่ ราชการ. (บรมราชาธิบาย ร. ๔).
โฉมศรี : น. รูปเป็นสง่า.
โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
ไฉน ๑ : [ฉะไหฺน] ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา.
ไฉยา :
(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา๒).
ช ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.
ชคัตตรัย : [ชะคัดไตฺร] (แบบ) น. โลก ๓ เช่น ชคัตตรยาพดง ว่า ผู้เป็นยอด ของ โลก ๓. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
ชฎา : [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
ชฎากลีบ : น. ชฎารูปเหมือนชฎาเดินหน แต่มีกลีบเป็นลาย ประดับมาก.
ชฎามหากฐิน : น. ชฎาที่ทํายอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปัก ตอนบน, ชฎาห้ายอด ก็เรียก.
ชฎิล : น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี. (ป., ส.).
ชนกกรรม : [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอัน เป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
ชนวน ๑ : [ชะ] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่น และละเอียดมีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี;เรียกกระดานเขียน หนังสือทําด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้ จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดิน ระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยาย หมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.
ชนัก : [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอ ช้างทําด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. (รูปภาพ ชนัก)
ชนินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน. (ส. ชน + อินฺทฺร).
ชมนาด : [ชมมะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vallaris glabra Kuntze ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่, ดอกข้าวใหม่ ก็เรียก, เขียนเป็น ชํามะนาด ก็มี.
ชมบ : [ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.
ชมพูทวีป : (แบบ) น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน; ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ ของเขา พระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีปได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรือ อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.
ชระ ๒ : [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคําในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน.
ชระง่อน : [ชฺระ] (กลอน) น. ชะง่อน, หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่น ออกมาจากเขา.
ชระเดียด : [ชฺระ] (กลอน) ว. รายไป, เรียดไป, โบราณเขียนเป็น ชรดียด ก็มี เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).ชระเดียดชระดัด (กลอน) ว. เกลื่อนกล่น, ดาษดื่น.
ชราธรรม : ว. มีชราเป็นธรรมดา, มีความแก่ความชํารุด ทรุดโทรมเป็นธรรมดา.
ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
ชเล : (โบ) น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร ว่า ผู้เที่ยวไปในนํ้า.
ชโลง : [ชะ] (โบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซ, จรรโลง, จูง เช่น ให้เป็นหลักชโลงจิต. (กฎ. ราชบุรี).
ชว : [ชะวะ] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.