ซ้อม ๑ : ก. ทําข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร โดยวิธีใส่ครกตํา เรียกว่า ซ้อมข้าว. ว. เรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
ซ้อมค้าง : ก. พูดทึกทักเอาราวกับเป็นจริง.
ซอย : ก. ทําถี่ ๆ เช่น ซอยเท้า, สับถี่ ๆ เช่น ซอยมะม่วง, หั่นถี่ ๆ เช่น ซอยหอม; ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็ก ๆ เช่น ซอยไม้ระแนง. ว. เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่ เช่น ถนนซอย คลองซอย. น. ถนนหรือทางย่อยที่แยกจากทางใหญ่ เช่น ซอยลาดพร้าว ๑; ลักษณนามเรียกถนนหรือทางที่แยกจากถนนใหญ่ เช่น ถนนสายนี้ มีหลายซอย.
ซัง : น. ตอข้าวที่เกี่ยวรวงแล้ว; สิ่งที่เป็นเส้น ๆ หุ้มยวงขนุน; ฝักข้าวโพด ที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว; ตาที่อยู่ตามมุมของกระดานดวด.
ซั้ง : น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่นํ้า เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อปลาให้เข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับ ก็เอาเฝือกหรืออวนล้อมแล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, กรํ่า หรือ กลํ่า ก็ว่า.
ซัดเซ : ก. เที่ยวไปไม่เป็นตําแหน่งแห่งที่.
ซัลฟา : น. ชื่อยาประเภทหนึ่ง เป็นสารอินทรียสังเคราะห์ ประเภทอนุพันธ์ ของกรดซัลฟานิลิก เช่น ซัลฟาไดอะซีน ซัลฟากัวนิดีน มีสมบัติ หยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย. (อ. sulpha).
ซั้ว ๒ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อน แล้วจึงนำมาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้มใหม่พร้อมกับ เครื่องปรุงประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ ซั้วกบ.
ซา ๒ : ก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น ฝนซา ไฟซา.
ซ่า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีจุดสีดํา บนเกล็ดข้างตัว จนเห็นเป็นลาย ๖๑๐ เส้น ที่โคนหางมีจุดสีดํา เช่น ขี้ขม (Osteochilus hasselti) สร้อยลูกกล้วย (Labiobarbus spilopleura).
ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
ซากดึกดำบรรพ์ : น. ซากของพืชหรือสัตว์ดึกดําบรรพ์ที่ฝังอยู่ เป็นเวลานานมาก จนกระทั่งกลายเป็นหิน. (อ. fossil).
ซาง ๑ : น. ชื่อไผ่หลายชนิดในสกุล Dendrocalamus วงศ์ Gramineae ชนิดปล้องเล็กบางยาวใช้เป็นลํากล้องเป่าลูกดอก หรือลูกดินเหนียว ปั้นกลมเป็นต้น เรียกว่า ไม้ซาง.
ซาง ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.
ซาแมเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๒ สัญลักษณ์ Sm เป็นโลหะหายาก ลักษณะ เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๗๒ํซ. (อ. samarium).
ซาลาเปา : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม. (จ.).
ซิงโคนา : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Cinchona วงศ์ Rubiaceae เปลือก มีควินินใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น. น. ผ้าถุงอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงนุ่ง.
ซิ, ซี : คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือ ให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
ซินนามิก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C6H5CH : CHCOOH เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายนํ้าได้บ้างเล็กน้อย มีปรากฏใน ธรรมชาติทั้งในภาวะอิสระ และในภาวะรวมตัวเป็นสารประกอบ กับสารอื่น มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งหลอมละลายที่ ๔๒?ซ. อีกชนิดหนึ่ง หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. โดยทั่วไปหมายถึงชนิดหลัง ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม. (อ. cinnamic acid).
ซิฟิลิส : น. กามโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Treponema pallidum ติดต่อโดยการสัมผัสหรือร่วมประเวณีกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้. (อ. syphilis).
ซิลิคอน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๔ สัญลักษณ์ Si เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๔๑๐บซ. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุนี้ประมาณ ร้อยละ ๒๕. (อ. silicon).
ซี่ : น. คําเรียกของเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นแนวอย่างฟัน หรือลูกกรง, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ฟันซี่หนึ่ง ฟัน ๒ ซี่.
ซี่โครง : น. กระดูกโครงอกที่เรียงเป็นซี่ ๆ.
ซีเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๕ สัญลักษณ์ Cs เป็นโลหะสีเงิน ไวต่อปฏิกิริยา เคมีมาก หลอมละลายที่ ๒๘.๗?ซ. (อ. caesium, cesium).
ซีนอน : น. ธาตุลําดับที่ ๕๔ สัญลักษณ์ Xe เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๐.๐๐๖ ใน ๑ ล้านส่วนในบรรยากาศ. (อ. xenon).
ซีเมนต์ : น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับ นํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สําคัญของซีเมนต์ คือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์ เพื่อทําคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อเป็นต้น เรียกว่า ปูนซีเมนต์. (อ. cement).
ซีเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๘ สัญลักษณ์ Ce เป็นโลหะสีเทา เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๐๔?ซ. (อ. cerium).
ซีลีเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมี คล้ายกับธาตุกํามะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗?ซ. ใช้ประโยชน์ทําเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. (อ. selenium).
ซึง : น. เครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ รูปร่างคล้ายกระจับปี่ ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูระบายอากาศตรงกลาง มีคันต่อ จากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสาย ๔ สาย.
ซึ่ง : ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขา อยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็น ผู้ถูกกระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
ซึ้ง ๑ : น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ความร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อน สุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ้ง).
ซื่อตรง : ก. ประพฤติตรงไม่เอนเอียง เช่น ซื่อตรงต่อหน้าที่, ไม่คดโกง เช่น เขาเป็นคนซื่อตรง.
ซื้อรู้ : ก. เสียเงินตราหรือสิ่งของเป็นต้นโดยถูกลวง แต่ได้เป็นความรู้ไว้.
ซื่อเหมือนแมวนอนหวด : (สํา) ว. ทําเป็นซื่อ.
ซุกซิก : ว. มีลักษณะแคบ ๆ เป็นซอกเล็กซอกน้อยน่ารําคาญ.
ซุง ๑ : น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ตัดเป็นท่อน ๆ ก่อนแปรรูป.
ซุบ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง จําพวกยําเรียกชื่อตามสิ่งของ ที่นํามาประกอบเป็นหลัก เช่น ซุบหน่อไม้ ซุบเห็ด.
ซุบซู่ : ว. มีอาการหดห่อตัวอย่างคนเป็นไข้.
ซุ้ม ๑ : น. สิ่งที่เป็นพุ่มโดยมากปกคลุมด้วยต้นไม้หรือเถาวัลย์ มีทางลอดได้ เช่น ในป่าเถาวัลย์ขึ้นเป็นซุ้มเองตามธรรมชาติ, ต้นไม้ซึ่งขึ้นปกคลุม สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อรองรับ มีทางลอดได้ เช่น ปลูกกระดังงาเป็นซุ้ม, ซุ้มไม้ ก็เรียก.
ซุ้ม ๒ : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในการรับเสด็จเป็นต้น มีรูปลักษณะอย่างซุ้มไม้, ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทําขึ้นใช้กันแดดกันฝนชั่วคราว ส่วนบนมักโค้ง เช่น ซุ้มดอกเห็ด, สิ่งที่ทําขึ้นสําหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของ ประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปต่าง ๆ กัน เช่นมีรูปคล้ายหน้าจั่ว เรียกว่า ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง หรือ ซุ้มรังไก่.
ซุ้มจระนำ : น. ชื่อซุ้มท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์ เป็นช่องตัน มักเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูป
ซูโครส : [โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐บซ. องค์ประกอบ เป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทําจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).
เซ็น ๑ : น. ไม้ที่สอดเข้ากับลูกตั้งเรือนฝากระแชงอ่อนหรือฝาขัดแตะ. ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่ง ประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, สวน ก็ว่า.
เซนติเกรด : [เกฺรด] น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซนติเกรด, ปัจจุบันใช้ องศาเซลเซียส, อักษรย่อว่า ซ. (อ. centigrade).
เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
เซลเซียส : น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กําหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐บซ.) และจุดเดือด ของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐บซ.), อักษรย่อว่า ซ. (อ. celsius).
เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
เซลลูโลส : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดที่ ซับซ้อน มีสูตรเคมี (C6H10O5)n ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคส มากมายเชื่อมโยงกัน เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสําคัญของเนื้อไม้ ฝ้าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ ไหมเทียม ดินระเบิด ฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มถ่ายรูปชนิดไม่ไวไฟ เป็นต้น. (อ. cellulose).
เซอร์โคเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๐ สัญลักษณ์ Zr เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็น ของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๘๕๒บซ. (อ. zirconium).
เซาะ : ก. ทําให้กร่อนหรือร่อยหรอเข้าไปทีละน้อย เช่น นํ้าเซาะตลิ่ง เซาะรูให้กว้าง. น. ซอกเขาเล็ก ๆ ที่นํ้าเซาะให้เป็นทางลงมา.