Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสมาชิก, สมาชิก, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นสมาชิก, สมาชก, สมาชิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นสมาชิก, 8091 found, display 2851-2900
  1. เซาะลาย : ก. ทําให้เป็นลวดลายหรือรอยลึก.
  2. เซิง ๑ : น. ที่รกเป็นสุมทุมพุ่มไม้หรือมีไม้เถาปกคลุมอยู่ข้างบน, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมยุ่งเป็นเซิง, กระเซิง ก็ว่า.
  3. เซียน : น. ผู้สําเร็จ, ผู้วิเศษ; โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่เก่งหรือชํานาญ ในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เซียนการพนัน. (จ.).
  4. เซียว ๑ : ว. มีเนื้อแข็งเป็นแกน (ใช้แก่หัวเผือกหัวมัน).
  5. แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2•CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
  6. แซงแซว : น. ชื่อนกในวงศ์ Dicruridae ขนสีดําหรือเทาเป็นมัน ตาสีแดง หางเรียวยาว กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้านยาวออกไปตรงปลายแผ่ออกเป็นแผ่นขน คือ แซงแซวหางบ่วงเล็ก (D. remifer) และแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (D. paradiseus), ๒ ชนิดหลังนี้เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง; เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซวว่า ธงหางแซงแซว.
  7. แซม : ก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไป ในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรก หรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชํารุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซม หลังคา. น. เรียกม้าที่มีขนสีอื่นแทรกขึ้นมาในระหว่างขนที่เป็นพื้น ว่า ม้าแซม.
  8. โซ่ ๒ : น. โลหะมีเหล็กเป็นต้นที่เกี่ยวกันเป็นข้อ ๆ เป็นสายยาวสําหรับ ผูกล่ามแทนเชือก.
  9. โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
  10. โซงโขดง : [–ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
  11. โซดาแผดเผา : น. สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ไหมเรยอง, โซดาไฟ หรือ คอสติกโซดา ก็เรียก. (อ. caustic soda).
  12. โซเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๑ สัญลักษณ์ Na เป็นโลหะสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๙๗.๘บซ. สารประกอบสําคัญของธาตุนี้ ที่พบมาก คือ เกลือแกง. (อ. sodium).
  13. โซเดียมคาร์บอเนต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2CO3 เมื่อเป็นผลึกมีสูตร Na2CO3•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําแก้ว สบู่ กระดาษ ทําลายความกระด้างของนํ้า. (อ. sodium carbonate).
  14. โซเดียมซัลเฟต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2SO4 เมื่อเป็นผลึก มีสูตร Na2SO4•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติ เป็นยาถ่าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ผงซักฟอก สีย้อม แก้ว กระดาษ. (อ. sodium sulphate).
  15. โซเดียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H11NHSO3Na ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิด โรคมะเร็งได้. (อ. sodium cyclamate).
  16. โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร HOOC•(CH2)2•CH(NH2)COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ชูรสอาหาร มักเรียกกันว่า ผงชูรส. (อ. sodium hydrogen glutamate).
  17. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
  18. โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHSO4 ลักษณะเป็นของแข็ง ละลายนํ้าได้ใช้ประโยชน์เป็นสารทํา ความสะอาดแผ่นเหล็กก่อนที่จะฉาบด้วยดีบุก. (อ. sodium hydrogen sulphate).
  19. โซ่ลาน : น. โซ่เหล็กกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร หนา ๐.๕ มิลลิเมตร ไม่ยืดหรือหดในทุกอุณหภูมิ มี ๒ ขนาด คือ ยาว ๔๐ เมตร และ ๕๐ เมตร ทั้ง ๒ ขนาด แบ่งออกเป็น ๑๐๐ ข้อต่อกัน ใช้วัดที่ดิน.
  20. ไซ ๒ : น. ชื่องูชนิด Enhydris bocourti ในวงศ์ Colubridae ตัวอ้วนสั้น หัวโต อาศัยตามริมน้ำหรือในน้ำเพราะกินปลาเป็นอาหารหลัก มีพิษอ่อนมากและไม่ปรากฏปฏิกิริยาต่อผู้ถูกกัด.
  21. ไซเกิล : (ฟิสิกส์) น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่ง กลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่ง กระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้ กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลง จนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จํานวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของ กระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. (อ. cycle).
  22. ไซน์ : (คณิต) น. ไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้าน ตรงข้ามมุมนั้น ส่วน ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อ ถือเอารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. sine).
  23. ไซยาไนด์ : น. เกลือปรกติของกรดไฮโดรไซยานิก (HCN) เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) เกลือไซยาไนด์ทั้งหมดเป็นพิษอย่างร้ายแรง. (อ. cyanide).
  24. : พยัญชนะตัวที่ ๑๒ นับเป็นพวกอักษรตํ่า.
  25. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  26. : พยัญชนะตัวที่ ๑๓ นับเป็นพวกอักษรตํ่า และเป็นตัวที่สุดของวรรคที่ ๒ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.
  27. ญาณ, ญาณ- : [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺ?าน).
  28. : พยัญชนะตัวที่ ๑๔ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กฎ มงกุฎ.
  29. : พยัญชนะตัวที่ ๑๕ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรากฏม กุฏกษัตริยาราม.
  30. : พยัญชนะตัวที่ ๑๖ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดใน คําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐ อัฐ.
  31. ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ : [ถาน, ถานะ] น. ตําแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลําดับความเป็นอยู่ใน สังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).
  32. ฐาน ๔ : (คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จํานวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้าง จํานวนอื่น ๆโดยการยกกําลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จํานวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จํานวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จํานวนที่บอกปริมาณ ในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้ สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๑๐) + (๖ x ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๗) + (๖ x ๗๒).
  33. ฐานียะ : (แบบ) ว. ควรแก่ตําแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
  34. ฐิติ : [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิต อยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
  35. : พยัญชนะตัวที่ ๑๗ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ษัฑ.
  36. : พยัญชนะตัวที่ ๑๘ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น วัฒน์ วุฒิ.
  37. เฒ่าแก่ : น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็น ประธานในการสู่ขอและการหมั้น, เถ้าแก่ ก็ใช้.
  38. ณ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๑๙ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น คุณ บัณฑิต.
  39. ณ ๒ : [นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคําบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้ นําหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.
  40. : พยัญชนะตัวที่ ๒๐ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด.
  41. ดก : ว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่า ปรกติเรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คน ที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยายใช้เป็นคําพูดประชด เช่น พูดว่าได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.
  42. ดง ๑ : น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ขึ้นเป็นดง, ที่ซึ่งมีต้นไม้อย่างใด อย่างหนึ่งขึ้นหนาแน่น เช่น ดงกล้วย, โดยปริยายเรียกสถานที่ที่มีคนหรือ สัตว์เป็นต้นประเภทเดียวกันรวมอยู่ด้วยกันมาก ๆ เช่น ดงผู้ร้าย ดงเสือ.
  43. ด้น : ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้นปล่อย ก็เรียก; กิริยาที่หนอนชอนไชในผลไม้ เป็นต้น; มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้นดั้น ก็ว่า. น. เรียกกลอนชนิดหนึ่ง ที่ว่าดะไปไม่คำนึงถึงหลักสัมผัสว่า กลอนด้น; (ปาก) เรียกตัวจี๊ดว่า หนอนด้น.
  44. ดนตรี : น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตาม ทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
  45. ด้นปล่อย : ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้น ก็เรียก.
  46. ดรรชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จํานวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจํานวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกําลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนี ของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number). ดรรชนีหักเห (แสง) น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่ง ต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้. (อ. refractive index).
  47. ดล ๓ : [ดน] ก. ให้เป็นไป, ทําให้แล้ว, ตั้งขึ้น, เผอิญให้เป็นไป, บันดาลให้เป็นไป.
  48. ดลบันดาล : ก. ให้มีให้เป็นหรือไม่ให้มีไม่ให้เป็น เช่น ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้ประสบความสําเร็จหรือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย.
  49. ดวง : น. คําเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ; ลักษณนามเรียก จิต วิญญาณ หรือสิ่งที่มีแสงสว่าง เช่น ดาว ไฟฟ้า ตะเกียง ว่า ดวง; ใช้ประกอบคําอื่นเป็นคําเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมร หมายความถึงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือ ลูกที่รัก; แบบรูปราศีที่บอก ดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญ เช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคํานวณไว้โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวง ซึ่งเป็นคําตัดมาจาก ดวงชะตา.
  50. ด้วง ๑ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลําตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อ พับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังบางเมื่อพับจะซ้อน เข้าไปเก็บใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ ชัดเจน แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงอื่น ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | [2851-2900] | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8091

(0.2236 sec)