กาย, กาย- : [กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
กาลโยค : [กาละ-] (โหร) น. การกําหนด วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่ละปี เป็น ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ.
กินบวช : ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคํา ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกําหนด ของการถือพรตในลัทธิศาสนา.
กินแหนง : ก. สงสัย, ระแวง, ไม่แน่ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แคลงใจ เป็น กินแหนงแคลงใจ.
กี่ ๒ : ว. คําประกอบหน้าคําอื่น หมายความว่า เท่าไร เช่น กี่วัน กี่บาท, ใช้ตามหลังคําว่า ไม่ เป็น ไม่กี่ หมายความว่า ไม่มาก ไม่หลาย เช่น ไม่กี่วัน ไม่กี่บาท. (โบ ว่า ขี หรือ ขี่).
กี้, กี๊ : น. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เมื่อ เมื่อแต่ หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊ เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
-เกงกอย : ใช้เข้าคู่กับคํา เขย่ง เป็น เขย่งเกงกอย. (ไทยใหญ่ เกง ว่า กระโดดตีนเดียวเนื่องในการเล่น).
เกเร : ว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคํา พาล เป็น พาลเกเร.
เกวียน : [เกฺวียน] น. ยานชนิดหนึ่ง มีล้อ ๒ ล้อ ใช้ควายหรือวัวเทียม, ลักษณนามว่า เล่ม; ชื่อมาตราตวง ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน. เกวียนหลวง น. มาตราตวงตามแบบราชการ มีอัตราเท่ากับ ๒,๐๐๐ ลิตร หรือ ๒ กิโลลิตร, อักษรย่อว่า กว.
เกิดสูรย์ : (ปาก) ก. เกิดสุริยุปราคา, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกิดจันทร์ เป็น เกิดสูรย์เกิดจันทร์.
ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
ขจาย : [ขะ-] ก. กระจาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ขจร เป็น ขจรขจาย. (ข. ขฺจาย).
ข้นแค้น : ก. อัตคัด, ขัดสน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยากจน เป็น ยากจนข้นแค้น.
ขย- : [ขะยะ-] (แบบ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคําท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).
ขยิ่ม : [ขะหฺยิ่ม] ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น ขยิ่มยิ้มย่อง.
ขวัญแขวน : ก. ขวัญไปค้างอยู่ที่อื่น หมายความว่า ตกใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อกสั่น เป็น อกสั่นขวัญแขวน.
ขวาง : [ขฺวาง] ก. กีดกั้น, สกัด; รำคาญหรือไม่ถูกใจ; ใช้เข้าคู่กับ กว้าง เป็น กว้างขวาง หมายความอย่างเดียวกับคําว่า กว้าง.
ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
ขาทนียะ : [ขาทะ-] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควร บริโภค. (ป.).
ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
ข้าวตอก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็น พรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Anaphalis margaritacea (L.) Benth. ex C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่บนเขาในระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ขนาด สูงราว ๕๐ เซนติเมตร ต้น ใบ ดอก มีขนสีขาวทึบ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อ ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Callicarpa longifolia Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทํายาได้. (๔) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. (๕) ดู ตีนตุ๊กแก(๕).
ขี้ริ้ว : น. เรียกผ้าเก่าที่ใช้เช็ดถูเป็นต้น. ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้ เข้าคู่กับคำ ขี้เหร่ เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่.
ขี้เหร่ : ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ขี้ริ้ว เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่.
เข่น : ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด. เข่นเขี้ยว ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
เขน ๓ : ก. คลี่ (ขนหางนก), มักใช้เข้าคู่กับคํา กาง เป็น กางเขน.
เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
เข้าข้อ : น. อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่ เรื้อรังมาจนถึงทําให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก เป็น เข้าข้อออกดอก.
เข้าเจ้า : ก. ทําพิธีให้เจ้ามาสิงในกาย, ตัวผู้ทําพิธีให้เจ้ามาสิงนั้น เรียกว่า ``คนทรง'', มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าทรง เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.
เข้าทรง : ก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.
แขย่ง : [ขะแหฺย่ง] ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง.
ไข่แดง : น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน อยู่รอบส่วนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อน มักมีสีเหลืองหรือแดง เป็น สารประเภทไขมันที่สะสมไว้สําหรับเลี้ยงตัวอ่อนขณะที่เติบโต.
คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
คร้าน : [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทําหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคํา ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่ กับคํา เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทํางาน.
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
คล่ำ : [คฺลํ่า] น. หมู่. ว. สับสน, เกลื่อนกล่น, มาก, มักใช้คู่กับคำ คลา เป็น คลาคล่ำ.
คะเนงร้าย : ใช้เข้าคู่กับคํา ข่มเหง เป็น ข่มเหงคะเนงร้าย.
คับค้อน : ใช้เข้าคู่กับคํา สํารับ เป็น สํารับคับค้อน.
คับแค : น. ชื่อนกชนิด Nettapus coromandelianus ในวงศ์ Anatidae เป็น นกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย รูปร่างเล็ก อ้วนป้อม ปากสั้น ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีดํา ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ลําตัวตอนล่างสีขาว มีจุดกระสีนํ้าตาล ทํารัง ในโพรงไม้.
คาด ๒ : ก. นึกไว้, หมายไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา คะเน หรือ หมาย เป็น คาดคะเน คาดหมาย.
คาทอลิก : น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็น พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวช เรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).
ค่าน้ำนม : น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอ เพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มัน แลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง.(สามดวง); ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม.
คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
คำทาย : น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคําว่า อะไรเอ่ย อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.
คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
คือ : สัน. เท่ากับ, ได้แก่. ก. เป็น เช่น โลกคือดาวดวงหนึ่ง.
คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
เคี้ยว ๒ : ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
เคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
แครก : แคฺรก] ว. คราก, ใช้คู่กับคํา คราก เป็น ครากแครก หรือ แครกคราก ก็ได้ เช่น กบทูย้อยแยกแครกคราก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).