Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสมาชิก, สมาชิก, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นสมาชิก, สมาชก, สมาชิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นสมาชิก, 8091 found, display 3401-3450
  1. ทัศนศิลป์ : น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ ที่เป็นรูปภาพหรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วย การจับต้อง เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม.
  2. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  3. ทาก ๑ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกปลิง ในชั้น Hirudinea ลำตัว ขนาดต่าง ๆ กัน ลักษณะเป็นปล้อง ยืดหดได้มาก อยู่ตามป่า มีสารฮิรูดิน (hirudin) เมื่อดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นทำให้เลือด ไม่แข็งตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Haemadipsa interrupta ในวงศ์ Hirudidae.
  4. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  5. ทางการ : น. ระเบียบปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทาง, ฝ่ายที่เป็นกิจการ. ว. ที่เป็นงานเป็นการ.
  6. ทางข้าม : น. ทางม้าลาย; (กฎ) พื้นที่ที่ทําไว้สําหรับให้คนเดินเท้าข้าม โดยทําเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้บนทาง และ หมายความรวมถึงพื้นที่ที่ทําให้คนเดินเท้าข้าม ไม่ว่าในระดับใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน.
  7. ทางช้างเผือก : น. แสงกลุ่มดาวซึ่งแผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า.
  8. ทางผ่าน : น. บุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือดุจสะพาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ.
  9. ทางพิเศษ : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออํานวยความสะดวกใน การจราจรเป็นพิเศษ.
  10. ทางม้าลาย : น. พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามถนน โดยทา สีขาวดำเป็นแถบสลับกัน.
  11. ทางสามแพร่ง : น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมา บรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
  12. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  13. ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  14. ท่าที : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ทีท่า ก็ว่า.
  15. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  16. ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
  17. ทานตะวัน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Helianthus annuus L. ในวงศ์ Compositae ช่อดอกกลมใหญ่สีเหลือง กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบ เมล็ดให้นํ้ามัน กินได้.
  18. ท่านผู้หญิง : น. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของ เจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.
  19. ทานศีล : [ทานะสีน] ว. มีการให้เป็นปรกติ. (ส.; ป. ทานสีล).
  20. ทาม ๑ : น. สายที่ผูกปลายตะโกกหรือแอกด้านหนึ่งอ้อมใต้คอวัวหรือควาย ไปยังอีกด้านหนึ่ง, เชือกหนังทําเป็นปลอกสวมใส่คอช้างที่จับใหม่, สายเชือกหรือหนังที่รั้งโกกหรือพวงมาลัยสวมคอม้าไปผูกกับรถ หรือไถ. (เทียบ ป. ทาม ว่า เชือก).
  21. ทาม ๓ : น. ที่ริมฝั่งลํานํ้า มีนํ้าท่วมเป็นครั้งคราว.
  22. ทาย ๑ : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า.
  23. ทายก : [-ยก] น. ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า ทายิกา. (ป., ส.).
  24. ท้าว ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตําแหน่ง บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คําประกอบชื่อผู้ชายที่ เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.
  25. ท่าว, ทะท่าว : (กลอน) ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบลง; เดิน; ทอดทิ้ง เช่น ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่. (นิทราชาคริต).
  26. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  27. ทำกรรม : ก. ทําสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ, ทํากรรมทําเวรก็ว่า.
  28. ทำคุณบูชาโทษ : (สํา) ก. ทําคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทําดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป.
  29. ทำซ้ำ : (กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำ งานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  30. ทำนวย ๒ : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค เช่น แท้ทวยทํานวยน้อม. (สมุทรโฆษ). (แผลงมาจาก ทวย).
  31. ทำนาย : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทาย ก็ว่า. (แผลงมาจาก ทาย).
  32. ทำเนียบ ๒ : ก. เทียบ, เปรียบ. น. การลําดับตําแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบ แบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบสมณศักดิ์ ทําเนียบราชการ, การแบ่ง ประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบช้าง ทําเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).
  33. ทำเนียบนาม : น. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็น ทําเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.
  34. ทำไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทําไพ่อาจทําให้เป็นประโยชน์แก่ มือใดมือหนึ่งก็ได้.
  35. ทำร้ายร่างกาย : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็น เหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
  36. ทำหูทวนลม : ก. ได้ยินแต่ทําเป็นไม่ได้ยิน.
  37. ทำให้, ทำเอา : ก. เป็นเหตุให้ เช่น ทําให้เขาได้ไปเมืองนอก ทําเอา เขายํ่าแย่ไป.
  38. ทิคัมพร : [-พอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตน เป็นคนเปลือย, คู่กับ นิกายเศวตัมพร. (ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า).
  39. ทิงเจอร์ : น. สารละลายที่ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย เช่น ทิงเจอร์ ไอโอดีน คือ สารละลายที่เกิดจากการละลายผลึกไอโอดีนใน เอทิลแอลกอฮอล์. (อ. tincture).
  40. ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
  41. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  42. ทิพจักขุ : [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  43. ทิพ, ทิพ- : [ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็นของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).
  44. ทิพยจักษุ : [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
  45. ทิพยญาณ : น. ความรู้เป็นทิพย์.
  46. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  47. ทิพยโศรตร : [ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไร ได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
  48. ทิพโสต : [ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
  49. ทิม : น. ศาลาแถวหรือห้องแถวสําหรับเป็นที่พักหรือไว้ของในพระ ราชวัง เช่น ทิมตํารวจ ทิมกลอง.
  50. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | [3401-3450] | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8091

(0.2965 sec)